หลักสูตรประถมศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หลักสูตรประถมศึกษา by Mind Map: หลักสูตรประถมศึกษา

1. พ.ศ. 2551

1.1. หลักการ

1.1.1. เป็นหลักสูตรพื้นฐานเพื่อความเป็นเอภาพของชาติ

1.1.2. มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน

1.1.3. เน้นความรู้ด้านทักษะ เจตคติ และคุณธรรม บนพื้นฐานของความเป็นไทย ควบคู่ความเป็นสากล

1.1.4. การศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ

1.1.5. สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการหรือสภาพของท้องถิ่น

1.1.6. มีโครงสร้างยืดหยุ่น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.1.7. การศึกษามีทั้งในและนอกระบบ เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

1.2. จุดมุ่งหมาย

1.2.1. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ เห็นคุณค่าในตนเอง และยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.2.2. มีทักษะชีวิตที่ดี มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี

1.2.3. มีสุขภาพกายและใจที่ดี และรักการออกกำลังกาย

1.2.4. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีจิตสาธารณะมุ่งทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

1.2.5. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกของพลเมืองที่ดี ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1.3.1. ความสามารถในการสื่อสาร สามารถ ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาตนเอง และสังคม รวมถึงต้องสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

1.3.2. ความสามารถในการคิด สามารถ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดเป็นระบบได้

1.3.3. ความสามารถในการแก้ปัญหา แก้ไขปัญหา ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม

1.3.4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสภาพแวดล้อม และรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

1.3.5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

1.4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

1.4.1. รักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์

1.4.2. ซื่อสัตย์สุจริต

1.4.3. มีวินัย

1.4.4. ใฝ่เรียนรู้

1.4.5. อยู่อย่างพอเพียง

1.4.6. มุ่งมั่นในการทำงาน

1.4.7. รักความเป็นไทย

1.4.8. มีจิตใจสาธารณะ

1.5. โครงสร้าง

1.5.1. ระดับการศึกษาและเวลาเรียน

1.5.1.1. ระดับประถมศึกษา ( ป.1 - ป. 6 ) - เวลาเรียนวันละไม่เกิน 5 ชม.

1.5.1.2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ( ม.1 - ม.3 ) - จัดหลักสูตรเป็นรายภาค - เวลาเรียนวันละไม่เกิน 6 ชม. - คิดน้ำหนักของรายสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ 40 ชม. ต่อภาคเรียน ( 1 หน่วยกิต)

1.5.2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.4 - ม.6 ) - จัดหลักสูตรเป็นรายภาค - มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 6 ชม. - ใช้เกณฑ์ 40 ชม. ต่อภาคเรียน ( 1 หน่วยกิต)

1.5.3. สาระการเรียนรู้มี 8 กลุ่ม จัดสาระการเรียนรู้ตามพัฒนาการทางสมอง และพหุปัญญาของผู้เรียน

1.5.3.1. การงานอาชีพและเทคโนโลยี

1.5.3.2. ภาษาไทย

1.5.3.3. คณิตศาสตร์

1.5.3.4. วิทยาศาสตร์

1.5.3.5. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

1.5.3.6. สุขศึกษาและพลศึกษา

1.5.3.7. ศิลปะ

1.5.3.8. ภาษาต่างประเทศ

1.5.4. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมี 3 ลักษณะ

1.5.4.1. กิจกรรมแนะแนว

1.5.4.2. กิจกรรมนักเรียน - ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาติ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร - กิจกรรมชุมนุม ชมรม

1.5.4.3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ปลูกฝังให้เกิดจิตอาสา - ระดับประถมศึกษา รวม 6 ปี 60 ชม. - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวม 3 ปี 45 ชม. - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี 60 ชม.

1.5.5. มาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ประเภท

1.5.5.1. มาตรฐานวิชาการ - ผู้เรียนต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และสามารถทำได้ในเวลาที่กำหนด

1.5.5.2. มาตรฐานการปฏิบัติ - เป็นผลการปฏิบัติหรือระดับความสามารถ ที่ผู้เรียนจะต้องแสดงออก

1.5.6. หลักการจัดการเรียนรู้

1.5.6.1. ยึดหลักผู้เรียนมีความสำคัญ เชื่อว่าทุกคนสามารถพัฒนาตนเองได้

1.5.6.2. กระบวนการเรียนรู้ เน้นการเรียนด้วยตนเองเป็นหลัก ใช้วิธีการสอนหลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนรายบุคคล

1.5.6.3. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ใช้วิธีการ กิจกรรมสื่อ และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับผู้เรียน

1.5.7. ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 2 ประเภท

1.5.7.1. ตัวชี้วัดชั้นปี - เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปี ในระดับการศึกษาภาคบังคับ ( ป.1 - ป.3 )

1.5.7.2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น - พัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.4 - ม.6 )

1.5.8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (4 ระดับ)

1.5.8.1. การประเมินระดับชั้นเรียน - อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ เน้นวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

1.5.8.2. การประเมินระดับสถานศึกษา - วัดและประเมินผลเป็นรายปี รายภาค รวมทั้งการอ่าน วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1.5.8.3. การประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา - ประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

1.5.8.4. การประเมินระดับชาติ - เป็นการประเมินที่สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และปีที่ 6 ได้เข้ารับการประเมิน

2. ม. 1 - ม. 3 ประมาณปีละ 1,000-1,200 ชม.

3. จุดมุ่งหมาย

3.1. ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียน จนถึงอายุ 15 ปีบริบูรณ์

3.2. เพื่อสนองความต้องการของสังคม และบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจ และแผนการปกครองประเทศ

4. ให้พลเมืองทุกคนต้องได้รับการศึกษา ตามอัตภาพ

5. พ.ศ.2503

6. พ.ศ.2544

6.1. แนวคิดของหลักสูตร

6.1.1. เพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก

6.2. หลักการ

6.2.1. ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

6.2.2. เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่ความเป็นสากล

6.2.3. ประชาชนทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาที่เสมอภาค และเท่าเทียมกัน

6.2.4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนา และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

6.2.5. หลักสูตรมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น

6.2.6. ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียน และประสบการณ์ได้

6.3. จุดมุ่งหมาย

6.3.1. เห็นคุณค่าของตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และค่านิยมอันพึงประสงค์

6.3.2. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ รักการค้นคว้า และรักการอ่านการเขียน

6.3.3. รู้ทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ ปรับวิธีคิด วิธีการทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

6.3.4. มีทักษะกระบวนการโดยเฉพาะทางด้าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

6.3.5. รักการออกกำลังกาย มีบุคลิกภาพที่ดี

6.3.6. มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค

6.3.7. เข้าใจและภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย

6.3.8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ในภูมิปัญญาไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

6.3.9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสิ่งดีงามให้กับสังคม

6.4. โครงสร้าง

6.4.1. มี 4 ช่วงชั้น

6.4.1.1. ป. 1- ป. 3

6.4.1.2. ป. 4 - ป. 6

6.4.1.3. ม. 1 - ม. 3

6.4.1.4. ม. 4 - ม. 6

6.4.2. สาระการเรียนรู้มี 8 กลุ่ม ( แบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ )

6.4.2.1. สร้างพื้นฐานการคิด แก้วิกฤตปัญหาชาติ ( ภาษาไทย คณิตฯ วิทย์ฯ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม )

6.4.2.2. สร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ สร้างศักยภาพ การคิด การทำงานอย่างสร้างสรรค์ ( สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพฯ ภาษาต่างประเทศ )

6.4.3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( แบ่งเป็น 2 ลักษณะ )

6.4.3.1. กิจกรรมนักเรียน เน้นการทำงานเป็นทีม

6.4.3.2. กิจกรรมแนะแนว เป็นการส่งเสริม และ พัฒนาศักยภาพของตนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

6.4.4. มาตรฐานการเรียนรู้

6.4.4.1. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน

6.4.4.2. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

6.4.5. เวลาเรียน

6.4.5.1. ป. 1 - ป. 3 ประมาณปีละ 800-1,000 ชม.

6.4.5.2. ป. 4 - ป. 6 ประมาณปีละ 800 - 1,000 ชม.

6.4.5.3. ม. 4 - ม. 6 ปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ชม.

6.5. การจัดการเรียนรู้

6.5.1. ช่วงชั้นที่ 1

6.5.1.1. ตอบสนองต่อความสนใจของผู้เรียน

6.5.1.2. ให้เรียนครบทุกกลุ่มสาระในลักษณะบูรณาการ

6.5.1.3. ได้เรียนอย่างสนุกสนาน และปฏิบัติจริง

6.5.1.4. พัฒนาความเป็นมนุษย์ ลักษณะนิสัย และสุนทรียภาพ

6.5.2. ช่วงชั้นที่ 2

6.5.2.1. เลือกเรียนตามความสนใจ

6.5.2.2. เน้นการทำงานเป็นทีม

6.5.2.3. สอนแบบบูรณาการ โครงงาน

6.5.2.4. มุ่งให้เกิดทักษะการคิด ค้นคว้าหาความรู้ และนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้

6.5.3. ช่วงชั้นที่ 3

6.5.3.1. มุ่งพัฒนาความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน

6.5.3.2. จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นโครงงานมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ

6.5.4. ช่วงชั้นที่ 4

6.5.4.1. จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมด้านการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ

6.5.4.2. มุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในลักษณะรายวิชา หรือโครงงาน

6.6. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

6.6.1. ระดับชั้นเรียน - ดูความก้าวหน้าด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์

6.6.2. ระดับสถานศึกษา - ตรวจสอบความก้าวหน้ารายปี และช่วงชั้น พิจารณาการตัดสินใจในการเลื่อนชั้นเรียน

6.6.3. ระดับชาติ - ประเมินปีสุดท้าย ทุกช่วงชั้น 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้

7. พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533)

7.1. หลักการ

7.1.1. ครูไม่จำเป็นที่จะต้องยึดเนื้อหาสาระมาก เพื่อให้นักเรียนท่องจำนำไปทำข้อสอบ

7.1.2. มีวิธีการเรียนรู้ คือ นำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้

7.1.3. ท้องถิ่นมีโอกาสพัฒนาหลักสูตรบางส่วนให้เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการได้

7.1.4. บทเรียนที่นำมาทำการเรียนการสอนนั้นต้องมีความทันสมัยและเร้าใจกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนได้

7.2. จุดมุ่งหมาย

7.2.1. พัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้พร้อมในการที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคมได้

7.2.2. เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

7.2.3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้

7.2.4. ให้ผู้เรียนทำงานเป็น

7.2.5. ผู้เรียนสามารถมีบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดี ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้