เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

Comienza Ya. Es Gratis
ó regístrate con tu dirección de correo electrónico
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ por Mind Map: เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

1. การค้าระหว่างประเทศ

1.1. สาเหตุ

1.1.1. 1. ความแตกต่างทางด้านกายภาพ โดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติ

1.2. ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ

1.2.1. 1. ประเทศผู้นำเข้าได้สินค้าที่ผลิต ได้มาสนองความต้องการในราคาที่ถูกและคุณภาพดี

1.2.2. 2. ประเทศผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดสินค้าของตนให้กว้างมากขึ้น และมีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น

1.3. ดุลการค้าระหว่างประเทศ

1.3.1. 1. ดุลการค้าระหว่างประเทศ คือ การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค้าสินค้าเข้าในระยะเวลา 1 ปี

1.3.2. 2. ดุลการค้าแบ่งได้ออก 3 ลักษณะ

1.3.2.1. ดุลการค้าสมดุล คือ มูลค่าสินค้าออกเท่ากับมูลค่าสินค้าเข้า

1.3.2.2. ดุลการค้าขาดดุล คือ มูลค่าสินค้าออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้าเข้า

1.3.2.3. ดุลการค้าเกินดุล คือ มูลค่าสินค้าออกมากกว่ามูลค่าสินค้าเข้า

1.4. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ

1.4.1. นโยบายการค้าเสรีมีลักษณะสำคัญคือส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศกระทำกันได้อย่างเสรีโดยรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมาก

1.4.1.1. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำคือเลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ประเทศมีความชำนาญในการผลิต

1.4.1.2. ไม่มีการเก็บภาษีเพื่อคุ้มกัน แต่เก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ

1.4.1.3. ไม่มีการให้สิทธิพิเศษหรือไม่มีข้อ จำกัด ทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ

1.4.2. นโยบายการค้าคุ้มกันมีลักษณะสำคัญคือรัฐบาลใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อกีดกันการนำสินค้าเข้าออก

1.4.2.1. กำแพงภาษีคือเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง

1.4.2.2. การควบคุมปริมาณสินค้าเข้าและออก

1.4.2.3. การให้ความอุดหนุนเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศและส่งเสริมสินค้าออกเช่นยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าออก

2. การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2.1. อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2.1.1. ความสำคัญของการแลกเปลี่ยนอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีผลต่อสินค้าเข้า สินค้าออกและดุลการค้า

2.1.2. ถ้ามีการลดค่าเงินของประเทศ

2.1.2.1. ราคาสินค้าออกจะถูกลงในสายตาคนต่างชาติ ทำให้สินค้าออกมีปริมาณเพิ่มขึ้น

2.1.2.2. ราคาสินค้าเข้าจะแพงขึ้นในสายตาคนในประเทศทำให้สินค้าเข้ามีปริมาณลดลง

2.2. ถ้ามีการเพิ่มค่าเงินของประเทศ

2.2.1. ราคาสินค้าออกจะแพงขึ้นในสายตาคนต่างชาติ ทำให้สินค้าออกมีปริมาณลดลง

2.2.2. ราคาสินค้าเข้าจะถูกลงในสายตาคนในประเทศ ทำให้สินค้าเข้ามีปริมาณเพิ่มขึ้น

3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยน

3.1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ : รัฐกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ระดับคงที่เป็นเวลานาน

3.2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกับเงินสกุลอื่น ๆ : รัฐกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ แต่เปิดโอกาสให้ปรับอัตราแบบค่อยเป็นไปได้บ้างในกรณีที่ขาดดุลการชำระเงินมาก

3.3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนกึ่งลอยตัว: รัฐจะเข้าไปซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อปรับอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการได้บ้าง

3.4. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรีหรือลอยตัว: รัฐจะปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอย่างเสรีโดยไม่เข้าไปแทรกแซง

3.5. ระบบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา : รัฐเข้าแทรกแซงโดยควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินจากต่างประเทศ

4. ส่วนประกอบของดุลการชำระเงิน

4.1. บัญชีเดินสะพัดประกอบด้วยบัญชีดุลการค้าบัญชีดุลบริการและบัญชีดุลบริจาค (ดุลเงินโอน)

4.1.1. ดุลการค้า: แสดงมูลค่าสินค้าออกและสินค้าเข้า

4.1.2. ดุลบริการ : แสดงมูลค่าบริการระหว่างประเทศ

4.1.3. ดุลบริจาค: (ดุลเงินโอน) แสดงการรับและให้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

4.2. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย: รายการลงทุนหรือกู้เงินข้ามชาติ

4.3. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ : เป็นยอดสรุปของดุลการชำระเงิน

5. การแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล

5.1. การเพิ่มรายได้

5.1.1. ชักจูงให้ชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาเที่ยวหรือลงทุนมากขึ้น

5.2. การลดรายจ่าย

5.2.1. ส่งเสริมให้ประชาชนประหยัด

5.2.2. ลดการสั่งสินค้าเข้าโดยใช้มาตรการต่างๆ เช่นตั้งกำแพงภาษี

5.3. อื่น ๆ

5.3.1. ลดค่าเงินประเทศของตน

5.3.2. กู้ยืมจากต่างประเทศ

6. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

6.1. เขตการค้าเสรี

6.1.1. ประเทศสมาชิกยอมเลิกภาษีศุลกากรและข้อจำกัดการค้าให้แก่กัน

6.1.2. ไม่ออกที่ออกประเทศได้เป็นสมาชิกยังคงพบกับภาษีศุลกากรและข้อจำกัด ทางการค้า (ซึ่งประเทศสมาชิกแต่ละประเทศกำหนดกันเอง)

6.2. สหภาพศุลกากร

6.2.1. ประเทศสมาชิกยอมเลิกภาษีศุลกากรและข้อ จำกัด ทางการค้าแก่กัน

6.2.2. ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกยังต้องพบกับภาษีศุลกากรและข้อ จำกัด ทางการค้าซึ่งประเทศสมาชิกจะร่วมกันกำหนดเป็นอัตราเดียวกัน

6.3. ตลาดร่วม

6.3.1. เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการและปัจจัยการผลิตเข้าออกระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี

6.3.1.1. ประชาคมยุโรป (EC)

6.4. สหภาพเศรษฐกิจ

6.4.1. เหมือนกับตลาดร่วมนอกจากนี้ประเทศสมาชิกยังร่วมกันกำหนดนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม

6.4.1.1. สหภาพยุโรป (EU)

6.5. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างเศรษฐกิจ

6.5.1. นอกจากเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรีและกำหนดนโยบายเศรษฐกิจร่วมกันแล้วยังใช้เงินอัตราสกุลเดียวกันด้วย

6.5.2. มีสถาบันสูงสุดซึ่งทำหน้าที่สูงกว่าสถาบันระดับประเทศ (รัฐสภากลาง) การรวมกลุ่มแบบนี้จึงเป็น “ การรวมกลุ่มทางการเมืองอย่างสมบูรณ์”

7. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั่วไป

7.1. ธนาคารโลก (World Bank)

7.1.1. ธนาคารโลกมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาทางด้านการเงินและวิทยาการโดยผ่านสถาบันในเครือเช่นไอด้าไอเอฟซี

7.1.2. ด้านการเงิน: ธนาคารโลกจะทำให้เงินกู้ระยะยาวที่มีดอกเบี้ยเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนานำไปใช้พัฒนาเศรษฐกิจ

7.1.3. ด้านวิทยาการ: ธนาคารโลกมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศลูกหนี้

7.1.3.1. เสนอให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

7.1.3.2. เสนอแนวนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

8. ปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา

8.1. สินค้าออกเป็นสินค้าเกษตรและวัตถุดิบที่มีราคาต่ำสินค้าเข้าเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีราคาสูงทำให้ขาดดุลการค้าอย่างมาก

8.2. สินค้าออกเป็นสินค้าเกษตรที่ขึ้นกับฤดูกาลทำให้ได้ผลผลิตน้อยและบางครั้งก็ได้ผลผลิตมากจนราคาตก

8.3. สินค้าเกษตรถูกกีดกันจากประเทศพัฒนาแล้ว

8.3.1. เช่น สหรัฐฯออกกฎหมายพระราชบัญญัติฟาร์ม (ให้เงินอุดหนุนสินค้าเกษตรของตนให้ราคาต่ำกว่าตลาดโลก)

8.4. องค์การระหว่างประเทศมีนโยบายที่เป็นผลดีต่อประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าประเทศยากจน