กระบวนการวิจัย

Iniziamo. È gratuito!
o registrati con il tuo indirizzo email
กระบวนการวิจัย da Mind Map: กระบวนการวิจัย

1. ตัวอย่างการเรียบเรียงทบทวนวรรณกรรมที่ไม่ดี

1.1. นำของเขามาทั้งหมดคัดลอกมาทั้งหมด

2. ตัวอย่างการเรียบเรียงทบทวนวรรณกรรมที่ดี

2.1. มีการนำมาเรียบเรียงใหม่และอ้างอิงในเนื้อหา

2.2. ต้องสรุปในแต่ละประเด็นที่ทบทวนทุกครั้งในตอนท้าย

3. 2)การนำทฤษฎีมาใช้ใ้นงานวิจัย

3.1. เป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้องในส่วนขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยซึ่งจะเกี่ยวข้องกับแนวคิด และทฤษฎีของปัญหาการวิจัยที่ต้องการศึกษาทั้งหมดโดยมีความสัมพันธ์กับตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหัวข้อที่ ต้องการศึกษา ซึ่งได้จากการทบทวนเอกสารแนวคิดทฤษฎีต่างๆ

3.2. การทบทวนวรรรกรรมเพื่อกรอบความคิดทางทฤษฎี

3.2.1. -ต้องทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับประเด็นการวิจัย

3.2.2. -ต้องเรียบเรียงตัวแปรทั้งหมดที่ได้จากหลายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องประเด็นการวิจัย

3.2.3. -สร้างกรอบความคิดทางทฤษฎีของทุกทฤษฎีที่เชื่อมโยงับตัวแปรที่ได้จากการทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

3.2.4. -เมื่อได้กรอบความคิดทางทฤษฎีที่แสดงถึงตัวแปรทั้งหมดของแต่ละทฤษฎีจะนำไปสู่การเลือกตัวแปรที่สำคัญที่จะใช้ในงานวิจัยซึ่งขึ้นกับบริบทของงานวิจัย

4. กรอบความคิดทางทฤษฎี (Theoretical framework)

4.1. ความสำคัญของกรอบความคิดทางทฤษฎี

4.1.1. 1.ช่วยตั้งคำถามการวิจัยหรือเป็นที่มาของคำถามการวิจัย

4.1.2. 2.การกำหนดกรอบแนวคิดทางทฤษฎีที่ชัดเจนและครอบคลมุจะช่วยให้ผู้วิจัย สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.1.3. 3.ลดความซ้ำซ้อนในการเลือกใช้ตัวแปร

4.1.4. 4.เป็นฐานในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย(ConceptualFramework)

4.2. แนวคิดเกีายวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาซึ่งได้จากการทบทวนเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

4.3. ตัวอย่างกรอบแนวคิดทฤษฎี (Theoretical Framework)

4.3.1. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

4.3.1.1. ผลการเรียนเดิม

4.3.1.2. การเลี้ยงดู

4.3.1.3. วิธีการสอนของครู

4.3.1.4. รูปแบบการเรียน

4.3.1.5. การเอาใจใส่ของครอบครัว

5. 3)กรอบแนวคิดการวิจัย(Conceptual Framework)

5.1. ความหมาย การแสดงหรืออธิบายตัวแปรทั้งหมดที่ต้องการศึกษาร่วมกับการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดโดยนักวิจัยจะเลือกตัวแปรบางตัวที่เกี่ยวข้องจริงในบริบทสถานการณ์ หรือที่นักวิจัยคิดว่าเกี่ยวข้องและเป็นตัวแปรที่มีค่าแปรเปลี่ยนจริง(ไม่ได้เลือกทั้งหมดจากกรอบแนวคิดทางทฤษฎีที่ทบทวนไว้)

5.2. ตัวอย่างกรอบแนวคิดการวิจัย

5.2.1. การเลี้ยงดู

5.2.2. วิธีการสอนของครู

5.2.3. รูปแบบการเรียน

5.2.4. จากตัวอย่างตัวแปรอิสระ คือ การเลี้ยงดู วิธีการสอนของครู และ รูปแบบการเรียนมีผลต่อการตัวแปรตามคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

5.3. รูปแบบของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย(Conceptual Framework)

5.3.1. 1.แบบบรรยายเป็นการใช้ถ้อยคำบรรยายความเกี่ยวเนื่องลำดับ ก่อน-หลังหรือบรรยายความสัมพันธ์ของตัวแปรลักษณะนี้จะไม่ แสดงความชัดเจนของตัวแปรมากนัก

5.3.2. 2.แบบฟังชั่นทางคณิตศาสตร์วิธีนี้นิยิมใช้ในการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์เป็นการพยายามอธิบายเรื่องราวทั้งหมดด้วยวิธีการหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

5.3.3. 3.แบบแผนภูมิเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ต้องการศึกษาและแสดงลำดับการเกิดก่อนหลังของตัวแปรนอกจากนี้แผนภูมิที่สร้างขึ้น สามารถแสดงความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งนำไปสู่การใช้เทคนิคทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ต่อไป

6. 2.2 การทบทวนวรรณกรรม และกรอบแนวคิด

7. 1) การทบทวนวรรณกรรม(Review Literature)

7.1. ความหมาย การศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านองค์ความรู้แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาการวิจัยให้ครอบคลุมที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาแล้วนำมาสังเคราะหเ์พื่อใช้ประโยชน์

7.2. วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

7.2.1. 1.เพื่อศึกษาทบทวนองค์ความรู้และทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัยตลอดจนการทบทวนงานวิจัยที่มีการศึกษาก่อนแล้วในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสังเคราะห์ใช้ประโยชน์

7.2.2. 2.หาความสำคัญของปัญหาจากทบทวนและตรวจสอบบริบทของการศึกษา

7.2.3. 3.เพื่อกำหนดตัวแปรนิยามตัวแปรที่สำคัญ

7.2.4. 4.นำไปสู่การตั้งสมมติฐานการวิจัย

7.2.5. 5.สร้างกรอบแนวคิดการวิจัย

7.2.6. 6.การออกแบบการวิจัยที่จะศึกษา

7.3. แนวทางการเขียนและเรียบเรียงวรรณกรรม

7.3.1. 1.บันทึกสาระสถิติ/ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือที่สัมพันธ์กับงานวิจัยที่จะทำ

7.3.2. 2.เมื่อทบทวนเอกสารนั้นๆและพบว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นของวิจัยที่ต้องการศึกษาจะต้องทำบรรณานุกรมเก็บไว้ โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ ชื่อบทความ/ ตำรา ชื่อวารสาร เลขหน้าตามหลักการอ้างอิง(ปัจจุบันมีโปรแกรมจัดทำบรรณานุกรมที่สามารถนำข้อมูลเข้าแล้วจัดตามแบบได้เช่นEndnote หรือ อื่นๆ)

7.3.3. 3.การนำมาเขียนเรียบเรียงในงานวิจัยต้องนำมาสังเคราะห์เป็นข้อความที่ผู้วิจัย สรุปสาระแล้วไม่ควรคัดลอกต้นแบบทั้งย่อหน้าเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกวิจัย(Plagiarism)ซึ่งมีผลต่อจรรยาบรรณนักวิจัย

7.3.4. 4.การเขียนและเรียบเรียงเนื้อหาทบทวนวรรรกรรมประเด็นหัวข้อต่างๆจะต้องการเขียนสรุปในตอนท้ายของประเด็นนั้นกำกับทุกครั้ง

7.3.5. 5.จะต้องมีการอ้างอิงในเนื้อหา(Intextreference)กำกับทุกครั้งเมื่อเนื้อหานั้นนำมา เขียน(ซึ่งต้องเขียนเนื้อหานั้นแบบสังเคราะห์

7.3.6. 6.การเขียนควรใช้สำนวนทางวิชาการและการเสนอความคิดเห็นหรือวิจารณ์ใดๆควรอยู่บนพื้นฐานของหลักการทางการวิจัยห้ามใช้ความรู้สึกหรือสามัญสำนึกส่วนตัวเขียน

7.3.7. 7.การเขียนควรเรียบเรียงเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยไม่ควรเอาส่วนที่เกี่ยวข้องน้อยมากมาลงในวิจัยเพื่อต้องการให้ดูว่ามีเนื้อหามาก

7.4. ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม

7.4.1. สืบค้นการวิจัย

7.4.1.1. รวบรวมและสังเคราะห์

7.4.1.1.1. เรียบเรียงเขียน

7.5. เน้ือหาท่ีต้องทบทวนจากวรรณกรรม

7.5.1. 1.สถานการณ์ที่เป็นปัญหาต่างๆในประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษา เพื่อนำไปสู่การหาความสำคัญของปัญหาที่ต้องทำวิจัย

7.5.2. 2.องค์ความรู้ต่างๆรวมทั้งแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องต่างๆเพื่อการวิเคราะห์ และตัดสินใจนำไปใ้ช้ในการวิจัยครั้งนี้

7.5.3. 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องทบทวนทั้งหมดในงานวิจัยนั้นคือเนื้อหาวิชาการเนื้อเรื่องตัวแปรที่ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยผลการวิจัยและข้อสรุปเพื่อนำไปสังเคราะห์และใช้ในงานวิจัย(ไม่ควรคัดลอกทั้งเนื้อหา)งานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเนื้อหาข้อมูลที่ทันสมัยมีการพิมพ์ล่าสุดหรือไม่เกิน5ปี

7.5.4. 4.เครื่องมือวิจัยและเครื่องมือเก็บข้อมูล(แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์)เพื่อเป็น แนวทางในพิจารณาหรือการประยุกต์ในการศึกษา

7.5.5. 5.สถิติและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดปัญหาการวิจัยสมมุติฐานการวิจัยขอบเขตการนิยามตัวแปรและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล

7.5.6. 6.รูปแบบการเขียนรายงานเพื่อเป็นการเรียนรู้แนวทางการเขียนรายงานผลการวิจัยความลุ่มลึกและความเชื่อมโยงของงานวิจัยที่ผ่านมา

7.6. การสืบค้นเอกสาร

7.6.1. ห้องสมุด - หนังสือ -วารสาร (E-Book, OPAC ) - วิทยานิพนธ์(E-Theses, ProQuest etc. ) - Periodic Publication (SCOPUS, PubMed etc.)

7.6.2. นอกห้องสมุด - เอกสาร - สถิติของสำนักงาน/ กรม /กอง/ กระทรวง

8. 4)นิยามตัวแปร/นิยามศัพท์(Variable Definition)

8.1. ความหมาย เป็นการให้ความหมายของตัวแปรต่างๆที่จะศึกษาทั้งหมดทุกตัวแปรที่ปรากฏในวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือสมมุติฐการวิจัยหรือที่กำหนดไว้ใ้นกรอบแนวคิดการวิจัยส่วนใหญ่จะให้นิยามเฉพาะตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม

8.2. ชนิดของนิยามตัวแปร

8.2.1. 1. การนิยามทั่วไป (General definition)

8.2.1.1. เป็นการให้ความหมายกว้างๆตามแนวคิดทฤษฎีหรือตามพจนานุกรมการนิยามในระดับนี้ที่ทำให้ผู้วิจัยรู้ความหมายและขอบข่ายอย่างกว้างๆของตัวแปรซึ่งไม่แจกแจงได้ว่าจะวัดอะไร อย่างไร

8.2.1.1.1. เช่น หัวข้อวิจัย

8.2.1.2. การรับรู้ความสามารถของตนเอง(Percivedselfefficacy)หมายถึง ความเชื่อมั่นของบุคคลว่าตนมีความสามารถที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นจนประสบผลสำเร็จได้ผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นความคาดหวังเกิดขค้นก่อนการกระทำพฤติกรรม

8.2.2. 2. การนิยามเชิงปฏิบัติการOperational definition or working definition)

8.2.2.1. เป็นการให้ความหมายที่ชัดเจนโดยกำหนดตัวบ่งชี้หรือรายละเอียดที่สามารถสังเกตได้วัดได้ภายในขอบข่ายของการนิยามทั่วไป

8.2.2.1.1. เช่นจากหัวข้อวิจัยเดิมจะได้นิยามเชิงปฏิบัติการ ดังนี้