Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Computer Graphic by Mind Map: Computer Graphic

1. โมเดลสี

1.1. โมเดลของสี (ColorModel ) โดยทั่วไปแล้วสีต่างๆ ในธรรมชาติและสีที่ถูกสร้างขึ้น จะมีรูปแบบการ มองเห็นสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสีนี้เรียกว่า “โมเดล (Model)” ดังนั้น จึงท าให้มีโมเดลหลายแบบ ดังที่เราจะได้ศึกษาต่อไปนี้ คือ

1.1.1. 1.โมเดลแบบ HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์

1.1.2. 2.โมเดลแบบRGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์

1.1.3. 3.โมเดลแบบ CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์

1.1.4. 4.โมเดล Lab ตามมาตรฐานของ CIE

1.2. โมเดลแบบ HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์ เป็นลักษณะพื้นฐานการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ โมเดล HSB จะประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะคือ

1.2.1. 1. Hue เป็นสีของวัตถุที่สะท้อนเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีได้

1.2.2. 2. Saturation คือ สัดส่วนของสีเทาที่มีอยู่ในสีนั้น โดยวัดค่าสีเทาในสีหลักเป็นเปอร์เซ็นต์ดังนี้คือ จาก 0% (สีเทาผสมอยู่มาก) จนถึง 100%

1.2.3. 3. Brightness เป็นเรื่องราวของความสว่างและความมืดของสี ซึ่งถูกก าหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์จาก0% (สีดำ) ถึง 100% (สีขาว) ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์มากจะท าให้สีนั้นสว่างมากขึ้น

1.3. โมเดลแบบ RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเดล RGB เกิดจากการรวมกันของสเปกตรัมของแสงสี แดง (Red) เขียว (Green)และน้ำเงิน (Blue) ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน โดยจุดที่แสงทั้งสามสีรวมกันจะเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่า “Additive"

1.4. โมเดลแบบ CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์ โมเดล CMYK มีแหล่งก าเนิดสีอยู่ที่การซึมซับ (Absorb) ของหมึกพิมพ์บนกระดาษ โดยมีสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan) สีบานเย็น (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive Color”

1.5. โมเดลแบบ Lab ตามมาตรฐานของ CIE โมเดล Lab เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationale d’Eclarirage) ให้เป็นสีมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่นๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่

1.5.1. L หมายถึงค่าความสว่าง (Luminance)

1.5.2. A หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สีจากสีเขียวไปยังสีแดง

1.5.3. B หมายถึง ส่วนประกอบที่แสดงการไล่สี จากสีน ้าเงินถึงสีเหลือง

2. รูปแบบ

2.1. การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์ กราฟิกภาพที่เก็บในคอมพิวเตอร์นั้น มีวิธีการประมวลผลภาพ 2 แบบแตกต่างกันไปตามแต่ละโปรแกรมดังนี้ คือ การประมวลผลแบบ Raster และ การประมวลผลแบบ Vector

2.1.1. การประมวลผลแบบ Raster เป็นการประมวลแบบอาศัยการอ่านค่าสีในแต่ละพิกเซล มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Bitmap จะเก็บข้อมูลเป็นค่า 0 และ 1 แต่ละพิกเซลจะมีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีลักษณะแบบภาพถ่าย ซึ่งสามารถใช้เทคนิคในการปรับแต่งสี การใช้เอฟเฟคต์พิเศษให้กับภาพ แต่มีข้อเสีย คือ ภาพที่ได้จะมีไฟล์ขนาดใหญ่และเมื่อมีการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะส่งผลให้พิกเซลของภาพมีขนาดใหญ่ตามด้วย เราจึงเห็นว่า ภาพจะไม่ละเอียดหรือแตกนั่นเองการประมวลผลแบบ Raster ได้แก่ ไฟล์ภาพ .TIF, .GIF, .JPG, BMP และ .PCX เป็นต้น โดยโปรแกรมที่ใช้ท างานกับภาพ Raster คือ Photoshop, PhotoPaint และ Paintbrush เป็นต้น

