ปรัชญาการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาของไทย

登録は簡単!. 無料です
または 登録 あなたのEメールアドレスで登録
ปรัชญาการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาของไทย により Mind Map: ปรัชญาการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาของไทย

1. ปรัชญาการศึกษากลุ่มพุทธปรัชญาการศึกษา (BuddhismPhilosophy of Education)

1.1. หลักสำคัญ

1.1.1. ยึดหลักไตรสิกขา 3 ประการ

1.1.1.1. กาย

1.1.1.2. จิต

1.1.1.3. ปัญญา

1.2. จุดมุ่งหมาย

1.2.1. เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณธรรมปราศจากการเห็นแก่ตัว รู้จักตัวเอง รู้จักแก้ปัญหาในชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

1.3. หลักสูตร

1.3.1. เน้นการฝึกฝนทางด้านจิตใจและคุณธรรมของผู้เรียน

1.4. ผู้เรียน

1.4.1. พหูสูต

1.4.1.1. พหุสสตา (ฟังมาก)

1.4.1.2. ธตา (จำได้)

1.4.1.3. วาจา ปริจิตา (ท่องให้คล่องปาก)

1.4.1.4. มนสานุเปกขิตา (เพ่งให้ขึ้นใจ)

1.4.1.5. ทิฎฐิยา สปุฎิวิทยา (เข้าใจลึกซึ้ง)

1.4.2. อิทธิบาท 4

1.4.2.1. ฉันทะ

1.4.2.2. วิริยะ

1.4.2.3. จิตตะ

1.4.2.4. วิมังสา

1.5. ผู้สอน

1.5.1. มีความอดทนใจเย็น

1.5.2. มีความยุติธรรม

1.5.3. มีความน่าเคารพบูชา และเป็นแบบอย่างที่ดี

1.5.4. รู้จักระดับสติปัญญาของผู้เรียน

2. ปรัชญาบูรณาการหรือปฏิรูปนิยม (Recontructionism)

2.1. จุดมุ่งหมาย

2.1.1. การศึกษาจะต้องช่วยแก้ปัญหาที่เป็นอยู่

2.1.2. การศึกษามุ่งสร้างระเบียบสังคมแบบประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่

2.1.3. การศึกษาจะต้องให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสังคมควบคู่กับตนเอง

2.2. หลักสูตร

2.2.1. เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนจะต้องเข้าใจสภาพของสังคม และมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาของสังคมปัจจุบัน

2.3. วิธีการเรียนการสอน

2.3.1. ควรให้ผู้เรียนเห็นแนวทางในการประยุกต์ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ เน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือทำเอง

2.4. ผู้เรียน

2.4.1. ได้รับการปลูกฝังในการตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่มีต่อสังคม

2.5. ผู้สอน

2.5.1. ผู้สอนจะต้องเป็นนักบุกเบิก และสนใจในเรื่องของสังคมและแก้ปัญหาสังคม

3. ปรัชญาสวภาพนิยมหรืออัตถิภาวนิยม (Existentialism)

3.1. หลักสำคัญ

3.1.1. เชื่อว่าธรรมชาติของคนหรือสภาพแวดล้อมสังคม ล้วนเป็นสิ่งไม่ตายตัว ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองได้

3.2. จุดมุ่งหมาย

3.2.1. มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักคิดและใช้เสรีภาพในการตัดสินใจในการเลือกทำสิ่งต่างๆ โดยไม่โยนความผิดไปให้ใคร

3.3. หลักสูตร

3.3.1. ไม่มีวิชาใดสำคัญกว่าวิชาใด ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ถ้าผู้เรียนเห็นว่าวิชาใดช่วยให้รู้จักตัวเองมากขึ้น วิชานั้นย่อมเหมาะสมกับตัวเรา

3.4. วิธีการเรียนการสอน

3.4.1. ใช้วิธีเสนอแนะมากกว่าการถ่ายทอด การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนต้องการเรียนเท่านั้น

3.5. ผู้เรียน

3.5.1. เป็นผู้เลือกสิ่งที่ต้องการจะเรียนด้วยตนเอง

3.6. ผู้สอน

3.6.1. ผู้เรียนสำคัญที่สุด จะต้องให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่

4. ๑ ปรัชญาสัจวิทยานิยม หรือ นิรันตรนิยม (Perennialism)

4.1. หลักสำคัญ

4.1.1. เน้นเรื่องเหตุผล และสติปัญญา

4.2. จุดมุ่ง หมาย

4.2.1. มุ่งให้ผู้เรียนตระหนักถึงสิ่งที่เป็นความจริงในอดีต เพื่อปลูกฝังความเชื่อแก่ผู้เรียน

4.3. หลักสูตร

4.3.1. มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ

4.4. วิธีการสอน

4.4.1. เน้นให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ความคิด สติปัญญา และให้ความสำคัญต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.5. ผู้สอน

4.5.1. ต้องเป็นผู้รู้ ผู้นำทางสติปัญญาแก่ผู้เรียนและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

4.6. ผู้เรียน

4.6.1. ต้องฝึกฝนคุณสมบัติที่มีอยู่ โดยได้รับคำสั่งสอน และคำแนะนำจากผู้สอน

5. ปรัชญาสารนิยม หรือสารัตถนิยม (Essentialism)

5.1. หลักสำคัญ

5.1.1. เน้นเนื้อหาสาระหรือแก่นสาร

5.1.1.1. การอนุรักษ์วัฒนธรรม

5.1.1.2. ความเชื่อที่สังคมต้องการ

5.2. จุดมุ่งหมาย

5.2.1. มุ่งถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

5.2.2. มุ่งพัฒนาสติปัญญา

5.2.3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยมีความขยันหมั่นเพียร

5.2.4. ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาวิชาได้ทั้งหมด

5.2.5. สามารถนำไปแสวงหาความรู้ใหม่ๆได้ในชีวิตประจำวัน

5.3. หลักสูตร

5.3.1. เน้นเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดไว้แน่นอนตายตัว

5.4. วิธีการเรียนการสอน

5.4.1. ขึ้นอยู่กับผู้สอนเป็นสำคัญ

5.5. ผู้เรียน

5.5.1. มีหน้าที่ทำตามคำสั่งของผู้สอน

5.6. ผู้สอน

5.6.1. เป็นผู้ควบคุมชั้นเรียนทั้งหมด

6. ปรัชญาวิวัฒนาการนิยมหรือพิพัฒนาการนิยม (Progressivism)

6.1. หลักสำคัญ

6.1.1. John Dewey กล่าว “การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต”

6.1.2. การเรียนรู้ต้องสัมพันธ์โดยตรงกับความสนใจของผู้เรียน

6.1.3. ส่งเสริมความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน

6.2. จุดมุ่งหมาย

6.2.1. เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติรู้จักคิด แก้ปัญหา หาคำตอบด้วยตนเองสามารถนำไปต่อยอดได้

6.2.2. ในเนื้อหาที่เรียนต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน สามารถนำไปใช้ได้จริง

6.2.3. ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในและนอกห้องเรียน

6.3. หลักสูตร

6.3.1. เป็นหลักสูตรที่ให้ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน เสริมสร้างประสบการณ์กับสังคม เนื้อหาจะไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า

6.4. วิธีการเรียนการสอน

6.4.1. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

6.4.2. เรียนโดยการแก้ปัญหา นำกระบวนการทางวิทยาศาตร์มาใช้ เน้นการสาธิต ค้นคว้าทดลอง

6.4.3. ส่งเสริมความร่วมมือกันในการเรียนการสอน

6.5. ผู้เรียน

6.5.1. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นอย่างมาก การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing)

6.6. ผู้สอน

6.6.1. กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจด้วยตนเองและเป็นที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนได้