Kom i gang. Det er Gratis
eller tilmeld med din email adresse
Electroconvulsive Therapy : ect af Mind Map: Electroconvulsive  Therapy : ect

1. การทำECTคืออะไร

1.1. เป็นการทำชักโดยใช้กระแสไฟฟ้าในปริมาณที่เหมาะสมผ่านเข้าไปในสมอง ทางขั้วตัวนำไฟฟ้าซึ่งวางไว้บริเวณขมับทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ปริมาณ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในสมองผู้ป่วย โดยทั่วไปอยู่ในช่วงระหว่าง 70-150 โวลท์เวลาที่ปล่อยกระแสไฟฟ้า ประมาณ 2-8 วินาที และมีผลให้เกิดการชักประมาณ 25-60 วินาที จึงจะ มีผลต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

2. ผู้ป่วยที่ใช้ ECT รักษาได้ผลดี

2.1. Depressive episode โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้าอย่างมากถึงขนาดคิดฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก

2.2. Schizophrenia โดยเฉพาะ catatonic type

3. ชนิดของการทำECT

3.1. แบ่งตามการวางอิเลคโทรด

3.1.1. 1. Bilateral เป็นการทำ ECT ที่วางอิเลคโทรดบริเวณ temporal area ของศีรษะทั้งสองข้าง

3.1.2. 2. Unilateral nondominant เป็นการทำ ECT ที่วางอิเลคโทรดทั้ง 2 บนศีรษะข้างเดียวกันกับมือที่ถนัด

3.2. แบ่งตามการใช้ยาสลบ

3.2.1. 1. Unmodified ECT เป็นการทำ ECT โดยไม่ใช้ยาสลบซึ่งจะใช้มากในโรงพยาบาลจิตเวชที่มีผู้ปวยมาก แต่บุคคลกรทางการแพทย์มีน้อยผลแทรกซ้อนจากการทำ ECT วิธีนี้พบได้มากกว่าวิธี modified ECT

3.2.2. 2. Modified ECT เป็นการทำ ECT โดยใช้ยาน่าสลบนิยมใช้ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการดมยาสลบ

4. ขั้นตอนการทำECT

4.1. 1. ให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงเรียบแข็งพอควรไม่หนุนหมอนต่อ scalp vein เพื่อเตรียมให้ยา

4.2. 2. เตรียมเครื่อง ECT ให้พร้อมและติดอิเลคโทรดที่ขมับทั้ง 2 ข้างทา electrode jelly บนด้านที่ติดกับผิวหนังต่อเครื่องวัด EKG, BP, เครื่องวัด oxygen saturation

4.3. 3. ให้ผู้ปวยสุดออกซิเจน 100% 2-3 นาที

4.4. 4. ฉีด pentothal sodium 5 มก. / กก. เข้าเส้นเพื่อทำให้คนไข้หลับปัจจุบันนิยมใช้ methohexital (Brevital)

4.5. 5. ฉีด succinylcholine 0.5-1.5 มก. / กก. เข้าเส้นจะเห็น fasciculation ของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายทดสอบการคลายตัวของกล้ามเนื้อเต็มที่ด้วยการตรวจ Babinski's sign หรือดึงคางจะอ้าปากขึ้นได้ง่า

4.6. 6. ใช้ anasthetic mask ที่ต่อกับ ambu bag และออกซิเจน 100% ครอบจมูกบีบ ambu bag เพื่อช่วยการหายใจของผู้ปวย

4.7. 7. กดปุ่มที่เครื่อง ECT เพื่อให้กระแสไฟฟาผ่านเข้าไปในสมองของผู้ป่วยระหว่างนี้ต้องจับคางผู้ปวยไว้ด้วยเพราะถึงแม้จะให้ยาคลายกล้ามเนื้อแล้ว แต่อาจมีการกระตุกของคางได้เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าถูกกระตุ้นโดยตรงจากกระแสไฟฟ้าได้

4.8. 8. ผู้ป่วยจะชักซึ่งมีลักษณะเหมือน grand mal seizure ระยะเวลาของการชักต้องไม่น้อยกว่า 25 วินาทีระหว่างชักต้องให้ ventilation เพิ่มขึ้นและเมื่อหยุดชักแล้วก็ต้องช่วยต่อไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เองซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 นาที

5. การพยาบาล

5.1. ก่อนทำ -ด้านร่างกายงดน้ำงดอาหารหลังเที่ยงคืนตรวจวัดสัญญาณชีพถอดฟันปลอมสิ่งของมีค่า •ด้านจิตใจประเมินความวิตกกังวลอธิบายถึงความจำเป็นและข้อดีของการรักษา

5.2. ขณะทำจัดทำให้ผู้ป่วยนอนหงายราบบนเตียงบันทึก Vital Sign คาดแผ่น Electrode ที่ขมับใส่ mouth guard เพื่อป้องกันการเกิดแผลในปากและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ

5.3. หลังทำเมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจได้เองจะย้ายผู้ป่วยไปที่ห้องพักฟื้นะทำการวัดสัญญาณชีพประเมินอาการสับสนมึนงงระวังอุบัติเหตุตกเตียง