วิทยาศาสตร์ทางทะเล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
วิทยาศาสตร์ทางทะเล by Mind Map: วิทยาศาสตร์ทางทะเล

1. การท่องเที่ยวทางทะเล

1.1. การท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นกิจกรรมนันทนาการของมนุษย์ ที่นำเอาความได้เปรียบของลักษณะทางภูมิศาสตร์ในแต่ละพื้นที่มาเป็นเครื่องมือเพื่อหาผลประโยชน์ และตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ดังที่กล่าวมานั้นหมายถึง ภูเขา น้ำตก น้ำพุร้อน เกาะ หาดทราย ชายทะเล และทรัพยากรใต้ทะเล เป็นต้น     สำหรับประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,815 กิโลเมตร มีฝั่งทะเล 2 ฝั่ง คือ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลอันดามัน ฝั่งอ่าวไทยตั้งอยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก และฝั่งทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย ฝั่งอ่าวไทยแบ่งเป็น 2 ด้านคือ อ่าวไทยด้านตะวันออก ได้แก่ บริเวณฝั่งทะเลตั้งแต่จุดกึ่งกลางระหว่างปากแม่น้ำน้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางตะวันออกวกไปจนจรดเขตแดนประเทศกัมพูชา บริเวณบ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด รวมความยาวประมาณ 544 กิโลเมตร และอ่าวไทยด้านตะวันตก เริ่มจากจุดกึ่งกลางระหว่างปากแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางตะวันตก ยาวลงไปทางใต้จรดเขตแดนประเทศมาเลเซียที่ปากแม่น้ำสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ระยะทางยาวประมาณ 1,334 กิโลเมตร ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน นับตั้งแต่ปากน้ำกระบุรี จังหวัดระนอง เชื่อมต่อกับเขตแดนของประเทศสหภาพพม่าเรื่อยลงไปทางใต้จนถึงเขตแดนของประเทศมาเลเซียที่จังหวัดสตูล ซึ่งตั้งอยู่ในช่องแคบมะละกา ระยะทางยาว 937 กิโลเมตร

1.2. ตามหลักของวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้แบ่งทะเลไทยตามลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 5 ส่วน 3 ส่วนอยู่ในทะเลอ่าวไทย ได้แก่ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อ่าวไทยตอนใน และอ่าวไทยฝั่งตะวันตก โดยมี 2 ส่วนอยู่ในทะเลอันดามัน ได้แก่ อันดามันเหนือ และอันดามันใต้ พื้นที่บริเวณชายฝั่งเหล่านี้อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาประเทศมาในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวทางทะเลซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก

2. ก็จะเป็จจำพวก ชายหาด ทะเล หมู่เกาะต่างๆที่เกี่ยวกับสรรพยากรทางทะเลที่มีความสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งทุกคนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างดี และกลายเป็นเศรษฐกิจทางาทะเลที่เป็นรายได้ของคนในชมชน

3. อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง

4. สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล

5. ภัยธรรมชาติทางทะเล

5.1. แต่เกิดจากการไหวสะเทือนของเปลือกโลก อย่างรุนแรงใต้พื้นท้องทะเล และมหาสมุทร ซึ่งปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ทำให้มวลน้ำในมหาสมุทร เกิดการเคลื่อนไหวกลายเป็นคลื่นขนาดใหญ่ แผ่กระจายเป็นวงกว้างออกไปจากบริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลาง ของแผ่นดินไหว และเนื่องจากคลื่นชนิดนี้มิได้เกิดจากการขึ้นลงของน้ำทะเล นักวิชาการในปัจจุบันจึงไม่นิยมเรียกว่า tidal waves แต่เปลี่ยนมาเรียกว่า tsunami ถึงแม้ว่าการเกิดคลื่นสึนามิส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงใต้พื้นท้องมหาสมุทร แต่ถ้ามีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในท้องทะเลโดยมิใช่จากการกระทำของลมพายุแล้ว ก็ถือเป็นคลื่นสึนามิได้เช่นกัน นักวิชาการจึงแบ่งสาเหตุของการเกิดคลื่นสึนามิเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหว (seismic tsunami) และคลื่นสึนามิไร้แผ่นดินไหว (non - seismic tsunami)

5.2. ๑. คลื่นสึนามิจากแผ่นดินไหว เป็นผลมาจากการเกิดแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรง คือ ตั้งแต่ ๘.๐ ขึ้นไปตามมาตราริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใต้พื้นท้องมหาสมุทร หรือที่บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล ในทางธรณีวิทยาเราทราบแล้วว่า เปลือกโลกประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลก (tectonic plates) หลายๆ แผ่นเชื่อมต่อกัน เมื่อใดที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากันหรือแยกออกจากกันจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น โดยความรุนแรงจากการสั่นสะเทือนของเปลือกโลกจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละคราว บริเวณที่เป็นแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจึงมักเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งเลื่อนตัวมุดลงไปใต้ขอบของแผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง และหากบริเวณนั้นอยู่ใต้ทะเล ก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขึ้นได้ ้

6. เกาะนางยวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

7. การอนุรักษ์สรรพยากรทางทะเล

7.1. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตทางทะเล 2.เพื่อศึกษาถึงวิถีชีวิตของชุมชนในการประกอบอาชีพ 3.เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์แนวปะการัง ว่ามีวิธีการอนุรักษ์อย่างไร        ในพื้นที่บ้านท้องตมใหญ่ 4.เพื่อศึกษาถึงวิธีการแก้ไขปัญหาแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ   และสิ่งแวดล้อมทางทะเล

7.2. ขั้นตอนการศึกษา 1.เริ่มจากการเดินสำรวจพื้นที่บริเวณชายฝั่ง เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ทางทะเล และระบบนิเวศ 2.ได้สอบถามข้อมูล วิถีชีวิตชาวบ้าน ได้แนะนำถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทาง ทะเลของชาวบ้าน มีวิธีการทำอย่างไรบ้าง 3.การเข้าปลูกป่าชายเลน เพื่อสำรวจพื้นที่ในการปลูกป่า พบสิ่งมีชีวิต ทางทะเลอาศัยอยู่หรือไม่ และศึกษาถึงวิธีในการปลูกป่าชายเลน มีส่วนช่วยรักษา ระบบนิเวศทางทะเล 4.ได้ไปศึกษาดำน้ำดูปะการัง ว่ามีการอนุรักษ์อย่างไร มีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำ อย่างไร 5.สอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล การทำบ้าน ปลา