บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย by Mind Map: บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

1. 1.การเลือกและกำหนดปัญหา ( Identifying the Problem ) 2.การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ( Reviewing Information ) 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล ( Collecting Data ) 4.การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) 5.การสรุปผลการวิจัย (Drawing Conclusion)

2. คุณสมบัติของนักวิจัย

3. จรรยาบรรณของนักวิจัย

4. ประเภทของการวิจัย

5. ขั้นตอนของการวิจัย

6. ความหมายตามพจนานุกรมของคำว่า “วิจัย” หรือ “การวิจัย”หมายถึง การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525, 2531 : 754 )

7. คุณสมบัติสําคัญที่นักวิจัยพึงมี 3 ประการก็คือ 1.การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ทําวิจัย 2.การมีความสามารถหรือทักษะในด้านการใช้เทคนิคการวิจัยที่เหมาะสม 3.การมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัย

8. จรรยาบรรณของนักวิจัยที่ควรเน้น ได้แก่ 1. การมีความเชื่อในหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Faith) คือเชื่อในหลักของ เหตุผล การสามารถพิสูจน์ได้ การเปลี่ยนแปลงได้ของสิ่งต่างๆ และการสามารถหาทางแก้ไขได้สำหรับปัญหาทุกอย่าง 2. การมีความซื่อสัตย์ ได้แก่ 2.1 ซื่อสัตย์ต่อตัวเลขข้อมูล ไม่ยกเมฆ ไม่แต่งข้อมูล หรือเปลี่ยนแปลงตัวเลข เพื่อบิดเบือนข้อมูล 2.2 ซื่อสัตย์ในการวิเคราะห์ ตีความ และการสรุปผลข้อมูล โดยทําอย่าง ตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ไม่มีอคติ 2.3 ซื่อสัตย์เชิงวิชาการ คือใช้ความรู้ทางวิชาการไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่อ้างเอางานของผู้อื่นมาเป็นของตน 3. การมีจิตสํานึก และทําการวิจัยในสิ่งที่ไม่ขัดกับหลักศีลธรรม จริยธรรมและ ตัวบทกฎหมาย มีคุณธรรมในการทําวิจัย 4. การมีจิตสํานึกในความปลอดภัยของการวิจัยและผลการวิจัย หรือผลกระทบของการวิจัยต่อผู้อื่น 5. การยอมรับในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้ เป็นความลับโดยไม่นํามากล่าวอ้างให้เกิดความเสียหาย และการมีความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อการวิจัยและผลงานวิจัยของตน หากงานวิจัยมีข้อบกพร่องผิดพลาดก็ต้องยอมรับ โดยไม่โยนความผิด ให้ผู้อื่น

9. 1.การจำแนกตามประเภทลักษณะของข้อมูล 1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงคุณลักษณะ(Qualitative Research) เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการ์กับสภาพแวดล้อมนั้น 1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Reserach) เป็นการศึกษาวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ แสดงผลการวิจัยเป็นตัวเลขและค่าสถิติต่างๆ

10. 2.การจำแนกตามประเภทตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย 2.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงหรือความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสนองความอยากรู้ สร้างกฏ สูตร หรือทฤษฎีในสาขาวิชาต่างๆเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องอื่น 2.2 การวิจัยประยุกต์ ((Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการนําผล ของการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะคํานึงถึงความรู้ที่จะได้

11. 3.การจำแนกตามประเภทตามระเบียบวินัย 3.1การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยเพื่อสืบค้นหรือสืบสวนปัญหาทางด้านประวัติความเป็นมา โดยอาศัยความสัมพันธ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาอธิบายเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง 3.2การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา(Descriptive Research) เป็นการศึกษาข้อเท็จจริง ปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ ผู้วิจัยต้องการศึกษาเพื่อนําผลที่ได้มา บรรยายหรืออธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์หรือปรากฏการณ์เหล่านั้น และเพื่อช่วยให้เข้าใจสิ่งเหล่านั้นดีขึ้น กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น 3.3การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research) หมายถึงกระบวน การที่ผู้วิจัยจงใจเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ หรือสร้างสภาพการณ์ขึ้นเอง เพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น เปลี่ยนแปลงปริมาณแสงสว่างบนโต๊ะอ่านหนังสือ เพื่อศึกษาว่าจะมีผลต่อพฤติกรรมการอ่านอย่างไร

12. 1.1การได้รับความรู้โดยบังเอิญ ( By Chance)เป็นการได้รับความรู้มาโดย ไม่คาดคิดไว้ก่อน ได้รับมาโดยไม่ได้ตั้งใจส่วนใหญ่จะได้มาจากการประสบกับปรากฏการณ์บางอย่าง ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

13. 1.2 การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก (Trial and Error ) เป็นการแสวงหาความรู้โดยการเดา หรือลองทําดูหลายๆครั้งหรือใช้หลายๆ วิธี ถ้าวิธีใดให้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งก็จะใช้วิธีนั้นต่อไปเรื่อยๆ

14. 1.3 การได้รับความรู้จากผู้รู้ ( Authority ) ผู้รู้ในที่นี้หมายถึงผู้มีความรู้ มีสติปัญญาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ผู้รู้อาจจะเป็นบุคคล เช่น พระหรือนักบวชเป็นผู้รู้ทางศาสนา

15. 1.4 การได้รับความรู้จากผู้เชียวชาญหรือนักปราชญ์ (Expert or Wiseman) ผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์

16. 1.5 การได้รับความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรม (Tradition and Culture )ประเพณีและวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน การยอมรับ เชื่อถือ และทําตามสิ่งที่บรรพบุรุษได้กำหนดไว้ ถือเป็นการได้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องตามประเพณีนิยม

17. 1.6 การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง (Personal Experience ) บุคคลย่อมมีโอกาสประสบพบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ มากมายในชีวิต มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ของตนเองในการหาความรู้และประสบการณ์ และเมื่อได้ประมวลประสบการณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ก็จะมีการสรุปเป็นความรู้เฉพาะตัว ความรู้ที่ได้มานั้นมักแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เชื่อถือไม่ค่อยได้

18. 1.การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน

19. 1.การจำแนกตามประเภทลักษณะของข้อมูล 1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงคุณลักษณะ(Qualitative Research) เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการ์กับสภาพแวดล้อมนั้น 1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Reserach) เป็นการศึกษาวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ แสดงผลการวิจัยเป็นตัวเลขและค่าสถิติต่างๆ

20. ความหมายการวิจัย

21. ประโยชน์ของการวิจัย

22. พัฒนาการของวิธีแสวงหาความรู้

23. จุดมุ่งหมายของการวิจัย

24. จุดมุ่งหมายหลักของการวิจัย มี 2 ประการ 1.เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ 2.เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน 2.1 ใช้สำหรับบรรยายสภาพของปัญหา หรืออธิบายสาเหตุของปัญหาของสถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น 2.2 ใช้สำหรับพยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ หรือแนวโน้มของปัญหาทีอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เราสามารถเตรียมป้องกันรับสถานการณ์นั้นๆได้ 2.3 ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาสภาพการ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้ดียิ่งขึ้น 2.4 ใช้สำหรับควบคุมปัญหา สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการวางแผนเตรียมการควบคุมได้อย่างรัดกุม 2.5 ใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว

25. 1. ประโยชน์ต่อสังคม การวิจัยช่วยให้สังคมได้รับความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งนับเป็นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการทั้ง ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ และช่วยให้สามารถนําความรู้นั้นไปใช้ในการบรรยายสภาพการ อธิบาย ปรากฏการณ์ พยากรณ์แนวโน้ม ควบคุมสภานการณ์ปัญหา แก้ปัญหา และพัฒนาปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ในสังคมให้ดียิ่งขึ้น 2. ประโยชน์ต่อนักวิจัย นอกจากการวิจัยจะช่วยให้นักวิจัยได้รับความรู้ใหม่ที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ยังช่วย ให้นักวิจัยมีคุณลักษณะประจําตัวที่ดี เช่น เป็นคนใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ มีเหตุผล และทํางานอย่าง เป็นระบบ เป็นต้น

26. 2. การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล

27. 2.1 วิธีอนุมาน หรือนิรนัย ( Deductive Method หรือ Sylogistic Reasoning )เป็นการใช้เหตุผลซึ่งประกอบด้วยกฏเกณฑ์หรือข้อความ และการหาความสัมพันธ์ภายในของเหตุผลนั้น ควรจะเริ่มจากการนําความรู้เดิม หรือสิ่งที่เป็นจริงหรือข้อเท็จจริงเดิมที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปตามธรรมชาติมาอ้างเป็นหลัก จากนั้นค่อยพยายามคิดหาเหตุผลเพื่ออธิบายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงย่อยเฉพาะกรณี แล้วจึงสรุปผลจากความสัมพันธ์ของสถานการณ์ทั้งสองนั้นให้เป็นความรู้ใหม่

28. องค์ประกอบของการคิดแบบอนุมาน จึงได้แก่ 1. Major Premise คือข้อเท็จจริงใหญ่หรือข้อเท็จจริงหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริงอยู่แล้วในตัวของมันเอง 2. Minor Premise คือข้อเท็จจริงย่อย หรือเหตุการณ์เฉพาะกรณี 3. Conclusion คือข้อสรุปซึ่งเกิดจากการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างMajor และ Minor Preimise ถ้าข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จย่อยเป็นจริง ข้อสรุปก็ต้องเป็นจริงด้วย

29. Major Premise : ทุกคนต้องตาย Minor Premise : นายสมชายเป็นคน Conclusion : นายสมชายต้องตาย

30. 2.2 วิธีอุปมาน หรืออุปนัย (Inductive Method) เป็นการแสวงหาความรู้ด้วยเหตุผล ผู้ริเริ่มคิดวิธีนี้คือ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ การคิดด้วยวิธีอุปมานมีความแตกต่างและตรงกันข้าม กับวิธีอนุมาน เบคอนได้มองเห็นข้อบกพร่องของการคิดแบบอนุมานว่าการตั้ง Major Premise นั้น ถ้าตั้งผิด คือ Major Premise ไม่ใช่ความจริงแท้แน่นอน หรือเป็น ข้อเท็จจริงที่คลุมเคลือไม่ชัดเจน ก็จะทําให้การลงสรุปผิดและความรู้ใหม่ที่ได้มาก็จะผิด

31. ตัวอย่างของการตั้งสรุปที่ผิดได้ด้วยวิธีอนุมาน เช่น Major Premise : นกบินได้ Minor Premise : นกกระจอกเทศเป็นนกชนิดหนึ่ง Conclusion : นกกระจอกเทศบินได้ ( แต่ความจริงนกกระจอกเทศบินไม่ได้ )

32. 2.3 วิธีอนุมาน - อุปมาน (Deductive - Inductive Method ) วิธีการ นี้เริ่มใช้ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 ผู้เริ่มคิดวิธีนี้คือนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ดาร์วินได้ให้ความเห็นว่า การศึกษาค้นคว้าใดๆก็ตามควรต้องใช้วิธีการแสวงหา ความรู้ทั้งวิธีอนุมานและอุปมานร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดข้อบกพร่องในการใช้เฉพาะวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว และยังจะทําให้ได้ความรู้ใหม่ที่มีความเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น