การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

登録は簡単!. 無料です
または 登録 あなたのEメールアドレスで登録
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ により Mind Map: การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

1. ความหมายของรายงานเชิงวิชาการ

1.1. รายงานทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการสำรวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้นใหม่ ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสารอ้างอิงประกอบ

2. ส่วนประกอบของรายงานเชิงวิชาการ

2.1. ๑. ส่วนนำ

2.1.1. ๑.๑ ปกนอก คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้า และปกหลังกระดาษใช้เป็นปกควรเป็น

2.1.2. ๑.๒ ใบรองปก คือ กระดาษเปล่า ๑ แผ่น อยู่ต่อจากปกนอก เพื่อความสวยงาม และเป็็นเครื่องช่วยป้องกัน ไม่ให้เสียหายถึงปกใน หากปกฉีกขาดเสียหายไป

2.1.3. ๑.๓ ปกใน คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากปกนอก นิยมเขียนเหมือนปกนอก

2.1.4. ๑.๔ คำนำ คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียนรายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขตของรายงาน อาจรวมถึงปัญหา อุปสรรคในการศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน

2.1.5. ๑.๕ สารบัญ คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าคำนำ ในหน้าสารบัญจะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน ทำให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ขอบเขตเนื้อหาของรายงานครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ในหน้านี้ให้เขียนคำว่า สารบัญไว้กลางหน้า ข้อความในหน้าสารบัญจะเริ่มต้นจากคำนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย

2.2. ๒. ส่วนเนื้อเรื่อง

2.2.1. เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน ผลงานการศึกษาค้นคว้า จะนำมาเสนอตามโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ โดยก่อนเริ่มต้น ควรมีการเกริ่นเรื่อง และจบเนื้อเรื่องด้วยบทสรุป เนื้อหาที่เขียนนั้นจะต้องเขียนอย่างมีหลัดเกณฑ์ หรือ อ้างอิงหลักวิชา แสดงความคิดที่เฉียบแหลมและลึกซึ้ง

2.3. ๓.ส่วนท้าย

2.3.1. ๓.๑ บรรณานุกรม (Bibiogecphy) หมายถึง รายชื่อเอกสารต่างที่ใช้ประกอบในการทำรายงาน โดยให้รายละเอียดต่างๆ เช่นเดียวกับเชิงอรรถ แต่มีวิธีเขียนที่แตกต่างกันเล็กน้อย บรรณานุกรมนี้จะเขียนไว้ท้ายเล่ม โดยแยกตามประเภทของเอกสารดังต่อไปนี้

2.3.1.1. ๓.๑.๑ หนังสือ (และบทความในหนังสือ)

2.3.1.2. ๓.๑.๒ บทความ (บทความในวารสาร, หนังสือ, สารานุกรม)

2.3.1.3. ๓.๑.๓ เอกสารอื่นๆ (วิทยานิพนธ์, จุลสาร, หนังสืออัดสำเนาต่างๆ )

2.3.1.4. ๓.๑.๔ บทสัมภาษณ์