
1. เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
1.1. เพลงเขมรไทรโยค
2. พระราชประวัติ
2.1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระโอรสลำดับที่ 62 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงพรรณรายและทรงเป็นต้นราชสกุล “จิตรพงศ์” ประสูติ เมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนารถโดยมีพระราชหัตถเลขา ดังนี้ "สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรชายที่ประสูติจากหญิงแฉ่พรรณรายผู้มารดา ในวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนเบญศกนั้นว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ สิงหนาม ขอจงมีความเจริญชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ ศุภสารสมบัติ สุวรรณหิรัญรัตนยศบริวารศฤงคารศักดานุภาพ ตระบะเดชพิเศษคุณสุนทรศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลพิบุลยผลทุกประการ เทอญ" เมื่อครั้งที่สมเด็จพระราชบิดาสวรรคต มีพระชันษาแค่ 5 ปี แต่ทรงจำถึงตอนหนึ่งว่า "สมเด็จพระราชบิดาทรงประทับนั่งที่เก้าอีที่หมุนได้ ทรงฉลองพระองค์สีแดงสด"
3. ราชกรณียกิจ
3.1. ด้านราชการ
3.1.1. ทรงเป็นเสนาบดีหลายกระทรวงทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง
3.1.2. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร และพระองค์ยังได้รับการแต่งให้ให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการพระราชวงศ์
3.1.3. ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3.2. ด้านสถาปัตยกรรม
3.2.1. งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า "เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น"
3.3. ด้านศิลปกรรม
3.3.1. งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า "ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย"
3.3.2. การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442
3.3.3. การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121(พ.ศ. 2445)หรือ ร.ศ. 121
3.4. ด้านภาพจิตรกรรม
3.4.1. ภาพเขียน
3.4.1.1. ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)
3.4.1.2. ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม
3.4.1.3. ภาพแบบพัดต่างๆ
3.4.2. งานออกแบบ
3.4.2.1. ออกแบบตรากระทรวงต่างๆ
3.4.2.2. อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1
3.4.2.3. พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า
3.4.2.4. ทรงออกแบบพระเมรุมาศ
3.5. ด้านวรรณกรรม
3.5.1. โคลงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร
3.5.2. โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงพระนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี
3.5.3. ลายพระหัตถ์โต้ตอบประทานบุคคลต่างๆ
3.6. ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์
3.6.1. ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นทรงฝึกฝนมาแต่พระเยาว์ ทรงถนัดเล่นปี่พาทย์และระนาดมากกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆ
3.7. เพลงพระราชนิพนธ์
3.7.1. เพลงสรรเสริญพระบารมี (คำร้อง)
3.7.2. เพลงเขมรไทรโยค
3.8. ด้านบทละคร
3.8.1. สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป
3.8.2. คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบตัว และตอนหึง
3.8.3. อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอนบวงสรวง
3.8.4. รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา