HUMAN RELATION บทที่ 8 การวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร

Create a Competitive Analysis / SWOT to position your company in the market

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
HUMAN RELATION บทที่ 8 การวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร por Mind Map: HUMAN RELATION บทที่ 8 การวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร

1. แนวคิดเกี่ยวกับ TA

1.1. เป็นแนวคิดตามทฤษฎีที่มีพื้นฐานทางจิตวิเคราะห์ เน้นวิเคราะห์พฤติกรรมแสดงออกหรือไม่แสดงออกนั้นว่ามีสาเหตุมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กแล้วส่งผลมาในปัจจุบันโดยการแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของบุคลิกภาพของบุคคล วิธีการติดต่อสัมพันธ์การแสดงออกทางสังคมและบทบาทที่แสดงในชีวิต บุคคลหนึ่งๆจะมีบุคลิกภาพหลายๆแบบในบุคคลคนเดียวกันและในบางเวลาบุคลิกภาพใดบุคลิกภาพหนึ่งจะทำหน้าที่เด่นออกมาให้เห็นชัดเจนโดยมีแรงจูงใจบางอย่างแอบแฝงอยู่เพื่อควบคุมการแสดงออกนั้นอาจเป็นไปอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เป็นไปตามบทบาท

1.2. ทฤษฎี TA มีองค์ประกอบหลักที่จะนำมาพิจารณา ในการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1. สภาวะแห่งตน (Ego states) 2. ความเอาใจใส่ (Stroke) 3. การติดต่อสื่อสาร (Transactions) 4. จุดยืนแห่งชีวิต (Life Position) 5. บทแสดงหรือลิขิตชีวิต (Life Script)

2. องค์ประกอบทั้ง 5 ของทฤษฎี TA

2.1. สภาวะแห่งตน (Ego States)

2.1.1. 1. สภาวะความเป็นพ่อแม่ ( Parent Ego State : P )

2.1.1.1. สภาวะความเป็นพ่อแม่เมตตา (Nurturing Parent : NP)

2.1.1.2. สภาวะความเป็นพ่อแม่ติเตียน (Critical Parent : CP)

2.1.2. 2. สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ ( Adult Ego State : A )

2.1.3. 3. สภาวะความเป็นเด็ก ( Child Ego State : C )

2.1.3.1. สภาวะความเป็นเด็กตามธรรมชาิติ (Natural Child : NC)

2.1.3.2. สภาวะความเป็นเด็กสร้างสรรค์ (Little Professor : LP)

2.1.3.3. สภาวะความเป็นเด็กปรับตัว (Adapted Child : AC)

2.2. ความเอาใจใส่ (Stoke)

2.2.1. ความเอาใจใส่ทางบวก (Positive Stroke)

2.2.1.1. หมายถึง การแสดงออกด้วยคำพูดหรือกิริยาท่าทางที่มีผลทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกมีความสุข

2.2.2. ความเอาใจใส่ทางลบ (Negative Stroke)

2.2.2.1. หมายถึง การกระทำเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นด้วยการสร้างปัญหาขึ้นมา โดยกระทำในสื่งที่ผู้อื่นไม่ยอมรับเพราะทำแล้วจะได้รับความสนใจจากบุคคลที่เขาต้องการให้สนใจด้วยการติเตียน

2.3. การติดต่ีอสื่อสาร (Transactional)

2.3.1. การติดต่อสื่อสารแบบคล้อยตาม (Complementary Transactions)

2.3.2. การติดต่อสื่อสารแบบขัดแย้ง (Crossed Transactions)

2.3.3. การติดต่อสื่อสารแบบซ่อนเร้น (Ulterior Transactions)

2.3.3.1. การติดต่อสื่อสารแบบซ่อนเร้นทางเดียว (Mono Transaction)

2.3.3.2. การติดต่อสื่อสารแบบซ่อนเร้นสองทาง (Duplex Transaction)

2.4. จุดยืนแห่งชีวิต (Life Position)

2.4.1. 1. ฉันดี - คุณดี ( I'm OK - You're OK)

2.4.1.1. จุดยืนชีวิตแห่งผู้ชนะ (Winner)

2.4.2. 2. ฉันดี - คุณด้อย ( I'm OK - You're not OK)

2.4.2.1. จุดยืนชีวิตของผู้ขจัด (Sulk)

2.4.3. 3. ฉันด้อย - คุณดี ( I'm not OK - You're OK)

2.4.3.1. จุดยืนชีวิตของผู้หลีกหนี (Jerk)

2.4.4. 4. ฉันด้อย - คุณด้อย ( I'm not OK - You're not OK)

