Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เทคโนโลยีสัมพันธ์ by Mind Map: เทคโนโลยีสัมพันธ์

1. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี

1.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน

1.1.1. ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

1.1.2. มนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการพัฒนาเพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์

1.2. ด้านการพัฒนาประเทศ

1.2.1. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

1.2.2. การพัฒนาด้านสังคม

1.3. ด้านสิ่งแวดล้อม

1.3.1. ใช้ควมคุมและบำบัดมลพิษ

1.3.2. ด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน

2. เทคโนโลยีคือออะไร

2.1. เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ ลักษณะของเทคโนโลยี

3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ

3.1. 1.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

3.1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม

3.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)

3.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา

3.3.1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนา ระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผน หลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

4. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า

4.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น

4.1.1. หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ ทั้งนี้เนื่องจาก การที่มนุษย์ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสภาพธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เทคโนโลยีที่เหมาะสม กับท้องถิ่น ควรมีพื้นฐานมาจาก การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้าน โดยการดัดแปลงแก้ไข ความรู้พื้นฐาน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4.1.2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาไทย เป็นการสะสม องค์ความรู้ขึ้นมาจาก ประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน และมีการถ่ายทอดสืบ ต่อกันมา เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาเหล่านี้ เป็นที่มาของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ความเชื่อทางศาสนา วิธีการทำมาหากิน ตลอดจน ศิลปะวิทยาการต่าง ๆมาจาก ประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาด ของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอด มีการปรับปรุง ประยุกต์ และเปลี่ยนแปลง

4.2. เทคโนโลยีที่นำเข้า

4.2.1. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย

4.2.2. เทคโนโลยีการเกษตร ที่จำเป็นต้องนำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่ สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นการปลูกพืชในน้ำยา ที่มีธาตุอาหารครบ ทำให้สามารถ ควบคุมผลผลิต และคุณภาพของพืชได้ นอกจากนี้อาจจะต้อง นำเข้า เทคโนโลยี ในการเก็บรักษา คุณภาพ ผลิตผลทางการเกษตร เพื่อการส่งออก

4.2.3. เทคโนโลยีชีวภาพ มีการนำเข้าเทคโนโลยีชีวภาพ จากต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทางด้านการแพทย์ เช่น การผลิตวัคซีน ป้องกันโรคต่าง ๆ การผลิตยาบางชนิด

4.2.4. เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม มีการนำเข้าเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรม เคมี เช่น อุตสาหกรรมกรดกำมะถัน ต้องใช้วัตถุดิบ จากต่างประเทศ

4.2.5. เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีการผลิต และการพัฒนายาใหม่ เทคโนโลยีการ วินิจฉัยโรค เทคโนโลยีของอวัยวะเทียม

4.2.6. เทคโนโลยีการสื่อสาร โทรคมนาคม นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยี ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศแทบทั้งสิ้น

4.2.7. เทคโนโลยีการขนส่ง ได้แก่ การเดินรถ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้าการเดินเรือ เครื่องบิน การขนส่งระบบคอนเทนเนอร์

4.2.8. เทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค) ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์การสื่อสาร ระบบเลเซอร์ หุ่นยนต์

4.2.9. เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ นับเป็นกำลังสำคัญ ในการผลักดันความก้าวหน้า ด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างมาก

5. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

5.1. เทคโนโลยีกับศาสตร์เกษตรกร

5.1.1. เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตกซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้นในความหมาย ของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์

5.2. เทคโนโลยีกับศาสตร์วิทยศาสตร์

5.2.1. . ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง

5.3. เทคโนโลยีกับโภชนาศาสตร์

5.3.1. โภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิชวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย

5.3.2. 1. อาหารที่กำหนดให้ (DIET) เป็นอาหารที่ได้กำหนดไว้หรือให้ รายชื่อตายตัวของอาหารนั้นแต่ละมื้อโดยมักจะกำหนดเป็นรายการอาหาร

5.3.3. 2 .ผู้กำหนดอาหาร(Dietitian หรือ Dietecian) คือบุคลผู้ด้ำเนินงานด้านจัดปรุงอาหาร โดยยึดหลักวิชาโภชนศาสตร์ ในการจัดเตรียมอาหารบุคคลผู้นี้ต้อง คิดทำรายการอาหารเพื่อบริโภคเป็นมื้อรวมทั้งอาหารปกติและสำหรับคนป่วย

5.3.4. 3. อาหาร (Food) คือสิ่งที่มนุษย์นำมาบริโภคได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายซ่อมแซมชำรุดส่วนที่สึกหรอให้พลังงานและความอบอุ่นตลอดจนช่วยในการคุ้มกันโรค พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้นิยามคำศัพท์คำว่า อาหาร ว่า อาหาร คือของกินหรือของค้ำจุนชีวิต

5.3.5. 4. อุปนิสัยในการบริโภค (Food Habbit) ศึกษาการกินและความเคยชินในการบริโภค

5.3.6. 5. ทุพโภชนาการ(Mulnutrition) เป็นสภาพร่างกายที่ขาดสารอาหาร หรืออาจเรียกว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

5.3.7. 6. สารอาหารหรือธาตุอาหาร(Nutrients) ได้แก่สารเคมีต่างๆที่มีอยู่ในอาหารที่คน รับประทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ 6.1 Inorganic compounds ประกอบด้วยเกลือแร่และน้ำ 6.2 Organic compounds ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และวิตามิน

5.3.8. 7. โภชนาการ(Nutritionist) คือบุคคลที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนศาสตร์แล้วนำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

5.4. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์

5.4.1. 1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น

5.4.2. 2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี

5.4.3. 3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน

5.4.4. 4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง

5.4.5. 5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด

5.4.6. 6 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้ 1. บทบาทด้านการจัดการ 2. บทบาทด้านการพัฒนา 3. บทบาทด้านทรัพยากร 4. บทบาทด้านผู้เรียนจาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ

5.5. เทคโนโลยีกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม

5.5.1. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับพลังงานและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับการนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทค โนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง 1. เทคโนโลยีจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่มีความสะอาดปราศจากการก่อมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม มีปริมาณมากมายมหาศาลและไม่มีหมดสิ้น จึงมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้แทนพลังงานอื่นๆ 1) เทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ เป็นระบบการผลิตกระแส-ไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสําหรับใช้งานในชนบทที่ไม่มีระบบสายไฟส่งไฟฟ้า 2) เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตความร้อน ประเทศมีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบใช้งานต่างๆเช่น เครื่องผลิตนํ้าร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นต้น 2. เทคโนโลยีจากพลังงานลมเป็นพลังงานธรรมชาติ ที่สะอาด บริสูทธิ์

5.6. เทคโนโลยีกับแพทยศาสตร์

5.6.1. แพทยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการป้องกันและบำบัดโรค ซึ้งเน้นเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะต้องค้นหาวิธีการและเทคดนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยตรง เช่น วัคซีน เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การตรวจหาสมมุติฐานของโรค วิธีการใช้ในการบริหารสุขภาพ เป็นต้น วงการแพทย์ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาโรค เพื่อให้การรักษาอาการเจ็บป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1.เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสูงที่นำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับคลื่นวิทยุมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย 2.เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ เลเซอร์เป็นแสงที่มีคลื่นต่างๆ กัน แสงเลเซอร์ถูกนำมาใช้ในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียดอ่อนมาก การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ทำให้ผู้ป่วยเจ็บป่วยน้อยลง 3.ชุดตรวจเชื้อไข้หวัดนกทั้งที่เกิดในสัตว์และในคน ไข้หวัดนกสายพันธ์ย่อยเอชห้า-เอ็นหนึ่ง เป็นโรคระบาทที่เกิดในสัตว์ปีกแล้วสามารถติดต่อสู่คนได้ 4.การนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยการรับประทานหรือฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปฝนร่างกาย แล้วตรวจด้วยเครื่องมือแสดงภาพอวัยวะที่ต้องการตรวจ 5.การผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ วัคซีน คือ สารที่ไปกระตุ้นระบบภูมคุ้มกันของมนุษย์หรือสัตว์ให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเฉพาะอย่าง ซึ่งมีผลในการป้องกันการเกิดโรค