ละครพูด

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ละครพูด by Mind Map: ละครพูด

1. เรื่องที่แสดง ละครพูดล้วน ๆ  หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว  เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรื่อง “โพงพาง”  เมื่อ พ.ศ. 2463  เรื่องต่อมา คือ “เจ้าข้า สารวัด!”  ทั้ง 2 เรื่องเป้นพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยัง มีบทพระราชนิพนธ์ในพระองค์อีกมากมายที่นิยมนำมาแสดง ละครพูดแบบร้อยกรอง จำแนกตามลักษณะคำประพันธ์ดังนี้ คือ ละครพูดคำกลอนจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่น เรื่องเวนิชวาณิช พระร่วง ละครพูดคำฉันท์ได้แก่  เรื่องมัทนะพาธา แล้วยังมีละครพูดคำฉันท์อีกเรื่องหนึ่งที่นิยมนำมาแสดง  คือ  เรื่องสามัครเภท  ของนายชิต  บุรทัต  ละครพูดคำโคลง ได้แก่ เรื่องสี่นาฬิกา  ของอัฉราพรรณ  ของอัฉราพรรณ (นายมนตรี  ตราโมท)

2. ผู้แสดง ละครพูดล้วน ๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว  ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วนต่อมานิยม ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้ ละครพูดแบบร้อยกรอง  ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง  มีบุคลิก  และการแสดงเหมาะสมตามลักษณะที่  บ่งไว้ในบทละคร  น้ำเสียงแจ่มใส่ชัดเจนดี  เสียงกังวาน พูดฉะฉานไหวพริบดี ละครพูดสลับลำ  ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง  เหมือนละครพูดแบบร้อยกรอง

3.  เริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี การแสดงละครพูดสมัครเล่น เป็นครั้งแรก ละครพูดในสมัยนี้แตกต่างกับละครพูดในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในสมัยหลังเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง คือเนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลาย พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้วทรงตั้ง  “ทวีปัญญาสโมสร”  ขึ้นในพระราชอุทยานวังสราญรมย์ในสมัยเดียวกันนี้ได้มีการตั้ง  “สามัคยาจารย์สโมสร”ซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  เป็นประธานอยู่ก่อนแล้ว กิจกรรมของ 2 สโมสรที่คล้ายคลึงกัน คือการแสดงละครพูดแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากละครตะวันตก  ละครพูดแสดงเป็นครั้งแรกที่สโมสรใดหลักฐานยืนยัน  แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาว ชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีส่วนร่วมในกิจการ แสดงละครพูดของทั้ง 2 สโมสรนี้  จึงได้ถวายพระเกียรติว่าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดละครพูด

4. การแต่งกาย ละครพูดล้วน ๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว แต่กายตามสมัยนิยม  เนื้อเรื่องโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร ละครพูดแบบร้อยกรอง แต่งให้เหมาะสมถูกต้องตามบุคลิกของตัวละคร และยุคสมัยที่บ่งบอกไว้ใน บทละคร ละครพูดสลับลำ   การแต่งกายเหมือน  ละครพูดล้วน ๆ หรือแต่งกายตามท้องเรื่อง