การแสวงหาข้อมูลและความรู้

Iniziamo. È gratuito!
o registrati con il tuo indirizzo email
การแสวงหาข้อมูลและความรู้ da Mind Map: การแสวงหาข้อมูลและความรู้

1. การสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์เป็นวิธีการสำคัญในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาที่หลากหลายทำให้เกิดการสังเคราะห์ความรู้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ให้เกิดขึ้นในตนเองและบุคคลในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง

2. การวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างความรู้

2.1. ความรู้

2.1.1. ความหมายของความรู้ ความรู้ คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา

2.1.2. ประเภทของความรู้ มีอยู่ 2 ประเภท คือ

2.1.2.1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) อาจเรียกง่ายๆ ว่า “ความรู้ในตัวคน” ได้แก่ ความรู้ที่เป็นทักษะ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม พรสวรรค์

2.1.2.2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจเรียกว่า “ความรู้นอกตัวคน” เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ ตำราเอกสาร

2.2. ความหมายของการคิดวิเคราะห์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ให้ความหมายของการคิดวิเคราะห์ว่าเป็นการระบุเรื่องหรือปัญหา จำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ ระบุเหตุผลหรือเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอในการตัดสินใจ/แก้ปัญหา/คิดสร้างสรรค์

2.3. การคิดวิเคราะห์

2.3.1. ลักษณะของการคิดวิเคราะห์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวถึง ลักษณะของการคิดวิเคราะห์และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์ไว้ว่า การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ประกอบเป็นการคิดวิเคราะห์แตกต่างไปตามทฤษฎีการเรียนรู้ โดยทั่วไปสามารถแยกแยะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์ ได้ดังนี้ (1) การสังเกต จากการสังเกตข้อมูลมากๆ สามารถสร้างเป็นข้อเท็จจริงได้ (2) ข้อเท็จจริง จากกการรวบรวมข้อเท็จจริง และการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงบางอย่างที่ขาดหายไป สามารถทำให้มีการตีความได้ (3) การตีความ เป็นการทดสอบความเที่ยงตรงของการอ้างอิง จึงทำให้เกิดการตั้งข้อตกลงเบื้องต้น (4) การตั้งข้อตกลงเบื้องต้น ทำให้สามารถมีความคิดเห็น (5) ความคิดเห็น เป็นการแสดงความคิดจะต้องมีหลักและเหตุผลเพื่อพัฒนาข้อวิเคราะห์

2.3.2. องค์ประกอบของการคิดวิเคราะห์

2.3.2.1. การตีความ ความเข้าใจ

2.3.2.2. การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์

2.3.2.3. การช่างสังเกต สงสัย ช่างถาม ขอบเขตของคำถาม ที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงวิเคราะห์

2.3.2.4. การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (คำถาม) ค้นหาคำตอบได้ว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เรื่องนั้นเชื่อมกับสิ่งนี้ได้อย่างไร

2.3.3. กระบวนการคิดวิเคราะห์

2.3.3.1. ขั้นที่ 1 ระบุหรือทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา

2.3.3.2. ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

2.3.3.3. ขั้นที่ 3 พิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล

2.3.3.4. ขั้นที่ 4 การจัดข้อมูลเข้าเป็นระบบ

2.3.3.5. ขั้นที่ 5 ตั้งสมมติฐาน

2.3.3.6. ขั้นที่ 6 การสรุป

2.3.3.7. ขั้นที่ 7 การประเมินข้อสรุป

3. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)

3.1. วิธีการอุปมานแบบไม่สมบูรณ์ (Imperfect inductive method) เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อย ๆ จากบางส่วนของกลุ่มประชากรแล้วสรุปรวมไปสู่ส่วนใหญ่

3.2. วิธีการอุปมานแบบสมบูรณ์ (perfect inductive method เป็นวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงย่อย ๆ จากทุกหน่วยของกลุ่มประชากรก่อนแล้วจึงสรุปไปสู่ส่วนใหญ่

4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการแสวงหาข้อมูลความรู้

4.1. แหล่งข้อมูลความรู้ การที่จะหาข้อมูลได้ต้องมีแหล่งข้อมูล ซึ่งผู้หาข้อมูลจะต้องพิจารณาได้ว่าควรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใด โดยต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ นอกจากนั้นในบางเรื่อง อาจจำเป็นต้องหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลมากกว่า 1 แหล่งข้อมูลเพื่อการยืนยันและการได้มาซึ่งข้อมูลอย่างรอบด้าน

4.1.1. บุคคล

4.1.2. สื่อมวลชน

4.1.3. สถาบัน

4.1.4. อินเทอร์เน็ต

5. วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ (Methods of acquiring knowledge)

5.1. การสอบถามจากผู้รู้ (Authority)

5.2. การศึกษาจากขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition)

5.3. การใช้ประสบการณ์ (Experience)

5.4. วิธีการอนุมาน (Deductive method)

5.5. วิธีการอุปมาน (Inductive method)

5.6. การตั้งคำถามเพื่อการแสวงหาข้อมูล ต้นทางที่นำไปสู้การวิเคราะห์และประมวลที่มีคุณภาพจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบที่มีคุณค่า

6. การแสวงหาข้อมูลและความรู้ (Information and knowledge seeking)