โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ by Mind Map: โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ความหมาย

1.1. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ ทักษาะ ความชำนาญ และเครื่องมือต่างๆ ในการแก้ปัญหาหรือจัดการสารสนเทศ ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล รวมไปถึงการนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผูัใช้เกิดความประโยชน์และสะดวกสบาย การนำเทศโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะช่วยส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมมีความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า โครงงาน คือ ภาระงาน ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระที่ผู้ทำโครงงานเลือกศึกษาหรือดำเนินการตามความสนใจ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ทักษาะและประสบการณ์ของตนเอง โดยนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ เข้ามาใช้เพื่อหาคำตอบ หรือแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ ซึ่งผู้ทำโครงงานจะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อให้กรดำเนินการมีระบบระเบียบเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้วางไว้

2. ขั้นตอนการทำงาน

2.1. 1. การกำหนดปัญหา

2.1.1. หัวข้อโครงงานที่จะเลือกทำนั้นส่วนใหญ่มาจากความต้องการ หรือความสนใจในการเลือกปัญหาและแก้ไขปัญหาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หรืออื่นๆ

2.2. 2.กำหนดรายละเอียดของโครงงาน

2.2.1. เมื่อเราได้หัวข้อของโครงงานมาแล้ว หลังจากนั้นต้องค้นหาความรู้ที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลควรมาจากแหล่งที่หลายหลาย

2.3. 3.การวางเเผนเเละดำเนินโครงงาน

2.3.1. การจัดทำข้อเสนอโครงงานเป็นการกำหนดแนวคิดต่างๆ และการวางแผนพัฒนาโครงงาน รวมถึงการทำตารางกำหนดการและระยะเวลาในการทำ เพื่อช่วยให้สามารถคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการทำโครงงาน

2.4. 4.การดำเนินโครงงาน

2.4.1. การจัดทำโครงงานถือเป็นภาคปฏิบัติที่สำคัญ จึงต้องเตรียมพร้อมในทุกๆด้าน เตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุที่ใช้ให้ครบถ้วน ควรคำนึงถึงความประหยัด คุ้มค่า และมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมเสมอ ไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย

2.5. 5.การสรุปผลเเละเผยเเพร่ผลงาน

2.5.1. การเขียนรายงานควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ ตรงประเด็น สุภาพ และไม่กระทบทำให้ผู้อื่นเสียหาย

3. ตัวอย่างโครงงาน

3.1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา(Educational Media) เป็นโครงงานทีใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน ซึ่งมีบทเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ถือว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอนไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สังคม โดยนักเรียนคัดเลือกหัวข้อ ที่น่าสนใจมาเป็นหัวข้อในการพัฒนาบทเรียนตัวอย่าง เช่น โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่างๆ โครงงานพัฒนาเครื่องมือ(Tools Development) เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเรื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน เป็นต้น โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี (Theory Experiment) เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสิ่งต่างๆ ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ในเรื่องที่ต้องการศึกษาแล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ อาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application) โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย ซึ่งการพัฒนาโครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์และชำนาญในการใช้เครื่องมือเป็นอย่างสูง โครงงานพัฒนาเกม(Game Development) เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมทายคำศัพท์เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจ แก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย

4. ประโยชน์

4.1. 1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน 3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก 4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ 5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ 6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า