Iniziamo. È gratuito!
o registrati con il tuo indirizzo email
FB : amata da Mind Map: FB : amata

1. #ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง #ให้มากกว่าการฟื้นฟู #น้ำพุร้อนเค็ม #คลองท่อม #กระบี่ #พบกันเร็วๆนี้

2. เสร็จแล้ว

2.1. Content 1

2.1.1. ภาพที่ 1 : ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

2.1.1.1. ภาพที่ 2 เป็นมากกว่าการฟื้นฟู

2.1.1.1.1. การนำธรรมชาติบำบัดที่มี หนึ่งเดียวของประเทศ อย่าง น้ำพุร้อนเค็ม มาเป็นตัวช่วยสำคัญในการฟื้นฟู

2.1.1.1.2. ด้วยศักยภาพของทีมงานมืออาชีพด้านการฟื้นฟู

2.1.1.1.3. เครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์สำหรับการฟื้นฟูครบถ้วน

2.1.1.2. ภาพที่ 3 เป็นพื้นที่ของทุกคนในครอบครัว

2.1.1.2.1. ทุกพื้นที่ถูกออกแบบมาเพื่อการฟื้นฟู

2.1.1.2.2. ให้ความสำคัญกับความกลมกลืนของธรรมชาติในพื้นที่

2.1.1.2.3. คำนึงถึงญาติและครอบครัวที่จะมาเป็นกำลังของผู้ป่วย ด้วยพื้นที่ส่วนตัวและกิจกรรมผ่อนคลายภายในศูนย์

2.1.1.3. ภาพที่ 4 พบกันเร็ว ๆ นี้

2.1.2. ทำ picpost ใช้รูปตัวอย่างการออกแบบของศูนย์ อมตะ เป็นภาพประกอบ

2.2. Content 2

2.2.1. ภาพที่ 1 สิ่งที่จะได้พบ ที่ Amata Helthcare

2.2.1.1. ภาพที่ 2 ที่พักสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบ Exclusive

2.2.1.2. ภาพที่ 3 สำหรับญาติและบุคคลทั่วไป : การให้บริการแช่น้ำพุร้อนแบบส่วนตัว (แยกกับพื้นที่ของผู้ป่วย)

2.2.1.3. ภาพที่ 4 การให้บริการนวดแผนไทย

2.2.2. ทำ picpost ใช้รูปตัวอย่างการออกแบบของศูนย์ อมตะ เป็นภาพประกอบ

2.3. Content 3

2.3.1. อัตราเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองสูงติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศไทย (picpost)

2.3.2. การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้ผู้ป่วยมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรม การใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป ทำให้ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ค่อยออกกำลังกาย และความเครียด ล้วนมีผลต่อโรคนี้ แต่ผู้สูงอายุมีปัจจัยเรื่องความเสื่อมหรือโรคต่าง ๆ จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรค หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลจาเป็นต้องมีการฟื้นฟูร่างกาย รักษาโดยการทากายภาพ และ ดูแลอย่างใกลิชิด เนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เวลาพักฟื้นและการทากายภาพเป็นสิ่งสาคัญในการกาหนดสภาพของผู้ป่วย จากสถิติ 25% ของผู้ป่วยหายดี 30% ร่างกายเสียหายเล็กน้อย 15% ร่างกายพิการปานกลาง และ 15% พิการถาวร เวลาเฉลี่ยที่ร่างกายสามารถรักษาและฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ 6 เดือน หลังจากนั้นร่างกายจะจาและปรับตัวฟื้นฟูช้ากว่า 6 เดือนแรก ศูนย์พักฟื้นเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จึงเป็นทางเลือกสาหรับ ญาติ และ ตัวผู้ป่วยที่ต้องการความสะดวกในการดูแลรักษา ฟื้นฟูจากพยาบาล นักกายภาพบาบัด และ ผู้ดูแล ที่มีประสบการณ์และมีใบประกอบวิชาชีพ เพื่อให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติมากที่สุด

2.4. Content 4

2.4.1. แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยเข้ารับการฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง

2.4.2. ทำรูปตามไฟล์แนบ ชื่อไฟล์ 1.jpg

2.4.3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น หลังจากรักษาแล้ว จะพบความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองและอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองควรได้รับการดูแล ฟื้นฟูสภาพที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การประเมินผู้ป่วยเพื่อการคัดกรอง เข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพดังนี้ 1. สภาวะทางการแพทย์ 2. สมรรถภาพของร่างกาย การเคลื่อนไหว ระบบประสาท การรับความรู้สึกต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยได้รับการประเมินแล้ว จึงจะจัดแผนการฟื้นฟู ให้ตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย

2.4.4. แหล่งที่มาข้อมูล : ผศ.พญ. ภัทรา วัฒนพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2.5. content 5

2.5.1. 5 สัญญาณอันตราย โรคหลอดเลือดสมอง 1. ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน 2. อาการชาครึ่งซีก หน้าชา ปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง 3. พูดลำบาก ฟังไม่เข้าใจ 4. เวียนศีรษะ บ้านหมุน เดินเซ 5. ปวดศีรษะรุนแรง

2.6. Content 6

2.6.1. ความคืบหน้าของโครงการ

2.6.2. รอรูปภาพ

2.7. Content 7

2.7.1. ทำเลที่ตั้งของโครงการ

2.7.2. แผนที่จากระบี่ ไปโครงการ

2.7.2.1. draft จาก google map

2.7.3. https://goo.gl/maps/pLFAGFX3rhWHCFXy7

2.8. Content 8

2.8.1. สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง 1. สมองขาดเลือดไปเลี้ยง (Acute ischemic stroke) เกิดได้จาก 3 สาเหตุ o หลอดเลือดที่เลี้ยงสมองมีการเสื่อม เกิดการแข็งตัวและค่อยๆ ตีบลงจนอุดตันในที่สุด o มีลิ่มเลือดหรือก้อนไขมันหลุดจากหัวใจหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ ไหลไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง o ความดันเลือดลดต่ำลงจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ 2. เลือดออกในสมอง (Acute hemorrhagic stroke) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ o ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral hemorrhage) o ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ( Subarachnoid hemorrhage)

2.9. content20

2.9.1. 351674_Info swallowing.docx รููปที่ 1 เป็นภาพผู้สูงอายุกำลังฝึกบริหารกล้ามเนื้อปาก กำลังนวดปาก จับปาก แล้วมีคนยืนข้างหรือไม่มีก็ได้ ข้อความ แนะนำ 5 วิธี การฟื้นฟูกล้ามเนื้อปากได้ด้วยตัวเอง รูปที่ 2 ท่าบริหารกล้ามเนื้อริมฝีปาก ข้อความ ท่าบริหารกล้ามเนื้อริมฝีปาก รูปที่ 3 ท่าบริหารลิ้น ข้อความ ท่าบริหารลิ้น รูปที่ 4 นวดเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อริมฝีปาก ข้อความ นวดเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อริมฝีปาก รูปที่ 5 นวดเพื่อช่วยการยกคอหอยและโคนลิ้น ข้อความ นวดเพื่อช่วยการยกคอหอยและโคนลิ้น "รูปที่ 6 นวดเพื่อออกกำลังกล้ามเนื้อลิ้น " "ข้อความ นวดเพื่อออกกำลังกล้ามเนื้อลิ้น "