2.4.4.1. จุดยืนชีวิตของผู้แพ้ (Loser)

2.5. บทบาทชีวิต (Life Script)

2.5.1. หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของบุคคล คล้ายกับบทละครแต่เป็นแบบแผนเชิงจิตวิทยา (Psychological Script) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นถ้าบุคคได้รับความรักความเอาใจใส่ทางบวกเขาก็จะมีจุดยืนชีวิตแบบ I'm OK - You're OK เป็นผู้ชนะ แต่ทางตรงกันข้าม ถ้าเขาได้รับความเอาใจใส่ทางลบ เขาปรับตัวไม่ได้กจะมีจุดยืนที่เป็นผู้แพ้ I'm not OK - You're OK แต่อย่างไรก็ตามการเล่นบทบาทผู้แพ้นี้สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ชนะได้โดยการตั้งแบบแผนของชีวิตใหม่ ด้วยการเรียนรู้ตัวเองและสร้างพฤติกรรมขึ้นใหม่ ให้เป็นที่ยอมรับทั้งตัวเองและสังคม โดยพัฒนาจากความเป็นผู้ชนะของ James and Jongeward ก็จะกลายเป็นผู้ชนะได้และมีความสุขตลอดไป จงคล้องอดีตของตนเดินไปกับปัจจุบันด้วยเหตุผลและความเข้าใจ มองอดีตให้กระจ่างใส อดีตไม่หวนคืนมาไม่ว่าจะใช้เครื่องมือวิเศษใดๆ แต่อดีตก็ไม่หายไปไหน แค่เพียงอยู่ในความทรงจำของเรา อดีตไม่ทำร้ายเราเลย ถ้านำมาใช้ให้เป็นและเห็นให้ทั่ว อย่าเห็นแค่อารมณ์ อย่ามัวแต่เข้าข้างตนเอง แต่ควรมองเข้าไปในความเป็นจริง คิดถึงอดีตอย่างไตร่ตรอง มองปัจจุบันด้วยความแน่วแน่ พร้อมที่จะแก้ไขเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไม่ประมาท มองชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ทุกวัน เวลาและนาที เราจะเป็นผู้ชนะที่แท้จริง

2.5.2. เบิร์น (Berne , 1976 : 168) ได้ฝากข้อคิดไว้กับผู้ศึกษา TA ว่าจุดหมายปลายทางของการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสารก็คือการได้วิเคราะห์บทบาทชีวิตของบุคคลที่ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว เปรียบเสมือนโชคชะตาที่บุคคลต้องเดินไปตามนั้น และเปรียบได้กับการเป็นตัวบ่งชี้หนทางข้างหน้าของบุคคล ดังนั้นถ้ามีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสมเป็นต้นเหตุแห่งการดำเนินชีวิต

3. ความหมายของ TA

3.1. การวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร (Transactional Analysis) หรือใช้ตัวย่อว่า TA หมายถึง การวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคล ซึ่งความพันธ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงกลุ่มใหญ่

3.2. Eric Berne กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของ TA ว่าเป็นการสร้างการสื่อความหมายที่เปิดเผยและจริงใจให้มากที่สุด โดยใช้ส่วนประกอบทางอารมณ์และสติปัญญาควบคู่กันไปจะเป็นผลให้การสื่อความหมายนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์

4. ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา TA

4.1. ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของตนเอง

4.1.1. เพราะ TAเป็นวิธีการทางเหตุผลที่สังเกตุได้จาก คำพูด น้ำเสียง การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง สายตา

4.2. ช่วยให้ติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.2.1. เพราะ TA ได้แนวคิดมาจากทฤษฏีจิตวิเคราะห์ เพราะการรู้ถึงอดีตและนิสัยจะทำให้เข้าใจผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

4.3. ช่วยให้พฤติกรรมของบุคคลปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น

4.3.1. เพราะ TA เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ในการตรวจสอบพฤติกรรมระหว่างบุคคลที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน

4.4. ช่วยในการแก้ปัญหา

4.4.1. เพราะ TA มีเทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นความคิดทางพฤติกรรม

4.5. ช่วยให้ทีมงานมีประสิทธิภาพ

4.5.1. เพราะ TA เป็นทฤษฎีแห่งบุคคล คือการเริ่มต้นมองและศึกษาพฤติกรรมของตนเองก่อนแล้วพยายามแก้ไขปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับ

4.6. ง่ายที่จะศึกษาและทำความเข้าใจ

4.6.1. เพราะ TA เป็นเรื่องของพฤติกรรมตามธรรมชาติที่มนุษย์พึงมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการแสดงออกทางพฤติกรรมที่สังเกตได้