ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ por Mind Map: ระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

1. ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing)

1.1.1. การใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมกัน

1.2. การแชร์ไฟล์

1.2.1. เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

1.3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)

1.4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ

1.5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

2. ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล

2.1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)

2.1.1. เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียวคือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว

2.2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex)

2.2.1. เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้

2.3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )

2.3.1. เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก

3. ลักษณะข้อมูลที่ใช้สื่อสารในคอมพิวเตอร์

3.1. ตัวอักษร (Text)

3.1.1. ใช้แทนตัวอักขระต่างๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่างๆ

3.2. ตัวเลข (Number)

3.2.1. ข้อมูลตัวเลขที่สื่อสารในคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขที่ผู้ใช้ป้อนหรือส่งเข้าในคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องแปลงเลขฐานสิบที่ป้อนเข้าไปให้เป็นชุดของเลขฐานสองที่เรียกว่ารหัสแอสกี

3.3. รูปภาพ (Images)

3.3.1. ข้อมูลรูปภาพที่สื่อสารในคอมพิวเตอร์จะใช้ชุดของบิตที่เป็นเลขฐานสองโดยเป็นชุดตาราง 2 มิติ ใช้อ้างอิงตำแหน่ง (Pixel) ซึ่งเป็นจุดเล็กๆที่เรียงกันประกอบเป็นรูปภาพ

3.4. เสียง (Audio)

3.4.1. ข้อมูลเสียงหรือดนตรีที่สื่อสารในคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง

3.4.2. เป็นสัญญาณแบบแอนะล็อกที่เป็นสัญญาณคลื่น

3.5. วิดีโอ (Video)

3.5.1. ข้อมูลวิดีโอเป็นข้อมูลรูปภาพหรือภาพยนตร์ที่มีความต่อเนื่องกันและประกอบด้วยข้อมูลเสียงควบคู่กันไป

4. ความหมายของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์

4.1.1. การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้

4.2. ระบบสื่อสารข้อมูล

4.2.1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปรกรณ์โดยผ่านสื่อหรือตัวกลาง จะมีการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งประสิทธิภาพของระบบจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ

4.2.1.1. ตรงเป้าหมาย

4.2.1.2. ความถูกต้อง

4.2.1.3. ความทันสมัย

4.2.1.4. ความคลาดเคลื่อน

5. องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5.1. ข่าวสาร (Message)

5.2. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)

5.3. สื่อหรือตัวกลาง (Media)

5.3.1. สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย

5.3.1.1. สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)

5.3.1.1.1. สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)

5.3.1.1.2. สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair :STP)

5.3.1.2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

5.3.1.2.1. เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน

5.3.1.3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable)

5.3.1.3.1. เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบของแสง

5.3.2. เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

5.4. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

5.5. กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)

6. ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

6.1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)

6.1.1. เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกันหรืออาคารที่ใกล้กัน

6.2. เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN)

6.2.1. เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน

6.3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

6.3.1. เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด

6.4. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

6.4.1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆเครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆทาง