1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
1.1. วิทยาศาสตร์
1.1.1. วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่นำไปใช้อธิบายได้ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เช่น นักชีววิทยาจะอธิบายได้ว่า ทำไมเมื่อขวั้นและขูดเปลือกของพืชยืนต้นออกจะมีรากงอกออกมาได้ ส่วนเทคโนโลยีนั้นจะเป็นความรู้ว่าจะทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น จะขยายพันธุ์พืชโดยการตอนได้อย่างไร เป็นต้น
1.2. เกษตรศาสตร์
1.2.1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา จะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและ การแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม
1.3. ศึกษาศาสตร์
1.3.1. การนำเทคโนโลียีมาใช้ในการศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม เช่นการสืบค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
1.4. โภชนศาสตร์
1.4.1. โภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย
1.5. แพทยศาสตร์
1.5.1. แพทยศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการป้องกันและบำบัดโรค ซึ้งเน้นเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาอาการของโรคให้ทุเลาลงและหายไปในที่สุด เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ โดยแพทย์ผู้รักษาจะต้องค้นหาวิธีการและเทคดนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยตรง เช่น วัคซีน เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การตรวจหาสมมุติฐานของโรค วิธีการใช้ในการบริหารสุขภาพ เป็นต้น
1.6. พลังงานและสิ่งแวดล้อม
1.6.1. เทคโนโลยีสัมพันธ์กับพลังงานและสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวกับการนําพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การใช้พลังงานแบบประหยัด และการใช้เทค โนโลยีเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเป็นการนําความรู้และศิลปวิทยาการในการดํารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่กําลังเปลี่ยนแปลง
2. เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
2.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น
2.1.1. เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ในการดำเนิน ชีวิต การทำมาหากิน การต่อสู้กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อม ของคนในท้องถิ่นนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่น จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่น และมีความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปได้ ไม่หยุดอยู่กับที่ เช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว การสร้างอ่างเก็บน้ำกะทิสำเร็จรูป
2.2. เทคโนโลยีนำเข้า
2.2.1. แม้ว่าเทคโนโลยีทางการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย จะมีอยู่ในระดับสูง แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ ยังกล่าว ได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ การสื่อสาร โทรคมนาคม การขนส่ง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ จำเป็นต้องรับเอามาจากต่างประเทศ และนำมาพัฒนา ปรับปรุง ให้เหมาะสม กับสภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิต และวัฒนธรรม ของสังคมไทย เช่น สารเคมีป้องกันกำจัด ศัตรูพืช โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต
3. เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
3.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก
3.2. 2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่น โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่น โรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
3.3. 3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา 3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program 3.2.การศึกษาทางไกล โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) 3.3.เครือข่ายการศึกษา ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol 3.4.การใช้งานในห้องสมุด เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร 3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ การใช้ในงานประจำและงานบริหาร
3.4. 4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
4. เทคโนโลยีคืออะไร
4.1. ความหมาย
4.1.1. เทคโนโลยี Technology คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
4.2. ตัวอย่างเทคโนโลยี
4.2.1. 1.คอมพิวเตอร์ ใช้สร้างสื่อการเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ ค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ศึกษาบทเรียนออนไลน์สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงได้ เช่น เล่นเกมส์ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง เป็นต้น สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้และยังสามารถสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้
4.2.2. 2.โทรศัพท์ ใช้สื่อสารทางไกลได้ สามารถ ถ่ายภาพ ติดตามข่าวสาร ท่องอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น บางทีอาจสามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เลย สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดเหตุด่วน ช่วยเตือนความจำได้
5. ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
5.1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน
5.1.1. ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เช่น การใช้โทรศัพท์ การใช้คอมพิวเตอร์
5.2. ด้านการพัฒนาประเทศ
5.2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานรากที่รองรับ “สังคมสารสนเทศ” เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดบริการสังคมพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยีสำหรับคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System) Electronic Mail
5.3. ด้านสิ่งแวดล้อม
5.3.1. ประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม