พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖

Kom i gang. Det er Gratis
eller tilmeld med din email adresse
พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ af Mind Map: พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖

1. มาตรา ๒ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยาม คําว่า “การแพทย์แผนไทย” “เวชกรรมไทย” “เภสัชกรรมไทย” “การผดุงครรภ์ไทย” และ “การแพทย์แผนไทยประยุกต์”

3. มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยาม คําว่า “กิจกรรมบําบัด” “การแก้ไขความผิดปกติของ การสื่อความหมาย” “การแก้ไขการพูด” “การแก้ไขการได้ยิน” “เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก” “รังสีเทคนิค” “จิตวิทยาคลินิก” “กายอุปกรณ์” “การแพทย์แผนจีน” ระหว่างนิยาม คําว่า “การประกอบโรคศิลปะ” และนิยามคําว่า “ผู้ประกอบโรคศิลปะ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗

3.1. กิจกรรมบําบัด หมายความว่า การกระทําเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่อง ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้และการพัฒนาเกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกันบําบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทํากิจกรรมต่างๆ ได้

3.2. การแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย หมายความว่า การแก้ไขการพูดและการแก้ไข การได้ยิน

3.3. การแก้ไขการพูด หมายความว่า การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบําบัดความผิดปกติของการพูดและการสื่อภาษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด

3.4. การแก้ไขการได้ยิน หมายความว่า การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบําบัดความผิดปกติของการได้ยิน ความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับการได้ยิน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน

3.5. เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก หมายความว่า การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและปอด และการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ

3.6. รังสีเทคนิค หมายความว่า การกระทําใด ๆ ต่อมนุษย์โดยใช้รังสีหรือสารกัมมันตรังสี ทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค

3.7. จิตวิทยาคลินิก หมายความว่า การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด ความผิดปกติทางจิต อันเนื่องจากภาวะทางจิตใจ บุคลิกภาพ ระดับเชาวน์ปัญญา อารมณ์ พฤติกรรม การปรับตัว ความเครียดหรือพยาธิสภาพทางสมอง รวมทั้งการวิจัย

3.8. กายอุปกรณ์ หมายความว่า การกระทําต่อร่างกายมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมินความพิการ การผลิตอุปกรณ์เสริมหรืออุปกรณ์เทียมภายนอกร่างกาย

3.9. “การแพทย์แผนจีน” หมายความว่า การกระทําต่อมนุษย์หรือมุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริม และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้ความรู้แบบแพทย์แผนจีน”

4. มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

4.1. มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่น ดังต่อไปนี้

4.1.1. ( ๑) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมการแพทย์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพจิต สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม สภากายภาพบําบัด สภาเทคนิคการแพทย์ และ สภาการแพทย์แผนไทย แห่งละหนึ่งคน และผู้แทนจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ สาขาละหนึ่งคน

4.1.2. ๒) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนไม่เกินห้าคน ให้รองอธิบดีซึ่งอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ และ ผู้อํานวยการสํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ”

4.2. มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่น ดังต่อไปนี้

5. มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒) ของมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

5.1. (๑) เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

5.2. (๒) เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรมกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย แล้วแต่กรณี

6. มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔/๑ มาตรา ๑๔/๒ มาตรา ๑๔/๓ มาตรา ๑๔/๔ มาตรา ๑๔/๕ มาตรา ๑๔/๖ และมาตรา ๑๔/๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

6.1. “มาตรา ๑๔/๑ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด ประกอบด้วย

6.1.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมการแพทย์ ผู้แทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แห่งละหนึ่งคน

6.1.2. (๒) คณบดีคณะกิจกรรมบำบัดหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขากิจกรรมบำบัดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.1.3. (๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมนักกิจกรรมบำบัดแห่งประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน

6.1.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัดมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

6.2. มาตรา ๑๔/๒ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย ประกอบด้วย

6.2.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมการแพทย์ และผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแห่งละหนึ่งคน

6.2.2. (๒) คณบดีคณะสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.2.3. ๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน

6.2.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

6.3. มาตรา ๑๔/๓ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกประกอบด้วย

6.3.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมการแพทย์ และผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแห่งละหนึ่งคน

6.3.2. (๒) คณบดีคณะเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.3.3. (๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน

6.3.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

6.4. มาตรา ๑๔/๔ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกอบด้วย

6.4.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แห่งละหนึ่งคน

6.4.2. (๒) คณบดีคณะรังสีเทคนิคหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขารังสีเทคนิคในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.4.3. (๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน

6.4.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

6.5. มาตรา ๑๔/๕ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก ประกอบด้วย

6.5.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และผู้แทนกรมสุขภาพจิตแห่งละหนึ่งคน

6.5.2. (๒) คณบดีคณะจิตวิทยาคลินิกหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาคลินิกในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.5.3. (๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยอย่างน้อยแห่งละหนึ่งคน

6.5.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

6.6. มาตรา ๑๔/๖ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขากายอุปกรณ์ ประกอบด้วย

6.6.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมการแพทย์ และผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพแห่งละหนึ่งคน

6.6.2. (๒) คณบดีคณะกายอุปกรณ์หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขากายอุปกรณ์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.6.3. (๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทยและผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย อย่างน้อยแห่งละหนึ่งคน

6.6.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์มีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ

6.7. มาตรา ๑๔/๗ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน ประกอบด้วย

6.7.1. (๑) กรรมการวิชาชีพซึ่งเป็นผู้แทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกผู้แทนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แห่งละหนึ่งคน

6.7.2. (๒) คณบดีคณะการแพทย์แผนจีนหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนจีนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือสามคน

6.7.3. (๓) กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสามคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมหรือผู้แทนมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนจีนในประเทศไทยอย่างน้อยหนึ่งคน

6.7.4. (๔) กรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการวิชาชีพใน (๑) (๒) และ (๓) รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ให้ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ”

7. มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

7.1. “มาตรา ๑๙ องค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของคณะกรรมการวิชาชีพสาขาอื่น ตามมาตรา ๑๔ (๘) รวมทั้งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการวิชาชีพสาขาอื่นดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๕ (๘)

7.2. มาตรา ๒๐ ภายในสามสิบวันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพตามมาตรา ๑๔/๑ (๔)มาตรา ๑๔/๒ (๔) มาตรา ๑๔/๓ (๔) มาตรา ๑๔/๔ (๔) มาตรา ๑๔/๕ (๔) มาตรา ๑๔/๖ (๔)และมาตรา ๑๔/๗ (๔) ให้คณะกรรมการวิชาชีพแต่ละสาขาเลือกกรรมการวิชาชีพเป็นประธานกรรมการวิชาชีพและรองประธานกรรมการวิชาชีพตำแหน่งละหนึ่งคน

7.3. มาตรา ๒๑ การเลือก การแต่งตั้ง และการเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพตามมาตรา ๑๔/๑ (๒) (๓)หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๒ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๓ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๔ (๒) (๓)หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๕ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๖ (๒) (๓) หรือ (๔) และมาตรา ๑๔/๗(๒) (๓) หรือ (๔) และการเลือกกรรมการวิชาชีพให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการวิชาชีพและรองประธานกรรมการวิชาชีพตามมาตรา ๒๐ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ในกรณีกรรมการตามมาตรา ๑๔/๑ (๒) มาตรา ๑๔/๒ (๒) มาตรา ๑๔/๓ (๒) มาตรา ๑๔/๔ (๒)มาตรา ๑๔/๕ (๒) มาตรา ๑๔/๖ (๒) และมาตรา ๑๔/๗ (๒) มีไม่ถึงสามคน ให้ถือว่าคณะกรรมการวิชาชีพนั้นมีองค์ประกอบเท่าที่มีอยู่

7.4. มาตรา ๒๒ กรรมการวิชาชีพที่มาจากการเลือก การแต่งตั้ง และการเลือกตั้งตามมาตรา ๑๔/๑(๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๒ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๓ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๔(๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๕ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๖ (๒) (๓) หรือ (๔) และมาตรา ๑๔/๗ (๒) (๓) หรือ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แล้วแต่กรณี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม่ได้ ให้นำความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๔/๑ (๔) มาตรา ๑๔/๒ (๔) มาตรา ๑๔/๓ (๔) มาตรา ๑๔/๔ (๔)มาตรา ๑๔/๕ (๔) มาตรา ๑๔/๖ (๔) และมาตรา ๑๔/๗ (๔) โดยอนุโลมนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่ง กรรมการวิชาชีพตามมาตรา ๑๔/๑ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๒ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๓ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๔ (๒)(๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๕ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๑๔/๖ (๒) (๓) หรือ (๔) และมาตรา ๑๔/๗ (๒) (๓) หรือ (๔) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) รัฐมนตรีให้ออก สำหรับกรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามมาตรา ๑๔/๑ (๓)มาตรา ๑๔/๒ (๓) มาตรา ๑๔/๓ (๓) มาตรา ๑๔/๔ (๓) มาตรา ๑๔/๕ (๓) มาตรา ๑๔/๖ (๓)หรือมาตรา ๑๔/๗ (๓) (๔) ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการวิชาชีพประเภทนั้น ๆ”

8. มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

8.1. มาตรา ๓๓ ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในแต่ละสาขาต้องมีความรู้ในวิชาชีพดังต่อไปนี้

8.1.1. (๑) สาขากิจกรรมบำบัด ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขากิจกรรมบำบัดจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัดรับรองและต้องสอบความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัดกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัดจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.2. (๒) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมายจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายรับรอง และต้องสอบความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.3. (๓) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกรับรอง และต้องสอบความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.4. (๔) สาขารังสีเทคนิค ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขารังสีเทคนิคจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิครับรอง และต้องสอบความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.5. (๕) สาขาจิตวิทยาคลินิก ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาจิตวิทยาคลินิกหรือได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาที่ศึกษากระบวนวิชาจิตวิทยาคลินิกเป็นวิชาเอกจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกรับรอง และได้ผ่านการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือองค์กรใดที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกรับรองมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและต้องสอบความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิกกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิกจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.6. (๖) สาขากายอุปกรณ์ ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขากายอุปกรณ์จากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขากายอุปกรณ์รับรองและต้องสอบผ่านความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขากายอุปกรณ์กำหนดสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขากายอุปกรณ์จากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.7. (๗) สาขาการแพทย์แผนจีน ต้องมีความรู้ในวิชาชีพคือเป็นผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์แผนจีนจากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนรับรอง และต้องสอบผ่านความรู้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนกำหนด สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนจากประเทศที่สำเร็จการศึกษาด้วย

8.1.8. (๘) สาขาอื่นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๕ (๘) ต้องมีความรู้ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น”

9. มาตรา ๑๕ ให้แก้ไขคำว่า “ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ” ในพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นคำว่า “ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ” ทุกแห่ง

10. ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลที่ ๙

11. มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖”

12. มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒)และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

12.1. การประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้ (๑) สาขากิจกรรมบําบัด (๒) สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (๓) สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (๔) สาขารังสีเทคนิค (๕) สาขาจิตวิทยาคลินิก (๖) สาขากายอุปกรณ์ (๗) สาขาการแพทย์แผนจีน (๘) สาขาอื่นตามที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

13. มาตรา ๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

14. มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

14.1. มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ดังนี้ (๑) คณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด (๒) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (๓) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (๔) คณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค (๕) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก (๖) คณะกรรมการวิชาชีพสาขากายอุปกรณ์ (๗) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน (๘) คณะกรรมการวิชาชีพสาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา ๕ (๘)”

15. มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒

16. มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิก (๔) ของมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะพ.ศ. ๒๕๔๒

17. มาตรา ๑๖ เมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้พระราชกฤษฎีกาดังต่อไปนี้ เป็นอันยกเลิกเมื่อพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้พระราชกฤษฎีกาดังต่อไปนี้ เป็นอันยกเลิก ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการวิชาชีพในคณะกรรมการวิชาชีพตามพระราชกฤษฎีกาในวรรคหนึ่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

17.1. (๑) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากิจกรรมบำบัดเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

17.2. (๒) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

17.3. (๓) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

17.4. (๔) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕

17.5. (๕) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

17.6. (๖) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙

17.7. (๗) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขากายอุปกรณ์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๕๑

17.8. (๘) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการแพทย์แผนจีนเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๕๒

17.9. (๙) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาการแพทย์แผนจีนเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔

17.10. (๑๐) พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