การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก por Mind Map: การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติระบบทางเดินปัสสาวะในเด็ก

1. ACUTE GLOMERRULONEPHRITIS

1.1. ลักษณะทั่วไป

1.1.1. เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นที่หน่วยไต ทำให้ร่างกายขับปัสสาวะออกได้น้อย มีของเสีย คั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ รวมทั้งมีเม็ดเลือดแดง และสารไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้เกิด อาการบวม และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดง

1.2. สาเหตุ

1.2.1. การอักเสบที่เป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากการติดเชื้อ

1.2.1.1. เกิดขึ้นจากการอักเสบหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส (Streptococcus) ร่างกายจะสร้างโปรตีนต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย (Antibody) จำนวนมาก ซึ่งสามารถเข้าไปในหน่วยไตและก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นได้

1.2.2. การอักเสบจากโรคทางภูมิคุ้มกัน

1.2.2.1. โรคเกี่ยวกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบางชนิดอาจก่อให้เกิดภาวะไตอักเสบได้ โดยการติดเชื้อเรื้อรังจากการแพ้ภูมิตัวเองจะส่งผลต่ออวัยวะในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

1.2.3. การอักเสบจากกลุ่มโรคหลอดเลือดอักเสบ

1.2.3.1. โรคหลอดเลือดอักเสบโพลีอาเทอร์ไรติส (Polyarteritis)

1.2.3.2. โรคหลอดเลือดอักเสบ (Granulomatosis with Polyangiitis)

1.2.4. การอักเสบจากปัจจัยโรคอื่น ๆ

1.2.4.1. อาทิ โรคความดันเลือดสูง

1.3. การวินิจฉัย

1.3.1. การตรวจปัสสาวะ

1.3.2. การตรวจเลือด

1.3.3. การวินิจฉัยผ่านการเจาะเก็บเนื้อเยื่อไต (Kidney Biopsy)

1.4. การรักษา

1.4.1. ให้ยาปฏิชีวนะ

1.4.2. ให้ยาขับปัสสาวะและยาลดความดันเลือดเพื่อควบคุมความดันเลือด

1.4.3. ให้พักผ่อน

1.4.4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

1.5. การพยาบาล

1.5.1. บันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออก

1.5.2. ชั่งน้ำหนักทุกวัน

1.5.3. ตรวจปัสสาวะหา Specific gravity

1.5.4. บันทึกสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิเพื่อป้องกันจากการติดเชื้อ

1.5.5. ดูแลผิวหนังเพื่อป้องกันผิวแตกจากอาการบวม

1.5.6. สังเกตภาวะแทรกซ้อน

2. PHIMOSIS

2.1. ภาวะที่ผิวหนังบริเวณปลายองคชาตหดตัวจนไม่สามารถดึงให้เปิดขึ้นได้ดังปกติ

2.2. อาการ

2.2.1. ลายองคชาตและหนังหุ้มปลายองคชาตอักเสบ ทำให้มีอาการบวมแดงและรู้สึกเจ็บปวด

2.2.2. ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลำบาก

2.2.3. รู้สึกเจ็บปวดขณะปัสสาวะ

2.2.4. รู้สึกเจ็บปวดเมื่อองคชาตแข็งตัว

2.3. สาเหตุ

2.3.1. ไม่ทราบสาเหตุของภาวะหนังหุ้มปลายองคชาติตีบตั้งแต่แรกเกิดที่แน่ชัด

2.3.2. เกิดขึ้นตอนโตนั้นอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายองคชาตหรือผิวหนังหุ้มปลายองคชาต หรือการเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณองคชาตที่ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งกระด้าง จึงยากต่อการดึงให้เปิดขึ้น

2.4. การวินิจฉัย

2.4.1. ผู้ที่มีภาวะ Phimosis และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะลำบาก หรือรู้สึกเจ็บปวดบริเวณองคชาต ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ โดยในเบื้องต้นแพทย์จะซักถามอาการและตรวจดูความผิดปกติขององคชาต เมื่อวินิจฉัยเรียบร้อยแล้วจึงจะพิจารณารักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

2.5. การรักษา

2.5.1. ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของอาการ

2.5.2. แพทย์จะสอนผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีรูดเปิดผิวหนังหุ้มปลายองคชาตให้เด็กทีละน้อยเป็นประจำทุกวันจนกระทั่งเปิดได้เป็นปกติ

2.5.3. อาจให้ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เพื่อช่วยให้หนังหุ้มปลายนุ่มและรูดเปิดได้ง่ายขึ้น

2.5.4. ขลิบหนังหุ้มปลายซึ่งเป็นการผ่าตัดนำหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกและช่วยป้องกันการเกิดภาวะนี้ซ้ำ

2.6. ภาวะแทรกซ้อน

2.6.1. ผู้ป่วยภาวะ Phimosis ที่มีหนังหุ้มปลายองคชาตตีบร่วมกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น เจ็บ บวมแดง หรือปัสสาวะลำบาก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดแผลเรื้อรังหรือมีเนื้อตายและสูญเสียองคชาตไปอย่างถาวร นอกจากนั้น ยังเสี่ยงเกิดมะเร็งองคชาตมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

2.7. การป้องกัน

2.7.1. ควรทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นทุกวันในระหว่างอาบน้ำ รวมทั้งดึงหนังหุ้มปลายองคชาตให้เปิดออกอย่างช้า ๆ และล้างทำความสะอาดผิวหนังข้างใต้

2.7.2. สำหรับทารกและเด็กเล็กนั้นเมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วควรเช็ดให้แห้งทุกครั้ง

2.7.3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีน้ำหอมหรือมีส่วนผสมของสารเคมี รวมถึงการใช้แป้งฝุ่นหรือสารระงับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ

3. PYELONEPHRITIS

3.1. ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต

3.2. อาการ

3.2.1. มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

3.2.2. รู้สึกหนาวสั่น

3.2.3. เจ็บปวดบริเวณหลังหรือสีข้าง ปวดท้อง

3.2.4. คลื่นไส้ อาเจียน

3.2.5. ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ

3.2.6. ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ

3.2.7. หากเกิดการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ อาจมีหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ

3.3. สาเหตุ

3.3.1. มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E. Coli)

3.3.2. การอักเสบต่อเนื่องของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ

3.3.3. การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

3.3.4. บางกรณีเชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายเข้าสู่กรวยไตผ่านทางกระแสเลือดได้

3.4. การวินิจฉัย

3.4.1. การตรวจปัสสาวะ

3.4.1.1. เพื่อตรวจหนอง เลือด หรือเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนในปัสสาวะ หรืออาจตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ

3.4.2. การตรวจเลือด

3.4.2.1. ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ ในเลือด

3.4.3. การตรวจด้วยรังสีวิทยา

3.5. การรักษา

3.5.1. การรับประทานยาและดูแลอาการด้วยตนเองที่บ้าน

3.5.1.1. ารใช้ยาปฏิชีวนะเป็นพื้นฐานการรักษากรวยไตอักเสบโดยทั่วไป

3.5.1.2. อาจให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างหากไม่สามารถระบุชนิดของเชื้อแบคทีเรียได้ โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 10-14 วัน

3.5.2. การรักษาในโรงพยาบาล

3.5.2.1. ฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับการให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดลดไข้ ติดตามอาการโดยตรวจปัสสาวะและเลือดอย่างต่อเนื่อง

3.6. ภาวะแทรกซ้อน

3.6.1. กรวยไตอักเสบชนิดเฉียบพลันมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนหากได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง แต่อาจนำไปสู่การเกิดกรวยไตอักเสบชนิดเรื้อรังได้ ซึ่งอาจทำให้ไตเสียหายถาวร หรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด และแม้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

3.7. การป้องกัน

3.7.1. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อขับปัสสาวะที่มีเชื้อแบคทีเรียออกจากร่างกาย

3.7.2. ไม่กลั้นปัสสาวะ และปัสสาวะทันทีเมื่อรู้สึกปวด

3.7.3. ปัสสาวะทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์

3.7.4. ผู้หญิงควรเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศและทวารหนักจากด้านหน้าไปด้านหลัง

3.7.5. ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะในช่วงสัปดาห์ที่ 12-16 ของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและทารกในครรภ์ได้

