登録は簡単!. 無料です
または 登録 あなたのEメールアドレスで登録
ทฤษฎีพัฒนาการ により Mind Map: ทฤษฎีพัฒนาการ

1. ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพและจริยธรรม

1.1. ลำดับชั้นการพัฒนาบุคลิกภาพของอีริคสัน

1.1.1. พัฒนาการเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคม โดยอีริคสันให้แนวคิดว่า"พัฒนาการทางบุคลิกภาพมีตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา โดยแบ่งเป็นระยะโดยแบ่งเป็นระยะๆ"และเน้นวิกฤตการณ์ในระยะวัยรุ่น

1.1.1.1. เด็กวัยประถมศึกษาจะอยู่ในช่วงอุตสาหะกับปมด้อย อายุ 6-12 ปี ช่

1.1.1.1.1. สิ่งแวดล้อมสำคัญคือ เพื่อน เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ พยายามทำกิจกรรมด้วยตนเอง ต้องการเป็นที่ยอมรับ หากได้รับการสนับสนุนเด็ฏจะมีความเพียรแสวงหาสิ่งที่ท้าทาย หากตรงกันข้าม เด็กจะอายและเกิดความไม่วางใจ

1.2. ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซลล์

1.2.1. เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบโดยไม่ได้เกี่ยวโยงกับสิ่งเร้าภายนอกเลยการเรียนรู้จะไม่เกิดหากร่างกายไม่มีความพร้อมวุฒิภาวะเป็นปัจจัยเพียงประการเดียวที่มีส่วนรับผิดชอบในการเจริญเติบโตและพฤติกรรมต่างๆ

1.2.2. ทฤษฎีพัฒนาการ

1.2.2.1. ทิศทางของพัฒนาการ เป็นการเคลื่นไหวของอวัยวะอย่างมีระเบียบ

1.2.2.2. การพัฒนาตามแนวนอน คือ ส่วนประกอบของร่างกายเริ่มเคลื่อนไหวจากบนลงล่าง จากศีรษะลงมาด้านล่างของร่างกาย การพัฒนาตามแนวขวาง คือ ความเจริญของร่างกายพัฒนาจากกลางลำตัวออกไปสู่ด้างข้าง แขน ขา ไปสู่มือและนิ้ว

1.2.2.3. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กัน ขณะที่พฤติกรรมหนึ่งเจริญอยู่ อีกอย่างหนึ่งจะหยุดชะงัก

1.2.2.4. พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน

1.2.2.5. การพัฒนาต่างๆล้วนเป็นผลจากวุฒิภาวะ

1.2.3. พฤติกรรมของเด็ก

1.2.3.1. พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว

1.2.3.1.1. การทรงตัว การนั่ง ยืน คลาน เดิน

1.2.3.2. พฤติกรรมทางการปรับตัว

1.2.3.2.1. ความเชื่อมโยงการใช้มือและสายตาในการถือวัตถุ

1.2.3.3. พฤติกรรมทางด้านภาษา

1.2.3.3.1. การติดต่อสื่อสาร แสดงออกทางใบหน้าและใช้อวัยวะต่างๆ

1.2.3.4. พฤติกรรมทางสังคม-ตัวบุคคล

1.2.3.4.1. การตอบสนองของเด็กต่อบุคลลอื่น

1.3. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคเบอร์ก

1.3.1. ระดับเริ่มมีจริยธรรม อายู 2-10 ปี

1.3.1.1. ขั้นที่หนึ่ง อายุ 2-7 ปี

1.3.1.2. ขั้นที่สอง อายุ 7-10 ปี เป็นช่วงวัยประถมศึกษา

1.3.1.2.1. แสวงหารางวัล เลือกทำในสิ่งที่นำความพอใจมาให้ตนเท่านั้น

1.4. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

1.4.1. เด็กวัยประถมศึกษาจะอยู่ใน ขั้นแฝง เด็กวัยนี้อยู่ระหว่างอายุ 6-12 ปี เป็นระยะที่ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กเก็บกดความต้องการทางเพศหรือความต้องการทางเพศลดลง (เด็กชายมักเล่นหรือจับกลุ่มกับเด็กชาย ส่วนเด็กหญิงก็จะเล่นหรือจับกลุ่มกับเด็กหญิง

2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

2.1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

2.1.1. เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามพัฒนา

2.1.1.1. ขั้นการคิดแบบเหตุผลเชิงรูปธรรม ( Concreat Operational Stage) อายุประมาณ 7-11 ช่วงวัยประถมศึกษา

2.1.1.1.1. เด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหา เป็นรูปธรรม เข้าใจเรื่องความคงตัว ลักษณะเด่นคือ สามารถคิดแบบย้อนกลับได้ สนทนากับบุคคลอื่นได้และเข้าใจความคิดของบุคคลอื่นได้

2.2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้

2.2.1. การเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการมี 2 ระดับ

2.2.1.1. 1.ภาษาในตนเอง เด็กจะต้องพัฒนาภาษาในใจ ซึ่งเป็นการช่วยให้พัฒนาการทางสติปัญญาพัฒนาสูงขึ้นตามระดับอายุ การพัฒนาภาษาภายในตนเองเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 7 ปีเป็นช่วงวัยประถมศึกษา เมื่อเด็กพบปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้น เขาเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาไปตามขั้นตอนโดยใช้ภาษาภายในตนเอง

2.2.1.2. 2.เด็กมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กับพ่อแม่ ครู และคนอื่นๆ ที่ให้ความเอาใจใส่ ดูแล ช่วยเหลือแก่เด็ก จะช่วยทำให้เด็กได้สร้างและเด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

2.3. ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์

2.3.1. เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และหาความรู้ด้วยตัวเอง พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิด โดยแบ่งเป็น3ขั้น

2.3.1.1. เรียนรู้จากการกระทำ

2.3.1.2. เรียนรู้จากความคิด

2.3.1.3. เรียนรู้จากสัญลักษณ์และนามธรรม อายุ7-8 ปี ช่วงนี้เป็นวัยประถมศึกษา ขั้นนี้สามารถเรียนรู็และเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างมีเหตุผล