การเจริญเติบโตและพัฒนาการ

Kom i gang. Det er Gratis
eller tilmeld med din email adresse
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ af Mind Map: การเจริญเติบโตและพัฒนาการ

1. การส่งเสริมการเจริญเติมโตและภาวะโภชนาการในเด็ก

1.1. 1.1การประเมินการเจริญเติมโตและภาวะโภชนาการในเด็ก

1.1.1. การเจริญเติบโต เป็นการเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์ทำให้เกิดการเพิ่มส่วนสูงและน้ำหนัก

1.1.2. การประเมินน้ำหนัก ใช้บอกความรุนแรงของโรคขาดสารอาหาร

1.1.2.1. สูตรคำนวณน้ำหนักเทียบกับอายุ ตามเกณฑ์มาตรฐาน

1.1.2.1.1. อายุ3-12 เดือนน้ำหนัก (กก) = (อายุ (เดือน) + 9/12

1.1.2.1.2. อายุ 1-6 ปี = (อายุเป็นปีคูณ 2) + 8 กิโลกรัม

1.1.2.1.3. อายุ 7-12 ปี = (อายุเป็นปีคูณ 7)-5/2 กิโลกรัม

1.1.2.2. วิธีคำนวณ เปอรืเซนไทส์น้ำหนัก

1.1.2.2.1. (100*น้ำหนักจริงของผู้ป่วยที่ชั่งได้)/น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานที่คำนวณได้

1.1.2.3. เกณฑ์มาตรฐานจากเปอร์เซนไทส์

1.1.2.3.1. 120% ขึ้นไปเป็นเด็กอ้วน

1.1.2.3.2. มากกว่า90-110% อยู่ในเกณฑ์ปกติ

1.1.2.3.3. 75-90% ขาดสารอาหารระดับ1

1.1.2.3.4. 60-74% ขาดสารอาหารระดับ2

1.1.2.3.5. ต่ำกว่า60% ขาดสารอาหารระดับ3

1.1.2.4. การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักทารกแรกเกิด

1.1.2.4.1. แรกเกิด 3 กิโลกรัม

1.1.2.4.2. 5-6 เดือน 2 เท่าของแรกเกิด

1.1.2.4.3. 1 ปี 3 เท่าของแรกเกิด

1.1.2.4.4. 2ปี 4 เท่าของแรกเกิด

1.1.2.4.5. 7ปี 7เท่าของแรกเกิด

1.1.3. การวัดเส้นรอบศีรษะ ใช้ประเมินขนาดของสมองและช่วยในการวินิจฉัยโรค

1.1.3.1. แรกเกิดจะอยู่ที่35เซนติเมตร

1.1.3.2. ในระยะ 6 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเดือนละ1. 5 เซนติเมตร

1.1.3.3. ในระยะ 6 เดือนหลังเพิ่มขึ้นเดือนละ 0. 5 เซนติเมตร

1.1.3.4. ในขวบปีที่ 2 จะเพิ่มขึ้นปีละ 2-3 เซนติเมตร

1.1.3.5. ในขวบปีที่ 3 จะเพิ่มขึ้นปีละ 0. 5-2 เซนติเมตร

1.1.3.6. อายุ3-10 ปีจะเพิ่มขึ้น 1 เซนติเมตรทุกๆ 3 ปี

1.2. 1.2ความต้องการสารอาหารในเด็กแต่ละวัย

1.2.1. การวัดส่วนสูงจะใช้ประเมินว่าถ้าส่วนสูงไม่เพิ่มอาจแสดงถึงการขาดสารอาหารแบบเรื้อรัง เกณฑ์ปกติอยู่ที่95%

1.2.1.1. สูตรคำนวณส่วนสูงจากอายุ

1.2.1.1.1. 2-12ปี [อายุ(ปี)*6]+77

1.2.1.2. วิธีคำนวณ เปอรืเซนไทส์ส่วนสูง

1.2.1.2.1. (100*ส่วนสูงจริงของผู้ป่วยที่ชั่งได้)/ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานที่คำนวณได้

1.2.2. ทารกต้องการพลังงาน100 Kcal/Kg/day แหล่งพลังงานที่สำคัญคือนมแม่ โปรตีนที่อยู่ในนมแม่เป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยและดูดซึมง่ายมีภูมิคุ้มกันชนิดAlpha-lactabumin ทำให้ทารกไม่เกิดโรคภูมิแพ้

1.2.2.1. การคำนวณพลังงานที่เด็กควรจะได้รับตามน้ำหนักของเด็กแต่ละราย

1.2.2.1.1. สูตร Holiday and segar ในการคำนวณพลังงาน

1.2.3. นมปกติทารกคลอดครบกำหนด 1ออนซ์ มี20 cal นมของทารกคลอดก่อนกำหนด 1 ออนซ์ มี24 cal

1.2.4. วัยรุ่นต้องการพลังงาน1600-2300 Kcal/Kg/day วัยรุ่นต้องการสารอาหารที่มากกว่าวัยอื่น ถ้าวัยรุ่นได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน

1.3. 1.3การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก การให้นม อาหารเสริม

1.3.1. การดูแลให้ทารกได้รับนมในแต่ละวัน

1.3.1.1. นมแม่เป็นนมที่มีประโยชน์ที่สุดการให้นมแม่คือต้องให้ทารกดูดให้เกลี้ยงเต้าโดยให้ดูดทีละข้างกรณีที่คัดตึงมากและทารกดูดไม่ทันมื้อต่อไปให้ดูดสลับข้าง

1.3.1.2. นมเปรี้ยวไม่เหมาะกับเด็กเพราะจะทำให้เด็กติดหวาน และฟันผุและกินมากๆอาจเกินภาวะโภชนาการเกินได้

1.3.1.3. นมวัวจะมี Carbohydrate, Fat, Protein ที่มากเกินไม่เหมาะกับทารกอายุต่ำกว่า1ปีทำให้ท้องเสีย ไตทำงานหนัก ในนมวัวยังมีสารอาหารไม่ ครบถ้วน ขาด Fe แร่ธาตุต่างๆ

1.3.2. อาหารเสริมในทารก

1.3.2.1. 6เดือนแรกให้กินนมแม่อย่างเดียว

1.3.2.2. หลัง6เดือนให้อาหารเสริมดังนี้

1.3.2.2.1. อายุ 6 เดือนอาหาร 1 มื้อข้าวบดละเอียดโดยเริ่มให้แต่น้อยจนครบ 3 ช้อนไข่แดง 1/2 ฟองปลา 2 ช้อนหรือตับบด 1 ช้อนผักสุก 1/2 ช้อนหรือฟักทอง 1/2 ช้อนมะละกอสุก 2 ชิ้นหรือส้ม 2 กลีบ

1.3.2.2.2. อายุ 7 เดือนอาหาร 1 มื้อข้าว 4 ช้อนข้าวบดละเอียดไข่แดง 1/2 ฟองตับบด1ช้อนปลา 2 ช้อนหรือหมู 2 ช้อนผักสุก 1/2 ช้อนหรือฟักทอง 1/2 ช้อนมะละกอ 2 ชิ้นหรือมะม่วง 2 ชิ้น

1.3.2.2.3. อายุ 8-9 เดือนอาหาร 2 มื้อข้าว 5 ช้อนโดยข้าวจะใช้วิธีต้มตุ๋นเละๆหรือถ้าจะบดต้องบดหยาบไข่ 1 ฟองและปลา 2 ช้อนหรือหมู 2 ช้อนผักสุก 2 ช้อนหรือฟักทอง 2 ช้อนมะละกอสุก 3 ชิ้นหรือกล้วย 1 ผล

1.3.2.2.4. อายุครบ10-12 เดือนอาหาร 3 มื้อข้าวต้มหรือข้าวสวยนุ่ม 5 ช้อนไข่ 1 ฟองและปลา 2 ช้อนหรือหมู 2 ช้อนคือตับบด 1 ช้อนผักสุก 2 ช้อนหรือฟักทอง 2 ช้อนมะม่วง 4 ชิ้นหรือส้ม 1 ผล

1.3.3. คำแนะนำสำหรับการให้อาหารเสริมในเด็ก

1.3.3.1. ทารกสามารถเคี้ยวได้ให้อาหารเสริมครั้งละชนิดในปริมาณน้อยแต่ละชนิดควรห่างกัน 4-7 วันถ้าทารกมีอาการแพ้อาหารชนิดนั้นสามารถงดอาหารชนิดนั้นได้ทันที

1.3.3.2. ควรให้ทารกเรียนรู้การทานอาหารเสริมจากช้อนไม่ควรใส่อาหารเสริมในขวดนมที่เจาะรูหัวนมให้กว้างขึ้นเพื่อให้ทารกดูด

1.3.3.3. ให้อาหารก่อนให้นมหรือให้ในขณะที่ทารกกำลังหิวเพราะถ้าทารกอิ่มจะปฏิเสธอาหารเสริม

1.3.3.4. ขณะให้อาหารเสริมควรยิ้มและพูดกับทารกให้ทารกมีความสุขกับการได้รับอาหารไม่ควรบังคับหรือลงโทษถ้าทารกปฏิเสธอาหาร

1.3.3.5. เมื่อทารกสามารถทานอาหารเสริมได้มากขึ้นควรลดปริมาณนมลง

1.4. อาหารเสริมที่ให้ครั้งแรกควรบดให้ละเอียดและลื่นคอแล้วค่อยบดหยาบเมื่อทารกมีฟันขึ้นอาจให้อาหารเป็นชิ้นเล็กๆในขนาดที่ทารกสามารถเคี้ยวได้

1.5. ขณะป้อนอาหารเสริมทารกจะห่อปากเอาลิ้นดุนอาหารออกมาเมื่อทารกได้รับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว (Extrusion reflex) ลักษณะดังกล่าวจึงไม่ใช่ทารกปฏิเสธอาหารปฏิกิริยาสะท้อนนี้จะหายไปเมื่อทารกอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป

1.6. 1.4ปัญหาโภชนาการในเด็กและการดูแล

1.6.1. โรคโลหิตจางจากการขาดเหล็ก

1.6.1.1. ผลกระทบ ซีด สมรรถภาพทางกายลดลง ติดเชื้อง่าย

1.6.1.2. แหล่งอาหาร ผักกูด ผักแง่น ถั่วฝักยาว พริกหวาน ใบแมงลัก ยอดมะกอก ใบกะเพรา เนื้อสัตว์ตับไข่แดง วิตามินซีจะช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก

1.6.2. สาเหตุ ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ พยาธิปากขอ ความผิดปกติในการย่อยและการดูดซึมเหล็ก

1.6.3. โรคเหน็บชาจากการขาดวิตามินบี1

1.6.3.1. สาเหตุ ได้รับวิตามินบี1น้อย

1.6.3.1.1. อาการ หอบเหนื่่อยหัวใจเต้นเร็ว อาเจียน ตัวเขียวถ้าไม่ได้รับการรักษาจะตายภายใน1-2ชั่วโมง หนังตาบนตก ชัก

1.6.3.2. แหล่งอาหาร เนื้อหมู ถั่วเหลือง

1.6.4. โรคปากนกกระจอกจากการขาดวิตามินบี2

1.6.4.1. อาการ มีรอยแตกที่มุมปาก ริมฝีปากแตก ลิ้นบวมแดง ระคายเคืองตา มองไม่ชัด

1.6.4.2. แหล่งอาหาร ผักใบเขียว ถั่วนม เนื้อสัตว์ไข่แดง ตับ

1.6.5. โรคตาบอดแสงจากการขาดวิตามินเอ

1.6.5.1. แหล่งอาหาร ไข่แดง น้ำมันตับปลา ตับ พืชผักสีเหลือง ผักบุ้ง ตำลึง

1.6.6. Marasmus

1.6.6.1. ขาดทั้งโปรตีนและพลังงาน

1.6.6.2. ผอมแห้ง กล้ามเนื้อลีบ ไขมันใต้ผิวหนังน้อย

1.6.7. Kwashiorkor

1.6.7.1. ขาดโปรตีน

1.6.7.2. บวม กดบุ๋ม ผิวหนังวาว หรือหยาบเหมือนหนังคางคก ติดเชื้อง่าย

2. การส่งเสริมพัฒนาการและส่งเสริมสุขภาพ

2.1. การส่งเสริมพัฒนาการด่านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม จริยธรรมตามวัย

2.1.1. พัฒนาการ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของความสามารถหรือการทไหน้าที่ของบุคคล

2.1.1.1. หลักของพัฒนาการ

2.1.1.1.1. พัฒนาการเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องไม่มีการข้ามขั้นเช่นชั้นคอได้ก่อนพลิกคว่ำพลิกหงาย

2.1.1.1.2. อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากันบางคนเร็วบางคนช้า

2.1.1.1.3. ทิศทางของพัฒนาการจะเริ่มจากแนวศีรษะสู่ปลายเท้าชันคอคว่ำหงายนั่งคลานยืนเดิน

2.1.1.1.4. พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อนกล้ามเนื้อมัดเล็ก

2.1.2. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว

2.1.2.1. กล้ามเนื้อมัดใหญ่

2.1.2.1.1. 1 เดือนเริ่มชันคอได้ดึงแขนจากท่านอนเป็นนั่งศีรษะตกไปด้านหลัง

2.1.2.1.2. 2 เดือนท่านอนคว่ำยกศีรษะได้ 45 องศา

2.1.2.1.3. 3-4 เดือน Chest up

2.1.2.1.4. 5-6 เดือนพลิกคว่ำพลิกหงายนั่งโดยใช้มือยันได้ชั่วครู่

2.1.2.1.5. 10-12 เดือนเกาะเดินตั้งไข่เดินได้ 2-3 ก้าว

2.1.2.1.6. 16-18 เดือนปีนป่ายตามเฟอร์นิเจอร์

2.1.2.2. 13-15 เดือนเดินได้ขว้างปาสิ่งของโยนลูกบอล

2.1.2.3. กล้ามเนื้อมัดเล็ก

2.1.2.3.1. 3-4 เดือนคว้าวัตถุที่อยู่ใกล้ได้

2.1.2.3.2. 2-3 ปีจับดินสอด้วยนิ้ววาดวงกลมตามแบบร้อยลูกปัดขนาดใหญ่

2.1.2.3.3. 5-6 เดือนหยิบของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่นจับขวดนมได้เอง

2.1.2.3.4. 7-9 เดือนหยิบของโดยใช้นิ้วได้ชอบเอานิ้วแหย่ตามช่องต่างๆ

2.1.2.3.5. 13-15 เดือนต่อบล็อกไม้ได้ 2 ชั้น

2.1.2.3.6. 16-18 เดือนต่อบล็อกไม้ได้ 3 ชั้นขีดเส้นตรงแนวตั้งตามแบบได้พยายามหมุนลูกบิดประตู

2.1.2.3.7. 3-4 ปีใช้กรรไกรตัดกระดาษได้

2.1.3. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม

2.1.3.1. 7-9 เดือนกลัวคนแปลกหน้า

2.1.3.2. 10-12 เดือนดื่มน้ำจากแก้ว

2.1.3.3. 16-18 เดือนใช้ช้อนตักอาหารแต่ยังหกเล็กน้อย

2.1.3.4. 19-24 เดือนแปรงฟันโดยมีผู้ช่วยล้างและเช็ดมือเองได้ใส่กางเกงยางยืดได้

2.1.4. พัฒนาการด้านสติปัญญาและจริยธรรม

2.1.4.1. ระดับจริยธรรมที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง

2.1.4.1.1. ทางจริยธรรมในช่วงวัยเด็กพ่อแม่มักเป็นผู้วางกำหนดกฏเกณฑ์เด็กในวัยนี้จะเก็บกดความต้องการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของตนเองและยอมรับเอากฎเกณฑ์ที่พ่อแม่กำหนดเพราะกลัวการลงโทษและจะทำดีเพราะต้องการรางวัลหรือสิ่งที่ทำให้ตนเองเกิดความพอใจ

2.1.4.2. ระดับจริยธรรมตามที่สังคมยอมรับ

2.1.4.2.1. เป็นพัฒนาการทางจริยธรรมในช่วงวัยเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาผู้เรียนจะยอมรับพฤติกรรมทางศีลธรรมจรรยาและกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่

2.1.4.3. ระดับจริยธรรมที่ยึดถือหลักการเหนือกฎเกณฑ์ที่สังคมสร้างขึ้น

2.1.4.3.1. เป็นพัฒนาการทางจริยธรรมในวัยผู้ใหญ่การแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรมในระดับนี้ยึดถือหลักการความถูกต้องตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่ตนเองหรือกลุ่มยึดถือโดยผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีตามความเชื่อหรือหลักการที่กลุ่มยอมรับพฤติกรรมทางจริยธรรมในระดับนี้ยึดถืออุดมการณ์และความเชื่อ

2.1.5. พัฒนาการด้านภาษา

2.1.5.1. อายุ1เดือน

2.1.5.1.1. ตอบสนองต่อเสียงดัง เช่นสะดุ้ง ส่งเสียงร้องเมื่อหิว

2.1.5.2. อายุ2-3เดือน

2.1.5.2.1. สนใจเสียงพูด หันตามเสียงเรียก ทำเสียงอ้อแอ้เมื่อม่ความพอใจ ไม่พอใจ

2.1.5.3. อายุ5-6เดือน

2.1.5.3.1. แยกทิศทางของเสียง หันศีรษะไปทางด้านที่มีเสียง หัดเปล่งเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ

2.1.5.4. อายุ9เดือน

2.1.5.4.1. ทำตามคำสั่งง่ายๆ เริ่มพูดตาม พูดเป็นคำๆ

2.1.5.5. อายุ10-12เดือน

2.1.5.5.1. เข้าใจคำพูด เริ่มพูดคำที่มีความหมาย

2.1.5.6. อายุ1.6ปี

2.1.5.6.1. ทำตามคำสั่งที่ยากขึ้น ชี้อวัยวะ พูดคำ2พยางค์ได้ บอกความต้องการง่ายๆ

2.1.5.7. อายุ2-2.6ปี

2.1.5.7.1. เข้าใจประโยคคำถาม พูดโต้ตอบ

2.1.6. ทฤษฎีพัฒนาการจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

2.1.6.1. อิต เกิดจากสัญชาตญาณซึ่งอยู่ใต้จิตสำนึกเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตนเองทันที

2.1.6.2. อีโก้ เป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพที่อยู่ในจิตสำนึก

2.1.6.3. ซูเปอร์อีโก้ เป็นองค์ประกอบของบุคลิกภาพที่พัฒนาจากอีโก้ส่วนประกอบของจิตที่ประกอบด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

2.2. การคัดกรองและพิจรณาส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการแต่ล่ะช่วงวัย

2.2.1. เป็นแบบประเมินที่จำแนกตามอายุ หากผิดปกติจะต้องแนะนำไปพบแพทย์

2.3. การแก้ปัญหาพฤติกรรมผิดปกติตามวัยดูดนิ้วอิจฉาน้อง

2.3.1. อิจฉาน้อง พี่เด็กควรได้รับการกระตุ้นให้ช่วยดูแลน้องเช่นอาบน้ำเปลี่ยนผ้าอ้อมทำทุกอย่างให้เด็กรู้ว่ายังเป็นที่รักของบิดามารดา

2.3.2. การดูดนิ้วหัวแม่มือ ค่อยๆหาสาเหตุและใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจตำหนิเด็กถ้าจะดึงนิ้วออกต้องค่อยๆทำ