4. NEPHROTIC SYNDROME

4.1. เป็นกลุ่มอาการโรคไตที่ทำให้ร่างกายขับโปรตีนออกทางปัสสาวะมาก โดยจะพบมากในเด็กอายุ 2-5 ปี และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

4.2. อาการ

4.2.1. มีอาการบวมบริเวณรอบดวงตา ท้อง แขน ขา ข้อเท้า และเท้า

4.2.2. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

4.2.3. ปัสสาวะเป็นฟอง

4.2.4. ปวดปัสสาวะน้อยมาก

4.2.5. อ่อนเพลีย

4.2.6. เบ่ื่ออาหาร

4.2.7. ท้องเสีย

4.3. สาเหตุ

4.3.1. กรวยไตเป็นแผล

4.3.2. การกรองไตผิดปกติ

4.3.3. เยื่อบุผิวภายในกรวยไตหนาตัวขึ้น

4.3.4. กลุ่มอาการอะมีลอยโดซิส (Amyloidosis)

4.3.5. โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง

4.3.6. โรคไตจากเบาหวาน

4.3.7. ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไต

4.3.8. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ และยาต้านการติดเชื้อ เป็นต้น

4.4. การวินิจฉัย

4.4.1. แพทย์มักเริ่มวินิจฉัยอาการ Nephrotic Syndrome ด้วยการสอบถามอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ตรวจประวัติการเจ็บป่วย ตรวจร่างกาย และตรวจปัสสาวะโดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจปริมาณของโปรตีนที่ปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ

4.4.2. หากวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น Nephrotic Syndrome แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อหาระดับโปรตีนในเลือดด้วย นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อไปส่งตรวจ เป็นต้น เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของไตต่อไป

4.5. การรักษา

4.5.1. ยาขับปัสสาวะ

4.5.2. ยากดภูมิคุ้มกัน

4.5.3. ยาลดคอเลสเตอรอล

4.5.4. ยาควบคุมความดันโลหิต

4.5.5. ยาเจือจางเลือด

4.6. ภาวะแทรกซ้อน

4.6.1. ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดอุดตัน ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง และอาจเกิดการติดเชื้อ

4.7. การป้องกันเนโฟรติก ซินโดรม

4.7.1. ควบคุมความดันโลหิตเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงจนเป็นอันตราย

4.7.2. ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน

4.7.3. รับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดไว้

4.7.4. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ

5. URINARY TRACT INFECTION

5.1. เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ

5.2. ปัจจัยเสี่ยง

5.2.1. มีท่อปัสสาวะที่ค่อนข้างสั้น

5.2.2. ในหญิงที่มีการเช็ดทำความสะอาดที่ไม่เหมาะสม

5.2.3. ในชายที่มีต่อมลูกหมากขนาดใหญ่ หรือ มีภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign Prostate Hyperplasia-BPH)

5.2.4. ปัสสาวะน้อย จากการที่ดื่มน้ำปริมาณน้อยเกินไป

5.2.5. เป็นนิ่วบริเวณกรวยไต หรือการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ

5.2.6. การมีเพศสัมพันธ์

5.2.7. การใช้ห่วงคุมกำเนิด หรือใช้สารทำลายเชื้ออสุจิในการคุมกำเนิด

5.2.8. วัยหมดประจำเดือน

5.2.9. การใช้สายสวนปัสสาวะในการขับปัสสาวะ

5.2.10. ได้รับการผ่าตัด

5.2.11. เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคอื่นที่ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง

5.3. ภาวะแทรกซ้อน

5.3.1. เกิดการติดเชื้อซ้ำ

5.3.2. เกิดความเสียหายต่อไตอย่างถาวร

5.3.3. หญิงตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย

5.3.4. ทำให้ท่อปัสสาวะในผู้ชายตีบแคบลง

5.3.5. อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)

5.4. การป้องกัน

5.4.1. ดื่มน้ำในปริมาณมากพอสมควร

5.4.2. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะที่นานเกินไป

5.4.3. ทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง หลังจากปัสสาวะ หรืออุจจาระ

5.4.4. รีบถ่ายปัสสาวะโดยเร็ว หลังจากการมีเพศสัมพันธ์

5.4.5. เลือกใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ แทนการใช้ห่วงคุมกำเนิด สารทำลายเชื้ออสุจิ หรือถุงยางอนามัยที่ไม่มีสารหล่อลื่น

5.4.6. การดื่มน้ำแครนเบอรี่

5.5. อาการ

5.5.1. ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ

5.5.2. อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

5.5.3. ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือเหม็น ผิดปกติ

5.5.4. อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด

5.5.5. ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน

5.6. วินิจฉัย

5.6.1. ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติเพศสัมพันธ์

5.6.2. การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก

5.6.3. การตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

5.7. การรักษา

5.7.1. การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยชนิด ขนาดยา (Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยา ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง

5.7.2. การรักษาสาเหตุ

5.7.3. การรักษาประคับประคองตามอาการ

6. ESRD

6.1. เป็นภาวะที่ไตลดการทำหน้าที่ไปเรื่อยๆ และไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติได้ เนื่องจากไตถูกทำลายอย่างถาวร อาจใช้เวลานานหลายปี

6.2. ระยะสุดท้ายของไตวายเรื้อรัง End-stage renal disease (ESRD)

6.3. สาเหตุ

6.3.1. เกิดจากความผิดปกติที่ไต เช่น มีอาการอักเสบที่ไต จากโรคต่างๆ เช่น SLE, Scleroderma, Polyarteritis nodosa เบาหวาน Hypertension นิ่วในไต และอาจเกิดจากการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเนื่องจากมีการอุดตันในหลอดปัสสาวะ (Urethral Obstruction)

6.4. อาการ

6.4.1. เหนื่อยง่าย น้ำหนักเพิ่ม บวมที่เท้า มือ และบริเวณก้นกบ ซีด อ่อนเพลีย

6.4.2. มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร

6.4.3. มีรอยจ้ำเลือดที่ผิวหนังได้ง่าย

6.4.4. หายใจเร็ว หายใจลำบาก ลมหายใจมีกลิ่นแอมโมเนีย มีอาการไอ เจ็บหน้าอกเวลาไอ

6.4.5. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสีย

6.4.6. เซื่องซึม สับสน ไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นตะคริว กระดูกหักง่าย ปวดข้อ คันตามผิวหนัง ผิวหนังคล้ำ แห้ง แตก

6.4.7. ในหญิงอาจมีประจำเดือนขาดหายไป ผู้ชายจะมีลูกอัณฑะเล็กลง

6.5. การวินิจฉัยโรค

6.5.1. ตรวจพบมีอาการบวม

6.5.2. ตรวจหาระดับครีอะตินินพบว่าสูง คำนวณค่าครีอะตินินเคลียรานซ์ (CCr) น้อยกว่า 10 มิลลิลิตรต่อนาที

6.5.3. ตรวจเลือดหาอิเล็กโทรไลต์ ตรวจหาจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) Uric acid, Blood urea nitrogen (BUN) สูง Sodium สูง Potassium สูง Calcium ต่ำ Phosphorus สูง Magnesium สูง CCr ต่ำ Uric Acid สูง

6.5.4. การถ่ายภาพรังสีพบว่าไตมีขนาดเล็กลง เจาะเนื้อไตเพื่อดูพยาธิสภาพ

6.6. การรักษา

6.6.1. จำกัดอาหารโปรตีน อาหารที่มีโปแตสเซียม จำกัดน้ำดื่ม การได้รับอาหารที่มีโปแตสเซียมที่มีคุณค่าสูง ยาลดความดันเลือด จำกัดเกลือ ให้ยาขับปัสสาวะ ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ เช่น Digoxin หรือทำ Hemodialysis, Continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD), Peritoneal dialysis หรืออาจต้องทำ Renal transplantation

6.7. การพยาบาล

6.7.1. ชั่งน้ำหนักทุกวัน ประเมินอาการบวม การหายใจ ดูแลเรื่องการจำกัดน้ำดื่ม อาหารเค็ม ดูแลให้ได้ยาขับปัสสาวะ ลดอาการคัน ผิวหนังแห้ง และผิวหนังบวม การทำ Dialysis ในชนิดต่างๆ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในช่องท้อง