Rupture Rt. MCA bifurcation aneurysm

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
Rupture Rt. MCA bifurcation aneurysm por Mind Map: Rupture Rt. MCA bifurcation aneurysm

1. 11 แบบแผน

1.1. แบบแผนที่ 1 ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ต้องรักษาโดยการผ่าตัด และรับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ไม่แพ้ยาแพ้อาหาร สูบบุหรี่วันละ1ซอง เป็นเวลามากกว่า 40 ปี ดื่มเบียร์ 1-2 แก้วต่อเดือนเป็นเวลามากกว่า 40 ปี

1.2. แบบแผนที่ 2 ก่อนป่วยผู้ป่วยชื่นชอบรับประทานอาหารมันเค็ม ปัจจุบันผู้ป่วยรับประทานอาหารธรรมดา รับประทานครบ3มื้อ ดื่มน้ำวันละ1-2 L/Day

1.3. แบบแผนที่ 3 ผู้ป่วย on Foley's catch ปัสสาวะสีเหลืองใส ผู้ป่วยอุจาระได้เอง ลักษณะเป็นก้อน สีเหลือง อ่อนนุ่ม intake 1100 ml output 970 ml

1.4. แบบแผนที่ 4 ก่อนป่วยผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ ปัจจุบันอ่อนเเรงข้างซ้าย ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่นการสวมใส่เสื้อผ้า การเข้าห้องน้ำ ไม่มีประวัติเป็นลม หายใจขัด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง PE : Muscle power grade 3 at all หายใจ 20 ครั้ง/นาที จังหวะ สม่ำเสมอ หายใจ room air. Oxygen saturation 100% เสียงปอด on cepitation, clear both lung ชีพจร 80 ครั้ง/นาที regular อัตราการเต้นของหัวใจ 80 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 149/101 mmHg

1.5. แบบแผนที่ 11 ผู้ป่วยนับถือศาสนาพุทธ ไม่พบความเชื่อที่ขัดต่อการรักษา

1.6. แบบแผนที่ 5 ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ไม่มีขอบตาดำคล้ำ อ่อนเพลีย หาวนอนบ่อย

1.6.1. ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ไม่มีขอบตาดำคล้ำ อ่อนเพลีย หาวนอนบ่อย

1.6.2. ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ไม่มีขอบตาดำคล้ำ อ่อนเพลีย หาวนอนบ่อย

1.7. แบบแผนที่ 6 การรับรู้ การมองเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น รับรส ปกติ ไม่มีอาการเหน็บชา ผู้ป่วยรับรู้บุคคล สถานที่ ไม่มีสับสนเรื่องเวลา บางครั้งเเยกกลางคืนกลางวันได้ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี พูดคุยโต้ตอบได้ E4V5M6

1.8. แบบแผนที่ 7 ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความหมายกับครอบครัว ไม่พบการเปรียบเทียบตนเองระหว่างป่วยและก่อนป่วย

1.9. แบบแผนที่ 8 ผู้ป่วยเป็นหัวหน้าครอบครัว มีสัมพันธภาพกับคนในครอบครัวดี การเจ็บป่วยไม่มีผลกระทบกับรายได้ของครอบครัว

1.10. แบบแผนที่ 9 ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองเป็นเพศชาย มีภรรยา 1 คน มีบุตร 1 คน อวัยวะสืบพันธ์ ไม่มีdischarge ซึม ไม่พบความผิดปกติ

1.11. แบบแผนที่ 10 เป็นคนชอบเข้าสังคมอารมณ์ดี เวลาเครียดจะเล่าให้ภรรยาฟัง เมื่อมีความเครียด จะปวดศีรษะ และมีหน้านิ่วคิ้วขมวด

2. ข้อมูลทั่วไป

2.1. ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 49 ปี CC: ปวดศีรษะมากขึ้น 3ชม. ก่อนมาโรงพยาบาล PI : 3hr PTA ขณะผู้ป่วยเล่นโทรศัพท์ มีอาการปวดศีรษะขึ้นมาทันที หลับปลุกตื่นยาก หลังจากตื่นนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี พูดคุยรู้เรื่อง ไม่มีสับสน ไม่มีตาพร่า ไม่มีอาการแขนขาอ่อนเเรง ไม่มีบ้านหมุน ไม่มีไข้ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีเดินเซ PH : no U/D Diagnosis : Ruptured right MCA bifurcation aneurysm ผ่าตัดวันที่6/01/62 : craniotomy with clipping aneurysm

3. พยาธิสภาพ

3.1. สาเหตุ

3.1.1. ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 50-60 ปี

3.1.2. ความเสื่อมของผนังหลอดเลือดร่วมกับอายุที่มากขึ้น

3.1.3. ปัจจัยเร่งที่ทำให้สภาพหลอดเลือดมีความเสื่อมมากขึ้นและเร็วขึ้น ได้แก่ โรคความดันสูง เบาหวาน หรือสูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน

3.1.4. มีประวัติว่าบิดามารดาเป็นโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง (Intracerebral Aneurysm) หรือหลอดเลือดในสมองแตก

3.1.5. ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง, ปวดศีรษะแบบไมเกรน, อยู่ในภาวะเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน

3.1.6. ผู้ป่วย

3.1.6.1. ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน

3.2. อาการ

3.2.1. 1.บางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน

3.2.2. 2.บางรายอาจพบมีอาการหมดสติหลังจากปวดหัว

3.2.3. 3.รายที่ล้มหมดสติและมีเลือดออกในสมอง (subarachnoid hemorrhage) รุนแรงและปริมาณมากผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ทันที

3.2.4. 4.นอกจากนี้อาจมาด้วยอาการอื่น เช่น มีอาการเตือนก่อน มีปวดศีรษะไม่มาก, อาการชัก, อาการของการกลอกตาผิดปกติซึ่งมักพบอาการเส้นประสาทสมองที่ 3 ผิดปกติทำให้กลอกตาเข้าในไม่ได้ มีม่านตาโต หรือเส้นเลือดโป่งพองมีขนาดใหญ่ไปกดสมองทำให้มีอาการได้

3.2.5. ผู้ป่วย

3.2.5.1. ปวดศีรษะรุนแรง ทันทีทันใดในขณะที่เล่นโทรศัพท์ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว มีอาการอ่อนแรงลง

3.3. การตรวจวินิจฉัย

3.3.1. 1.เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองความเร็วสูง (CT Multi-slice) ช่วยวินิจฉัยโรคได้ว่ามีเส้นเลือดแตกในช่องน้ำหล่อเลี้ยงสมอง ทำให้เห็นก้อนเลือด น้ำคั่งในสมอง สมองบวม สมองขาดเลือดได้ นอกจากนี้ลักษณะของเลือดที่ออกช่วยให้ทำนายได้ว่าเส้นเลือดโป่งพองอยู่ตำแหน่งใด บางครั้งอาจเห็นเส้นเลือดโป่งพองได้

3.3.2. 2.การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA) ทำให้เห็นเส้นเลือดโป่งพองได้ดีขึ้น มีความไว ความจำเพาะที่สูง อาจใช้การตรวจวิธีนี้อย่างเดียวโดยไม่ทำ angiography เหมาะในโรงพยาบาลที่ไม่มีความพร้อมในการทำ angiography แต่ถ้าเส้นเลือดโป่งพองขนาดเล็กกว่า 3 mm อาจมองไม่เห็น

3.3.3. 3.การตรวจหลอดเลือดสมองด้วยการฉีดสารทึบสารรังสี (Angiogram)เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยดูว่ามีเส้นเลือดโป่งพองในสมอง และสามารถดู hemodynamic ได้

3.3.4. ผู้ป่วย

3.3.4.1. ผู้ป่วยทำ CT brain พบ Rt. MCA bifurcation aneurysm

3.4. การรักษา

3.4.1. การผ่าตัดแล้วใช้คลิปหนีบไว้ (surgical clipping) เป็นการผ่าตัดเข้าไปหนีบ (clipping) เส้นเลือดโป่งพองที่คอของเส้นเลือดโดยไม่ทำให้เส้นเลือดที่ดีอุดตัน

3.4.2. การใช้การรักษาจากภายในหลอดเลือด (endovascular treatment) เป็นการใส่สายสวนเข้าที่ขาหนีบแล้วปล่อยขดลวด (coil) เข้าไปอุดตันเส้นเลือดโป่งพอง

3.4.3. ให้ยาแก้ปวดศีรษะ

3.4.4. ให้ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) เพื่อลดการหดเกร็งของหลอดเลือด (Vasospasm) ของสมองที่เป็นผลข้างเคียงจากหลอดเลือดโป่งพอง ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดตามมา

3.4.5. ให้ยากันชัก

3.4.6. การผ่าตัดในกรณีภาวะเส้นเลือดแตกในสมอง (hemorrhagic stroke)

3.4.6.1. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเอาก้อนเลือดออก craniotomy remove blood clot

3.4.6.2. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะหนีบเส้นเลือดสมองโป่งพองcraniotomy aneurysm clipping

3.4.6.3. การตัดต่อเส้นเลือดสมองเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองในกรณีที่มีการทำลายเส้นเลือด vascular bypass and revascularization

3.4.6.4. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะตัดเส้นเลือดผิดปกติออก craniotomy resection of AVM, AVF

3.4.6.5. การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำหล่อโพรงสมองเมื่อเกิดภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ผ่าตัดระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย หรือระบายลงช่องท้อง CSF diversion

3.4.6.6. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะลดความดันในกะโหลกศีรษะ decompressive craniectomy

3.4.7. ผู้ป่วย

3.4.7.1. ผู้ป่วยทำการผ่าตัด Craniotomy with clipping aneurysm

4. ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

4.1. 1. เสี่ยงต่อภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง (IICP)

4.1.1. ข้อมูลสนับสนุน

4.1.1.1. OD : Dx. Rupture left anemiddle cerebral artery (MCA) anurysm OR. Craniotomy c cipping aneurysm (06/01/62) GCS E4V5M6 motor power แขนและขาข้างขวา เกรด 5 แขนและขาข้างซ้าย เกรด 0 Pupil 2 mm. reac to right both eyes

4.1.2. วัตถุประสงค์ ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง

4.1.3. เกณฑ์การประเมินผล

4.1.3.1. 1. ไม่มีอาการและอาการแสดงของความดันโลหิตในกะโหลกศีรษะสูงเพิ่มขึ้นจากเดิม

4.1.3.2. 2. Motor power ไม่ลดลงจากเดิม

4.1.3.3. 3. การขยาย Pupil ไม่ลดลงจากเดิม คือ Pupil size ของตาทั้งสองข้างอยู่ระหว่าง 2-3 mm

4.1.3.4. 4. สัญญาณชีพปกติ - อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 20-24 ครั้ง/นาที - ชีพจรอยู่ในช่วง 60-100 ครั้ง/นาที - Pulse pressure ≤ 40 mmHg

4.1.3.5. 5. คะแนน Glasgow coma scale ≥ 6 คะแนน

4.1.4. กิจกรรมการพยาบาล

4.1.4.1. 1 ประเมินภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่น อาเจียนพุ่ง เวียนศีรษะ ตามัว ระดับความรู้สึกตัวลดลง

4.1.4.2. 2 ดูแลจัดท่าศีรษะสูง 30 องศาเพื่อทำให้การไหลเวียนเลือดดำจากสมองกลับสู่หัวใจและการไหลเวียนของน้ำหล่อสมองลงช่องไขสันหลังตามแรงโน้มถ่วงของโลก

4.1.4.3. 3ติดตามวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น มีไข้ และ pulse pressure มากกว่า 40 องศา

4.1.4.4. 4 สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงทางระบบประสาท บันทึกระดับความ รู้สึกตัว ปฏิกิริยาของรูม่านตาและการเคลื่อนไหวเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง

4.1.4.5. 5 ดูแลจัดศีรษะและคออยู่แนวเดียวกับลำตัวไม่งอข้อสะโพกเกิน 90 องศา

4.1.4.6. 6. ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูง 38 ควรเช็ดตัวลดไข้เพื่อลดอัตราการเผาผลาญอาจทำให้สมองบวม

4.1.4.7. 7 แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ทำให้เกิดแรงเบ่ง เช่น การเบ่งอุจจาระ การไอจามแรงๆเพื่อป้องกันภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง

4.1.5. ประเมินผล

4.1.5.1. ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง เช่น อาเจียนพุ่ง เวียนศีรษะ ตามัว ระดับความรู้สึกตัวลดลงระดับสัญญาณชีพของผู้ป่วย BP systolic อยู่ในช่วง 146-153 mmHg diastolic อยู่ในช่วง 97-103 mmHg temperature 36.5-37.0 องศาเซลเซียส GCS E4V5M6 pp 2+ BE

4.2. 2. เสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองหดเกร็ง

4.2.1. ข้อมูลสนับสนุน

4.2.1.1. SD ผู้บอกว่า ปวดศีรษะมาก OD : Dx. Rupture Rt middle cerebral artery aneurysm OR. Rt transsqlian approach with clipping of aneurysm with coating at Blood Bliolar (06/01/62) Hct 36.4 % (ต่ำ) Hb 12.5 g/dl (ต่ำ) BP 151/103 mmHg (15/01/62)

4.2.2. วัตถุุประสงค์

4.2.2.1. ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะหลอดเลือดสมองหดเกร็ง

4.2.3. เกณฑ์การประเมิน

4.2.3.1. 1.ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะหลอดเลือดสมองหดเกร็ง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน สับสน หรือซึมลง

4.2.3.2. 2.สัญญาณชีพปกติ BP systolic อยู่ระหว่าง 110-160 mmHg

4.2.3.3. 3. Hct 39.0-50.0 %

4.2.3.4. 4. Hb 13.0-16.0 g/dl

4.2.4. กิจกรรมทางการพยาบาล

4.2.4.1. 1. สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะหลอดเลือดหดเกร็ง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน สับสน หรือซึมลง

4.2.4.2. 2. ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อติดตามอาการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ความดันโลหิตต่ำ keep BP systolic อยู่ระหว่าง 110-160 mmHg

4.2.4.3. 3. ประเมิน neuro signs เพื่อติดตามระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย

4.2.4.4. 4. ดูแลให้ได้รับยา Levophad 4 mg + 5% DW 250 ml V drip 10-60 ml/hr เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของหลอดเลือด

4.2.4.5. 5. ติดตามการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

4.2.5. ประเมินผล

4.2.5.1. ผู้ป่วยไม่มีอาการและอาการแสดงเช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน สับสน หรือซึมลงระดับสัญญาณชีพของผู้ป่วย BP systolic อยู่ในช่วง 146-153 mmHg diastolic อยู่ในช่วง 97-103 mmHg GCS E4V5M6 pp 2+ BE

4.3. 3.มีภาวะ Hyponatremia

4.3.1. ข้อมูลสนับสนุน

4.3.1.1. SD : ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ OD : Na 134 mmol/L (11/01/62) ต่ำ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย intake 1750 ml output 1500 ml

4.3.2. วัตถุประสงค์

4.3.2.1. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของ Hyponatremia

4.3.3. เกณฑ์การประเมินผล

4.3.3.1. ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะ Hyponatremia เช่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน

4.3.3.2. ระดับของ Na อยู่ในค่าปกติ 136-145 mmol/L

4.3.3.3. สัญญาณชีพปกติ

4.3.4. กิจกรรมการพยาบาล

4.3.4.1. 1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะ Hyponatremia เช่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน

4.3.4.2. 2.ติดตามสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

4.3.4.3. 3.ดูแลให้ได้รับยา 0.9% Nacl 1000 ml V drip total rate 100 ml/hr เพื่อเพิ่มระดับของโซเดียมในร่างกาย

4.3.4.4. 4.บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง

4.3.4.5. 5.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ E’ lyte เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย

4.3.5. ประเมินผล

4.3.5.1. ผู้ป่วยไม่มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียนระดับสัญญาณชีพของผู้ป่วย BP systolic อยู่ในช่วง 146-153 mmHg diastolic อยู่ในช่วง 97-103 mmHg GCS E4V5M6 pp 2+ BE intake 2074 ml output 2270 ml

4.4. 4.เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

4.4.1. ข้อมูลสนับสนุน

4.4.1.1. ผู้ป่วยไม่สามารถลุกนั่งและลุกเดินได้

4.4.1.2. Motor Power แขนและขาทั้งสองข้าง เกรด 2

4.4.2. วัตถุประสงค์

4.4.2.1. ผู้ป่วยไม่เกิดการพลัดตกหกล้ม

4.4.3. เกณฑ์การประเมิน

4.4.3.1. ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย

4.4.3.2. ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุ พลัดตกเตียง

4.4.4. กิจกรรมทางการพยาบาล

4.4.4.1. 1.ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ motor power เพื่อนำมาวางแผนการบำบัดการรักษาทางการพยาบาล

4.4.4.2. 2.อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงการเฝ้าระวัง การป้องกันการตกเตียง ลื่นล้ม เพื่อให้ระมัดระวังผลกระทบถึงผู้ป่วยหากผู้ป่วยหกล้ม

4.4.4.3. 3.ยกราวกั้นเตียงขึ้นทั้ง 2ข้าง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง

4.4.4.4. 4.ใส่ล็อกขาเตียงอยู่เสมอเพื่อป้องกันเตียงไหล และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ

4.4.4.5. 5.จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่สามารถดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดอุบิตเหตุ

4.4.4.6. 6.ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือตามความเหมาะสมเพื่อดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วย

4.4.4.7. 7.ให้ความช่วยเหลือขณะขึ้น-ลงเตียงและขณะทำกิจกรรมตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

4.4.4.8. 8.จัดวางสิ่งของให้ผู้ป่วยสามรถหยิบใช้ได้สะดวกเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

4.4.4.9. 9.จัดให้แสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

4.4.4.10. 10.ปรับเตียงต่ำสุดเพื่อป้องกันการตกเตียง

4.4.5. ประเมินผล

4.4.5.1. ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุขณะอยู่โรงพยาบาล และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองเพียงบางส่วน เช่น ดื่มน้ำ รับประทานอาหาร

5. การวางแผนจำหน่ายโดยใช้หลัก D – METHOD

5.1. D : Diagnosis

5.1.1. ผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดสมองโป่งแตกที่บริเวณหลอดเลือดแขนงที่เรียกว่า middle cerebral artery bifurcation โดยอาการอาจมีซึม สับสน แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น ซึ่งมีโอกาสเกิดในคนที่มีประวัติสูบบุหรี่ ดื่มแอกอฮอล์ ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือผู้ที่มีประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง การรักษาได้ด้วยการผ่าตัดและดูแลควบคุมระดับความดันโลหิตโดยการรับประทานยาเพิ่มและลดความดันตามที่แพทย์สั่งให้

5.2. M : Medication

5.2.1. ในผู้ป่วยรายนี้ยังไม่ได้มีแพลนให้กลับบ้าน แพทย์จึงยังไม่มีการสั่งยารับประทานให้ ขณะนี้รักษา ตัวอยู่ที่โรงพยาบาลได้รับยาทางหลอดเลือดดำเป็นยาเพิ่มความดันและยาลดความดัน เป็น Levophed 4 mg + 5% D/W 250 ml vein drip 10-60 ml/hr Nimodipine 50 ml vein 5 ml/hr × 24 hr.

5.3. E : Environment

5.3.1. แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และจัดบ้านให้เป็นระเบียบไม่วางของเกะกะ จัดที่นอนให้ผู้ป่วยนอนชั้นล่างของตัวบ้านเนื่องจากผู้ป่วยมีแขนขาข้างซ้ายอ่อนแรงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได

5.4. T : Treatment

5.4.1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ และรับประทานครบ 3 มื้อ ดื่มน้ำวันละ 1-2 ลิตร ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและป้องกันการเกิดท้องผูก

5.5. H : Health

5.5.1. แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการทำกายภาพด้วยตนเองเมื่อกลับบ้านเนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีแขนขาอ่อนแรงซีกซ้าย โดยแนะนำให้ผู้ป่วยใช้แขนขวาช่วยยกแขนซ้ายขึ้นลง การนวดกล้ามเนื้อบริเวณแขนขาซ้ายข้างที่อ่อนแรงเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ขยับและไม่ให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงมากขึ้น แนะนำการไม่ออกแรงเบ่ง เช่น ไม่ให้ท้องผูก ไม่ยกของหนัก และไม่ไอรุนแรง เพราะการไอแรง ๆ หรือออกแรงเบ่ง จะทำให้มีการแตกของหลอดเลือดได้ง่าย

5.6. O : Out patient

5.6.1. แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการอาการของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโป่งแตกซ้ำเนื่องจากโรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้หากไม่ดูแลตนเอง อาการที่อาพบเช่น ซึม สับสน ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ตามัว มองเห็นไม่ชัด เป็นต้น ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อป้องกันการแตกซ้ำ

5.7. D : Diet

5.7.1. แนะนำหลีกเลี่ยงอาหารประเภททอดและของมัน เนื่องจากจะไปกระตุ้นให้มีอาการไอเพิ่มขึ้นด้วยอาจเสี่ยงต่อการแตกของหลอดเลือดได้ง่าย