2.10. content22

2.10.1. Zum Anzeigen anmelden oder registrieren ทำเนื้อหาตามนี้แยกออกเป็น 2 content - รูปแบบไม้เท้า - การเลือกไม้เท้า

2.11. content23

2.11.1. "สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการในแต่ละวัน โปรตีน ได้จากเนื้อสัตว์ต่างๆ ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 44-51 กรัม หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ไขมัน ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด และน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ควรทานไขมันไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานทั้งหมด และเลือกทานไขมันดีแทน คาร์โบไฮเดรต ผู้สูงอายุควรได้รับประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด และหลีกเลี่ยงน้ำตาล รวมถึงของหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ วิตามิน ช่วยในการเผาผลาญอาหาร และทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เพิ่มภูมิต้านทานโรค ผู้สูงอายุควรทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยในการขับถ่าย และทำให้ไม่เกิดอาการตัวชาอีกด้วย เกลือแร่ ผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม และฟอสฟอรัสประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน น้ำ น้ำที่ดื่มควรเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ไตของผู้สูงอายุ ควรดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วน้ำ "

2.12. Content 24

2.12.1. สำหรับผู้ป่วยฟื้นฟู ท่านั่งในการรับประทานอาหาร ต้องได้รับการจัดท่านั่งให้ถูกต้อง เพื่อให้สะดวกและไม่เป็นอันตรายในการเคี้ยวหรือกลืน

2.12.2. https://drive.google.com/drive/u/1/folders/1ooJaBtIdZT2n8bQSoMw2IercDZ24u-mC

2.13. Content 25

2.13.1. Infographic 6 วิธีกำจัดความเหงาให้ญาติผู้ใหญ่ของคุณ 6 วิธี ทำอย่างไรไม่ให้ผู้สูงอายุในบ้านไม่เหงา ทำคล้าย ๆ ในตัวอย่าง เปลี่ยนข้อความตามนี้ 1.มีกิจกรรมทำยามว่าง ไม่ว่าจะเป็นอ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ ร้องเพลง ขอให้เป็นกิจกรรมที่ชอบ ก็เพลินกันจนลืมเวลา 2.ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ เติมความรู้ให้กับตัวเอง เรียนทำอาหาร เรียนภาษาใหม่ ๆ หรือเรียนคอร์สสั้น ๆ อะไรก็ได้ที่ชอบ 3.เลี้ยงสัตว์ เพื่อนตัวเล็ก นี่แหละ ทำให้แต่ละวันผ่านไปอย่างรวดเร็ว 4.พบปะผู้คน เพื่อนใหม่ เพื่อนเก่า ที่มีกิจกรรมทำร่วมกัน จะเหงาได้ยังไง 5.เล่นอินเตอร์เน็ต เปิดโลกกว้าง เพื่อพบข้อมูลใหม่ ๆ 6. ทำกิจกรรมอาสา หรือ ทำสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับส่วนรวม อาจจะเป็นเรื่องที่มีความรู้อยู่แล้ว การให้สร้างความสุขได้จริง ๆ นะ

2.14. Content 26

2.14.1. โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมี 8 โรค คือ ข้อเข่าเสื่อม หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง ภาวะไขมันในเลือดสูง มะเร็ง เบาหวาน และโรคสมองเสื่อม โดยมีวิธีการดูแลรักษาด้วยตัวเอง

2.14.2. 8 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ : ดูแลตัวเองอย่างไร? - มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ข้อความ : 8 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไร รูป : ทำคล้าย ๆ กับใน link ก็ได้

2.15. Content 33

2.15.1. ปรับตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ "ดูแลสุขภาพเป็นสองเท่า ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน หมั่นออกกำลังกาย และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง งดเว้นความเสื่อม ควรเลิกการเที่ยวกลางคืน การไม่ค่อยได้พักผ่อน เลิกดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของกินที่ไม่มีประโยชน์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ มีจิตใจที่แจ่มใส จิตใจแจ่มใส คิดดี ทำดี ไม่เครียด ไม่วิตกกังวลใดๆ ร่างกายก็ย่อมจะแข็งแรงไปด้วย และที่สำคัญ ช่วยให้ชีวิตมีความสุขได้"

