พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖

Kom i gang. Det er Gratis
eller tilmeld med din email adresse
พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ af Mind Map: พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖

1. ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา

1.1. มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖”

1.2. มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

1.3. มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยาม คําว่า “การแพทย์แผนไทย” “เวชกรรมไทย” “เภสัชกรรมไทย” “การผดุงครรภ์ไทย” และ “การแพทย์แผนไทยประยุกต์” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

1.4. มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยาม คําว่า “กิจกรรมบําบัด” “การแก้ไขความผิดปกติของ การสื่อความหมาย” “การแก้ไขการพูด” “การแก้ไขการได้ยิน” “เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก” “รังสีเทคนิค” “จิตวิทยาคลินิก” “กายอุปกรณ์” “การแพทย์แผนจีน” ระหว่างนิยาม คําว่า “การประกอบโรคศิลปะ” และนิยามคําว่า “ผู้ประกอบโรคศิลปะ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗

1.5. มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

1.5.1. การประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้ (๑) สาขากิจกรรมบําบัด (๒) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (๓) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (๔) สาขารังสีเทคนิค (๕) สาขาจิตวิทยาคลินิก (๖) สาขากายอุปกรณ์ (๗) สาขาการแพทย์แผนจีน (๘) สาขาอื่นตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

1.6. มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

1.6.1. ให้มีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่น ดังต่อไปนี้

1.6.1.1. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมการแพทย์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพจิต สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม สภากายภาพบําบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และ สภาการแพทย์แผนไทย แห่งละหนึ่งคน และผู้แทนจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ สาขาละหนึ่งคน

1.6.1.2. กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคน

1.6.1.3. ให้รองอธิบดีซึ่งอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ และ ผู้อํานวยการสํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ”

1.7. มาตรา ๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

1.8. มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒) ของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

1.8.1. (๑) เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

1.8.2. (๒) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรมกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย แล้วแต่กรณี

1.9. มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

1.9.1. มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1.9.1.1. (๑) คณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด

1.9.1.2. (๒) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย

1.9.1.3. (๓) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

1.9.1.4. (๔) คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค

1.9.1.5. (๕) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก

1.9.1.6. (๖) คณะกรรมการวิชาชีพสาขากายอุปกรณ์

1.9.1.7. (๗) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน

1.9.1.8. (๘) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๕ (๘)

1.10. มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔/๑ มาตรา ๑๔/๒ มาตรา ๑๔/๓ มาตรา ๑๔/๔ มาตรา ๑๔/๕ มาตรา ๑๔/๖ และมาตรา ๑๔/๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

1.11. มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

1.12. มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

1.13. มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิก (๔) ของมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. ๒๕๔๒

1.14. มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗

1.15. มาตรา ๑๕ ให้แก้ไขคำว่า “ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ” ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ” ทุกแห่ง

1.16. มาตรา ๑๖ เมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้พระราชกฤษฎีกาดังต่อไปนี้ เป็นอันยกเลิก

1.16.1. (๑) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากิจกรรมบำบัดเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

1.16.2. (๒) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

1.16.3. (๓) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

1.16.4. (๔) พระราชกฤษฎีกากำ หนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

1.16.5. (๕) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

1.16.6. (๖) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙

1.16.7. (๗) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๕๑

1.16.8. (๘) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการแพทย์แผนจีนเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๕๒

1.16.9. (๙) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการแพทย์แผนจีนเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔

1.16.10. (๑๐) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔

1.16.11. ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการวิชาชีพในคณะกรรมการวิชาชีพตามพระราชกฤษฎีกาในวรรคหนึ่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

2. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้

2.1. โดยที่ได้มีการแยกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ไปบัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะประกอบกับมีสาขาการประกอบโรคศิลปะหลายสาขาที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา สมควรยกเลิกสาขาการประกอบโรคศิลปะที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เพื่อนำมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเพิ่มเติมบทนิยาม สาขาการประกอบโรคศิลปะ คณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่าง ๆ และคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต ปรับปรุงองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะรวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาแห่งการประกอบโรคศิลปะและคณะกรรมการวิชาชีพ ให้สอดคล้องกันด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

3. ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลที่ ๙