Unlock the full potential of your projects.
Try MeisterTask for free.
Non hai un account?
Iscriviti gratis
Naviga
Mappe in primo piano
Categorie
Gestione del progetto
Affari e obiettivi
Risorse umane
Brainstorming e analisi
Marketing e contenuti
Istruzione e note
Intrattenimento
Vita
ICT
Design
Sintesi
Altro
Lingue
English
Deutsch
Français
Español
Português
Nederlands
Dansk
Русский
日本語
Italiano
简体中文
한국어
Altro
Mostra mappa intera
Copia ed edita mappa
Copia
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
Altro
ศว
ศุภณัฐ วงศ์ชินวร
Seguire
Iniziamo.
È gratuito!
Iscriviti con Google
o
registrati
con il tuo indirizzo email
Mappe mentali simili
Schema mappa mentale
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
da
ศุภณัฐ วงศ์ชินวร
1. หน่วยประมวลผลกลาง
1.1. ผีซีพียู (CPU) หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ซีพียูเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ด้านหน้าตัวเครื่องมีปุ่ม ปิด – เปิด เครื่อง เรียกว่า ปุ่มเพาเวอร์ ( Power )
2. หน่วยความจำสำรอง
2.1. – แผ่นซีดี (CD – ROM) มีลักษณะเป็นวงกลม มีรูตรงกลาง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไว้ เป็นต้น – ยูเอสบีเฟลช์ไดร์ฟ ( USB Flash Drive ) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดเล็ก กระทัดรัด พกพาสะดวก และมีความจุในการเก็บข้อมูลได้มาก
3. หน่วยแสดงผล
3.1. 1. แสดงผลทางบนจอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ จอภาพอาจเรียกว่าหน่วยแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ได้แก่ 1.1 จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube Monitor) เป็นจอภาพที่มีรูปร่างขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่มีหลักการทำงานโดยการยิงลำแสงผ่านหลอดแก้ว แสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด ซึ่งทำให้มีแสงมายังตากของผู้ใช้ค่อนข้างมาก จอซีอาร์ที 1.2 จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display Monitor) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว หรือ liquid crystal จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย จึงทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอแอลซีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) จอทีเอฟที (TFT : Thin film Transistor) หรือแอคทีปเมทริกซ์ เป็นหน้าจอที่มีการตอบสนองต่อการแสดงผลที่ค่อนข้างไว ประมวลผลการทำงานได้รวดเร็ว ทำให้การแสดงผลมีความละเอียด สว่างและมีความคมชัดมาก มักจะนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ กล้องดิจิตอล เป็นต้น จอทีเอฟที 2) จอพาสซีพเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอทีเอฟที มักจะนำไปใช้เป็นจอโทรศัพท์มือถือทั่วไป หรือจอของเครื่องพาล์มท็อบคอมพิวเตอร์ สีขาวดำ จอพาสซีพเมทริกซ์ 1.3 จอพลาสมา (plasma monitor) เป็นจอภาพที่มีเทคโนโลยีที่ให้มุมมองจอภาพที่กว้างถึง 160 องศา มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ได้ดี จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์และกีฬาเป็นอย่างมาก จอพลาสมา การเลือกซื้อจอภาพ 1. ควรเลือกประเภทของจอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ควรเลือกภาพแอลซีดี 2. ควรเลือกจอภาพที่มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปัจจุบันมีมาตรฐานอยู่ 2 ขนาดที่ได้รับความนิยม คือ 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ข้อดีของจอ 17 นิ้ว คือ เหมาะสำหรับงานออกแบบกราฟิก เพราะมีพื้นที่มากกว่าแต่มีราคาสูงกว่าจอ 15 นิ้ว 3. ควรเลือกจอภาพที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน การดูแลรักษาจอภาพ 1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรเปิดจอภาพก่อนจึงเปิดที่ case เครื่อง และไม่ควรเปิด ปิดเครื่องติด ๆ กัน ควรพักเครื่องไว้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนเปิดเครื่องใหม่ เพราะการเปิดปิดเครื่องติด ๆ กันอาจทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติและเครื่องอาจค้างได้ 2. ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับแสงสว่างของห้องทำงานและสภาพการทำงาน เพราะถ้าปรับแสงสว่างของจอภาพมากเกินไป จะทำให้จอภาพมีอายุการใช้งานสั้นลง 3. ควรตั้งโปรแกรมถนอมจอภาพเพื่อยืดอายุการใช้งานจอภาพให้ยาวนานขึ้น
4. หน่วยส่งออกข้อมูล
4.1. – จอภาพ (Screen) ทำหน้าที่ แสดงผลข้อมูลต่างๆให้ผู้ใช้มองเห็นและรับรู้ ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน – เครื่องพิมพ์ (Printer) เรียกอีกอย่างว่า ปรินเตอร์ ทำหน้าที่พิมพ์ข้อมูลที่เป็น ตัวอักษร ตัวเลข และภาพ ลงบนกระดาษที่ต้องการ – ลำโพง (Loudspeaker) ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของเสียงต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้ยิน – หูฟัง (Earpiece) ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของเสียงต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้ยิน
5. หน่วยรับข้อมูล
5.1. – เมาส์ ( Mouse ) ทำหน้าที่ในการชี้ตำแหน่ง และใช้เลือก ไอคอนต่างๆ ที่อยู่บนหน้าจอภาพคอมพิวเตอร์ – ไมโครโฟน ( Microphone ) ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียง หรือ รับเสียงที่เราพูด ออกมาให้เราได้ยินทางลำโพง หรือ หูฟัง
Comincia. È gratis!
Connetti con Google
o
Registrati