การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ ระบบปัสสาวะ

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ ระบบปัสสาวะ por Mind Map: การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ ระบบปัสสาวะ

1. Acute glomerulonephritis

1.1. สาเหตุ

1.1.1. การอักเสบของไตไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อโดยตรง แต่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้ออื่นๆ ของร่างกายที่พบบ่อยคือ Pharyngitis จาก Streptococcus gr. A. (Post-streptococcal glomerulonephritis) หรือการติดเชื้อจากผิวหนัง และการติดเชื้ออื่นๆในเด็กจะพบได้บ่อยคือ Acute post-streptococoal glomerulonephritis

1.2. พยาธิสรีรภาพ

1.2.1. มีการติดเชื้อในร่างกายจะมีแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้น หลังจากนั้นจะเกิด Antigen-antibody complex หรือ Immune-complex reaction ทำให้หลอดเลือดฝอยใน Glomerula ถูกทำลายโดยสารสำคัญสองชนิดคือ lysozyme และ Anaphylatoxin ผลที่เกิดตามมาคือ การกรองของเสียและการดูดซึมกลับไม่เป็นไปตามปกติ เกิดอาการคั่งของนํ้าและของเสีย เช่น BUN ความดัน โลหิตสูง

1.3. อาการ

1.3.1. ภายหลังการติดเชื้อประมาณ 7-14 วัน เด็กจะเริ่มมีอาการบวมที่หน้า โดยเฉพาะขอบตา ต่อมาบวมขาและท้อง ชนิดกดไม่บุ๋มและบวมไม่มากปัสสาวะน้อยมีสีเข้ม เด็กจะมีอาการซีด กระสับกระส่ายและอ่อนเพลียมาก

1.4. ภาวะแทรกซ้อน

1.4.1. Hypertensive encephalopathy

1.4.2. Acute cardiac decompensation

1.4.3. Acute renal failure

1.5. การรักษา

1.5.1. ลดความดันโลหิตและอาการบวม

1.5.1.1. ให้นอนพักและให้ยาลดความดันโลหิต

1.5.1.2. ให้ยาขับปัสสาวะประเภท Furosemide (Lasix)

1.5.1.3. ควบคุมอาหารและนํ้า

1.5.2. เพื่อควบคุม และป้องกันการติดเชื้อ

1.5.3. ควบคุม หรือป้องกันภาวะแทรกซ้อน

1.5.3.1. ให้ยาระงับชัก Phenobarb

1.6. การพยาบาล

1.6.1. ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ

1.6.2. ป้องกันหรือควบคุมอาการบวม

1.6.3. ป้องกันภาวะโปแตสเซียมสูง (Hyperkalemia)

1.6.4. ลดความดันโลหิต

1.6.5. สังเกตการเกิดภาวะแทรกซ้อน

1.6.6. เสริมสร้างความแข็งแรงและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย

1.6.7. อำนวยความสุขสบายของร่างกาย

1.6.8. ประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

1.6.9. เตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองที่บ้าน

2. Urinary tract infection

2.1. สาเหตุและพยาธิสภาพ

2.1.1. เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จะเกิดขึ้นที่บริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนล่างซึ่งได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ (bladder)และ ท่อปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน ได้แก่ บริเวณ ไต (kidney) และ ท่อไต แต่จะพบได้น้อยกว่า แต่หากมีการติดเชื้อจะรุนแรงกว่าการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

2.2. อาการ

2.2.1. เด็กเล็กอายุตํ่ากว่า 2 ปี อาการไม่แน่นอน เช่น อาจมีไข้ ตัวเหลือง อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเดิน เลี้ยงไม่โต

2.2.2. เด็กอายุ 2-14 ปี อาจจะพบอาการไข้ ปัสสาวะบ่อยและปวดแสบขณะถ่ายปัสสาวะมีกลิ่น ปวดท้องน้อยกดเจ็บบริเวณชายโครงด้านหลัง อาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด

2.3. การรักษา

2.3.1. ลดการติดเชื้อโดยการให้ยาปฏิชีวนะ

2.3.2. ป้องกันเนื้อไตถูกทำ ลาย และป้องกันไตวาย

2.3.3. ค้นหาและแก้ไขความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

2.3.4. ให้นํ้าปริมาณมาก ให้นํ้าโดยการดื่ม และ/หรือทางหลอดเลือดดำ

2.3.5. บรรเทาอาการปวดแสบในการถ่ายปัสสาวะ

2.3.6. ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

2.4. การพยาบาล

2.4.1. ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

2.4.2. สังเกตภาวะแทรกซ้อน

2.4.3. เสริมสร้างความแข็งแรงและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย

2.4.4. อำนวยความสุขสบายของร่างกาย

2.4.5. สอนแนะนำ ด้านสุขศึกษา

3. Nephrotic syndrome

3.1. กลุ่มอาการ

3.1.1. 1. โปรตีนในปัสสาวะสูง 2. โปรตีนในเลือดตํ่า โดยเฉพาะอัลบูมิน 3. บวมทั่วตัวชนิดกดบุ๋ม 4. ไขมันในเลือดสูง

3.2. สาเหตุ

3.2.1. เกิดจากความผิดปกติที่ไต (Primary nephrotic syndrome) 1. Idiopathic NS เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในเด็ก 2. Congenital nephrosis / Congenital NS 3. Acute post infection glomerulonephritis, chronic glomerulonephritis

3.2.2. เกิดร่วมกับโรคระบบอื่น ๆ (Secondary nephrotic syndrome) 1. โรคติดเชื้อ 2. สารพิษ 3. ภูมิแพ้ 4. โรคของระบบหายใจและหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือดของไต (Renal vein thrombosis) หัวใจวาย (Congestive heart failure) 5. เนื้องอกชนิดร้าย (Malignancies) 6. โรคอื่น ๆ เช่น Collagen disease : SLE, Anaphylactoid purpura, Multiple myeloma

3.3. พยาธิสรีรภาพ

3.3.1. เกิดความผิดปกติที่ Glomerular basement membrane โดยมีการเพิ่ม permeability ทำให้โปรตีนที่มีโมเลกุลเล็กไหลรั่วผ่านออกมามากขึ้นส่วนใหญ่จะเป็น อัลบูมิน และอิมมูโนโกลบูลิน (Ig) และจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา

3.4. อาการ

3.4.1. นํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.4.2. บวมรอบหนังตาและหน้าในเวลาตื่นนอนเช้าและจะหายไปในเวลาบ่าย

3.4.3. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย แน่นท้อง หายใจลำ บาก ผิวหนังซีด มักจะไม่พบความดันโลหิตสูง

3.4.3.1. ปัสสาวะจะน้อยลงและสีเข้ม

3.4.4. มีไข้

3.5. หลักการรักษา

3.5.1. 1. เพื่อลด Permeability ที่ Glomerular basement membrane โดยการให้ยาประเภทสเตียรอยด์ เช่น Prednisolone ทางปาก

3.5.2. 2. ป้องกันและควบคุมสภาวะโภชนาการ

3.5.3. 3. ลดอาการบวมหรือควบคุม

3.5.4. 4. เพิ่มโแตสเซียม เพิ่มวิตามิน

3.5.5. 5. ป้องกันการติดเชื้อ

3.6. หลักการพยาบาล

3.6.1. ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ

3.6.2. ป้องกันการแตกของผิวหนัง

3.6.3. ป้องกันหรือควบคุมอาการบวม

3.6.4. ป้องกัน Hypovolemia และ Hypokalemia

3.6.5. ลดการสูญเสียพลังงาน ลดการทำงานของหัวใจ และลดอาการ Dyspnea ที่อาจมี

3.6.6. เสริมสร้างภาวะโภชนาการและส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกาย

3.6.7. ประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

3.6.8. เตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับบ้าน

4. Phimosis in children

4.1. Phimosis เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กเพศชาย หมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถรูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (foreskin , prepuce) กลับมาทางด้านหลังหัวของอวัยวะเพศได้

4.2. อาการผิดปกติต่างๆ

4.2.1. มีอาการปัสสาวะลำบาก ร้องปวดก่อนขับถ่ายปัสสาวะ

4.2.2. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศโป่ง (ballooning)ขณะเบ่งถ่ายปัสสาวะ

4.2.3. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศส่วนปลายบวมแดงอักเสบอาจมีสารคัดหลั่งสีเหลืองคล้ายหนองไหลออกมาร่วมด้วย (balanoposthitis)

4.2.4. ลำปัสสาวะมีขนาดเล็กมาก หรือถ่ายปัสสาวะเป็นหยดๆไม่พุ่ง (true phimosis)

4.2.5. มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะมีเลือดปน(urinary tract infection , UTI)

4.2.6. มีก้อนนูนใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (retained smegma)

4.2.7. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศติดหัวอวัยวะเพศรูดแล้วเจ็บ (preputial adhesions)

4.2.8. รูดหนังหุ้มปลายแล้วดันกลับไม่ได้ (paraphimosis)

4.3. การรักษา

4.3.1. รักษาโดยใช้วิธีประคับคอง

4.3.2. การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ( circumcision )