2.1.2. การประมวลผลแบบ Vector เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการค านวณทางคณิตศาสตร์ โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน ฉะนั้นไม่ว่าเราจะมีการเคลื่อนย้ายที่หรือย่อขยายขนาดของภาพ ภาพก็จะไม่เสียรูปทรงในเชิงเรขาคณิต และความละเอียดของภาพจะไม่ลดลงด้วย จึงท าให้ภาพยังคงคมชัดเหมือนเดิม แม้ขนาดของภาพจะเปลี่ยนแปลงใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงก็ตาม แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถใช้เอฟเฟคต์ในการปรับแต่งภาพได้เหมือนกับภาrแบบ Raster การประมวลผลภาพลักษณะนี้ ได้แก่ภาพ .AI, .DRW ใช้ในโปรแกรมการวาดภาพ lllustrator, CorelDraw ภาพ .WMF เป็นภาพคลิปอาร์ตในโปรแกรม Microsoft Word และภาพ .PLT ในโปรแกรมการออกแบบ AutoCAD

3. ความหมาย

3.1. ความหมายของกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก กราฟิก (Graphics) เป็นคำที่เกิดขึ้นจากรากศัพท์ภาษากรีก คือคำว่า “Graphikos” หมายถึง การเขียนภาพ ด้วยสีและลักษณะขาวดำ และรวมกับคำว่า “Graphien” หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า

3.1.1. กราฟิก หมายถึง การสื่อความคิดโดยการใช้ภาพ สัญลักษณ์ และข้อความกราฟิกในยุคแรก ๆ จะเริ่มตั้งแต่ การวาดภาพลายเส้น การวาดภาพเหมือนจริง มาจนถึงการใช้ภาพถ่ายเหมือนจริง และเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามาสู่ ยุคดิจิตอลจึงมีการใช้คอมพิวเตอร์มาสร้างงานกราฟิกดังนั้นคำนิยามของคำว่า “คอมพิวเตอร์กราฟิก”

3.1.2. คอมพิวเตอร์การฟิก หมายถึง การสื่อความคิดโดยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างและจัดการกับภาพ สัญลักษณ์ และข้อความ

3.1.3. งานการฟิก หมายถึง งานการวางแผนทำงานศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการ ออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วย

3.1.4. กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ กราฟิก แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องต้องตามที่ผู้สื่อสารต้อการ

4. ภาพในCG

4.1. ภาพบนคอมพิวเตอร์เกิดได้อย่างไร ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นอยู่ทั่วไปนั้น เกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ของสี ที่เราเรียกว่า พิกเซล มาประกอบกันเป็นภาพขนาดต่างๆ นั่นเอง

4.1.1. พิกเซล (Pixel) มาจากคำว่า Picture และคำว่า Element แปลตรงตัว ก็คือ องค์ประกอบที่รวมกันเกิดเป็นภาพ ซึ่งสรุปก็หมา ยถึงจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เป็นองค์ประกอบรวมกันเป็นภาพ ความละเอียดของภาพเป็นจำนวน ของพิกเซลที่อยู่ภายในภาพ โดยใช้หน่วยวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว (ppi : Pixel per Inch) เช่น 300 ppi หรือ 600 ppi เป็นต้น ภาพที่มีความละเอียดมากก็จะมีความชัดกว่าภาพที่มีความละเอียดน้อยเราจะพบว่าไฟล์ภาพเดียวกันเมื่อ นำไปแสดงผลออกมาผ่านอุปกรณ์ที่ต่างกัน ก็จะส่งผลให้ได้ภาพที่ออกมามีความคมชัดหรือความละเอียดไม่เท่ากันได้ เช่น ภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และภาพที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ เพราะขนาดพิกเซลหรือจุดเล็กๆ ที่ทำให้เกิดภาพมีขนาดที่ไม่เท่ากันนั่นเอง

4.1.2. ความละเอียดของจอภาพ เป็นหน่วยที่ใช้วัดจำนวนพิกเซลสูงสุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตออกมาได้ ซึ่งความละเอียดของจอภาพนั้น เกิดขึ้นโดยวีดีโอการ์ดหรือการ์ดจอ และควบคุมการทำงานด้วยซอฟท์แวร์บน Windows ดังนั้นเราสามารถตั้งค่าการแสดงความละเอียดของจอภาพบน Windows ได้ เช่น 800x600 หรือ 1024x768 ความละเอียด 1027x768 หมายถึง จ านวนวีดีโอพิกเซลในแนวนอน 1024 พิกเซลและจ านวนวีดีโอ พิกเซลในแนวตั้ง 768 พิกเซล