ประเภทของระบบสารสนเทศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประเภทของระบบสารสนเทศ by Mind Map: ประเภทของระบบสารสนเทศ

1. 7.ปัญญาประดิษฐ์

1.1. หมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์

1.1.1. Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์

1.1.2. Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์

1.1.3. Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล

1.1.4. Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล

1.2. ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์

1.2.1. 1. ข้อมูลในระบบจะถูกเก็บในลักษณะที่เป็นฐานความรู้ขององค์การ 2. ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับฐานความรู้ขององค์การด้วยการเสนอวิธีการแก้ปัญหาสำหรับงานเฉพาะด้าน 3. ระบบจะถูกนำมาช่วยทำงานในส่วนที่เป็นงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์ 4. ระบบจะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวของมนุษย์

2. 5.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

2.1. คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่

2.2. องค์ประกอบของ GIS

2.2.1. 1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

2.2.2. 2. โปรแกรม

2.2.3. 3. ข้อมูล

2.2.4. 4. บุคลากร

2.3. หน้าที่ของ GIS

2.3.1. 1. การนำเข้าข้อมูล

2.3.2. 2. การปรับแต่งข้อมูล

2.3.3. 3. การบริหารข้อมูล

2.3.4. 4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล

2.3.5. 5. การนำเสนอข้อมูล

3. 6.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง

3.1. เป็นระบบ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

3.2. หน้าที่ของ EIS

3.2.1. 1. ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์

3.2.2. 2. ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์

3.2.3. 3. การสร้างเครือข่าย

3.2.4. 4. ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

4. 8.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

4.1. ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง เก็บข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล แสดงภาพ และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจ โดยการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย แทนการพูด เขียน หรือส่งรูปภาพแบบเดิม

4.2. องค์ประกอบสำคัญของOAS

4.2.1. 1.ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร

4.2.2. 2.การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกันโดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย

4.2.3. 3.การรวมตัวกันของระบบเครือข่ายตามข้อ1 ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่

4.2.4. 4.ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ

5. 1.ระบบประมวลผลรายการ

5.1. หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบ ที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ

5.1.1. 1 ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม

5.1.2. 2 ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์

5.1.2.1. - การประมวลผลเชิงรายการ

5.1.2.2. - การประมวลผลแบบทันที

5.2. หน้าที่ของ TPS

5.2.1. 1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification)

5.2.2. 2) การคิดคำนวณ (Calculation)

5.2.3. 3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)

5.2.4. 4) การสรุปข้อมูล (Summarizing)

5.2.5. 5) การเก็บ (Storage)

6. 3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

6.1. เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล และกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ใช้สามรถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างได้ ด้วยตัวเองเพื่อให้ระบบคำนวณช่วยในการตัดสินใจ

6.2. ส่วนประกอบของ DSS

6.2.1. 1.อุปกรณ์

6.2.2. 2.ระบบการทำงานของ DSS

6.2.3. 3.ข้อมูล

6.2.4. 4.บุคลากร

6.3. ประโยชน์ของ DSS

6.3.1. 1.ช่วยประมวลผลและนำเสนอข้อมูลแก่ผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ 2.ช่วยประเมินทางเลือกในการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของปัญหาแต่ละสถานการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะของสถานการณ์นั้นๆ 3.ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 4.ช่วยสร้างความยืดหยุ่น ความสมบูรณ์ และความสะดวกในการตัดสินใจ 5.ช่วยเพิ่มพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมมากกว่าการปฏิบัติงานทั่วๆไป 6.ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตัวอักษร แผนภูมิ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย 7.ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง ส่งเสริมการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจในองค์กรต่างๆ 8.ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กรด้วยการโต้ตอบแบบทันที

7. 4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

7.1. เป็นระบบแบบโต้ตอบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจร่วม กันของกลุ่มบุคคล สมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน อาจอยู่บริเวณใกล้เคียงกันหรืออยู่ห่างกันออกไปการสื่อสารระหว่างกลุ่มจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ระบบGDSSต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของสมาชิก

7.2. ส่วนประกอบของ GDSS

7.2.1. 1. อุปกรณ์ (Hardware)

7.2.2. 2. ชุดคำสั่ง (Software)

7.2.3. 3. ฐานแบบจำลองของระบบ GDSS (Model base)

7.2.4. 4. บุคลากร (People)

7.3. ประโยชน์ของ GDSS

7.3.1. 1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม 2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม 3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก 4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม 5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา 6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม 7. ช่วยประหยัดเวลาในการประชุมและสามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้

8. 2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

8.1. เป็นระบบที่ช่วยในการเตรียมรายงานเพื่อให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสามารถใช้สารสนเทศที่ได้จัดการกับปัญหาแบบโครงสร้าง

8.2. การนำไปใช้งาน

8.2.1. 1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง

8.2.2. 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง

8.2.3. 3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน

8.2.4. 4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล