ความสัมพันธ์ ภาษาและวัฒนธรรม

Iniziamo. È gratuito!
o registrati con il tuo indirizzo email
ความสัมพันธ์ ภาษาและวัฒนธรรม da Mind Map: ความสัมพันธ์ ภาษาและวัฒนธรรม

1. ภาษาเป็นเครื่องมือบันทึกวัฒนธรรม

1.1. ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญทางสังคมในการบันทึกและถ่ายทอดวัฒนธรรม เพราะว่าภาษาจะเป็นสื่อในการทำความเข้าใจและถ่ายทอดวัฒนธรรม ทั้งในด้านของการสะสมและการสืบทอด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์ต้องอาศัยภาษาในการติดต่อสื่อสาร

1.1.1. สืบทอดความรู้ ประสบการณ์

1.1.1.1. ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น มนุษย์ไม่ต้องเสียเวลาเรื่องทุกเรื่องใหม่ แต่สามารถพัฒนาค้นคว้าต่อให้เจริญก้าวหน้าต่อไป บางครั้งเมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้ภาษาอภิปรายโต้แย้งกัน ทำให้ความรู้ความคิดเจริญงอกงามยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาษาเขียนจะช่วยบันทึกเรื่องราวความรู้ต่างๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

1.1.2. รักษาประวัติศาสตร์

1.1.2.1. ภาษาช่วยรักษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่ เป็นเครื่องมือสืบสาว ความจำ เป็นสื่อจินตนาการถึงสถานการณ์ได้ชัดเจน

1.1.3. สะท้อนวัฒนธรรม

1.1.3.1. ภาษาถือว่าเป็นกระจกที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมไม่ว่าภาษานั้น จะเป็นภาษาพูดหรือแสดงอ้อมมาโดยไม่ใช้คำพูดก็ตาม เช่นท่าทาง การยืน และการสบตา รวมถึงสภาพสังคมในอดีต ดังนั้นการศึกษาภาษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาวัฒนธรรม

2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมในพื้นที่ปฏิบัติการโรงเรียน

2.1. ภาษามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรม “วัฒนธรรมสัญลักษณ์” ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้สึก ภาษาพูดและภาษาเขียน

2.2. ภาษาเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้า หรือความล้าหลังของวัฒนธรรม ชาติใดมีภาษาพูดเพียงอย่างเดียว ไม่มีภาษาเขียนใช้ แสดงว่าชาตินั้นวัฒนธรรมยังล้าหลังอยู่

2.3. ภาษาแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรม ของแต่ละสังคม เมื่อวัฒนธรรมเจริญถึงขีดสูงสุด มนุษย์รู้จักดัดแปลงฃอักษรภาพหรือเครื่องหมายให้เป็นอักษรล้วน ๆ

2.4. ภาษาเป็นเครื่องถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้มิให้สูญหาย วัฒนธรรมบางอย่างได้จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในวรรณคดี จดหมายเหตุ ตำนาน พงศาวดาร ทำให้เราทราบขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่โบราณ

2.5. ภาษาเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในชาติ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ความเชื่อ ความคิดของคนในชาติ ซึ่งเราอ่านพบได้จากวรรณคดี จดหมายเหตุ เพลงกล่อมเด็ก นิทานชาวบ้าน และเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ

2.6. ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับของชนชั้นหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม ภาษาไทยมีการใช้ถ้อยคาให้เหมาะสมกับฐานะบุคคล การใช้ภาษากับเครือญาติ ผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่ การใช้ราชาศัพท์

2.7. ภาษาสะท้อนให้เห็นที่มาหรือประวัติของวัฒนธรรมในสังคม นาฬิกา มากจากคำว่า นาฬิเก ซึ่งไทยยืมมาจากภาษาบาลี หมายถึง มะพร้าว คำนี้สะท้อนที่มาของการนับเวลาของคนไทยสมัยโบราณว่าจะใช้กะลามะพร้าวเจาะรูและนำไปลอยน้ำ

3. รายชื่อกลุ่ม

3.1. นายณัฐดนัย แสงคำมา 60201661

3.2. นายทศพร ธิโนชัย 60201739

3.3. นาย ณัฏฐ์ เจริญงามวงศ์วาน 60202011

3.4. นายภูริพันธ์ จันทคณนารักษ์ 60202145

3.5. นายเศรษฐ์ หม่องอิน 60202370

3.6. นายวีรปรัชญ์ นาครักษ์ 60205250

4. ภาษาเป็นวัฒนธรรม

4.1. ภาษาคือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น

4.2. มนุษย์ใช้ภาษาในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และนั่นรวมไปถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น

4.3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามตามวัฒนธรรม หรือความเป็นอยู่ของแต่ละพื้นที่ในภูมิประเทศ

4.4. วัฒนธรรมเบื้องต้นนั้นมีส่วนหนึ่งที่เรียกว่า “วัฒนธรรมทางภาษา” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความรู้หรือวัฒนธรรมนั่นเอง

4.5. ภาษาเป็นสิ่งที่รวมสังคมของมนุษย์เอาไว้ด้วยกันโดยมีวัฒนธรรม เป็นสื่อกลางในการร่วมกันสืบสานต่อไป

5. วัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย

5.1. ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม การใช้ภาษาในการสื่อสารจะเกิดผลสัมฤทธิ์ได้ก็ต้องอาศัยวัฒนธรรม คือวัฒนธรรมในการใช้ภาษานั่นเอง

5.1.1. ใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร

5.1.1.1. ใช้ภาษาเพื่อทำการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร เพื่อส่งสารที่ต้องการจะสื่อ เช่น สื่ออารมณ์ หรือ ทักทาย

5.1.2. ใช้ภาษาเพื่อสั่งสอน

5.1.2.1. ใช้ภาษาเพื่อสอนสั่งคนไทย โดยอาจมีการใช้ กลอน คติพจน์ หรือคำขวัญ เพื่อสะท้อนค่านิยมไทยและนิสัยใจคอของคนไทย ให้มีค่านิยมที่ถูกต้อง

5.1.3. ใช้ภาษาเพื่อสร้างสรรค์

5.1.3.1. ใช้ภาษาเพื่อความสุนทรีย์ มีการใช้ภาษาในงานวรรณกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นสมบัติทางภาษา จากการสร้างสรรค์