T h a i l a n d  4.0

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
T h a i l a n d  4.0 by Mind Map: T h a i l a n d  4.0

1. ประเทศไทย 1.0

1.1. เน้นภาคการเกษตร

2. ประเทศไทย 2.0

2.1. เน้นอุตสาหกรรรมเบา

3. ประเทศไทย 3.0

3.1. เน้นอุตสาหกรรมหนัก

4. ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ

4.1. 1.เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

4.2. 2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง

4.3. 3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services

4.4. 4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

5. สรุป

5.1. การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากเวอร์ชั่น 3.0 เป็นเวอร์ชั่น 4.0 หรือจากประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิต "เชิงอุตสาหกรรมหนัก" ไปสู่การขับเคลื่อนด้วย "เทคโนโลยีและนวัตกรรม" เพื่อหนีกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ที่ไทยติดอยู่เป็นเวลานาน คือ พิมพ์เขียวที่รัฐบาลกางขึ้นบนโต๊ะ และวางเป้าหมายที่จะปรับโครงสร้างประเทศให้ก้าวสู่ยุค 4.0 ภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ หัวใจสำคัญของประเทศไทยในยุค 4.0 คือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม แบะเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าภาคบริการมากขึ้น

6. ไทยแลนด์ 4.0 จะพัฒนาเรื่องใดบ้าง

6.1. กลุ่มอาหาร เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

6.2. กลุ่มสาธารณะสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์

6.3. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์

6.4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณต่างๆ

7. กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ ประเทศไทย 4.0 มี 3 ประเด็นที่สำคัญ

7.1. 1.เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม

7.2. 2.เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน

7.3. 3.เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”