2.16. Content 34

2.16.1. "การสังเกตอาการผู้สูงอายุที่อาจจะเป็นอัมพาต - หากมีอาการแขน ขาอ่อนแรง และเป็นๆ หายๆ ติดต่อกัน คุณอาจเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาตได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบแพทย์ทันที - หากมีอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ไม่ควรรอสังเกตอาการว่าหายหรือไม่ แต่ควรไปพบแพทย์เลย เพราะในช่วงที่สังเกตอาการ อาจรักษาได้ไม่ทันท่วงที"

2.17. Content 35

2.17.1. "การรักษาปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ ถ้ามีปัญหาการได้ยินมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง - ฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง - จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การแยกแยะเสียงได้ชัดเจนขึ้น เช่น ลดเสียงรบกวน - ให้คู่สนทนาอยู่ตรงหน้า ไม่พูดเร็ว หรือพูดประโยคยาวเกินไป "

2.18. Content 36

2.18.1. "การป้องกันอันตรายจากอาการ หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม - ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอย่างระมัดระวัง และค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป - ตรวจสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายอยู่เสมอๆ - หากมีอาการหน้ามืด ควรตั้งสติ นั่งหรือนอนราบลงกับพื้นเพื่อรอให้อาการดีขึ้น - ในห้องน้ำ ควรมีราวจับเพื่อช่วยพยุงตัว - ถ้ามีอาการหน้ามืด เป็นลมบ่อย ไม่ควรออกกำลังกายหนัก - เมื่อหน้ามืด เมื่ออาการดีขึ้นควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจว่ามีโรคใดหรือไม่"

2.19. Content 37

2.19.1. ปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง เมื่อผู้สูงอายุนอนติดเตียง 1.แผลกดทับจากการนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน ควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ 2.ภาวะกลืนลำบาก ผู้ดูแลควรปรับเตียง 45-90 องศา จับลุก นั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ ควรปรับอาหารให้เหมาะสม 3.ความสะอาด การชำระล้างร่างกาย และการขับถ่าย หมั่นดูแลความสะอาดในการขับถ่าย เพื่อป้องกันการรับเชื้อต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟัน 4.ภาวะสุขภาพจิต หากิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลาย และลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้

2.20. Content 38

2.20.1. "โรคทางสมอง ที่พบในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง 1. โรคอัมพาต พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมักมีอาการเตือนของโรค คือ เส้นเลือดแตก และเส้นเลือดตีบ 2. โรคพาร์กินสัน เกิดในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา 3. โรคอัลไซเมอร์ พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ จึงควรหมั่นฝึกความจำ และใช้สมองอยู่เป็นประจำ 4. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างทันท่วงที 5. โรคสมองอักเสบ โรคนี้ระบาดมากในเขตร้อน และในหน้าหนาว โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค 6. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โรคนี้มีอาการคือ มือชา ปวดนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่งผลต่อการใช้ชีวิต"

2.21. Content 27

2.21.1. Zum Anzeigen anmelden oder registrieren ทำเฉพาะ คำแนะนำในการเลือกรองเท้าสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

2.22. Content28

2.22.1. 5 โรคสำคัญ สาเหตุเกิดอาการเวียนศีรษะหรืออาการบ้านหมุน "1. โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต 2. โรคที่เกิดจากความเครียด 3. โรคไมเกรน 4. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 5. โรคหินปูนในหูชั้นใน "

2.23. Content29

2.23.1. สัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุอาจมีสมองเสื่อม "- เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ ลำบาก - พูดซ้ำถามซ้ำ - เริ่มบกพร่องในการทำสิ่งที่ซับซ้อน - หลงทิศทางหรือลืมทิศทางในที่ที่ควรคุ้นเคย - ไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดน้อยลง - อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลงไป"

2.24. Content30

2.24.1. "การรักษาอาการเพ้อ และโรคสมองเสื่อม 1. แก้ไขสาเหตุโดยตรง การแก้ไขสาเหตุของโรคโดยตรง คือ หากใช้ยานอนหลับก็ให้หยุดยา หรือหากมีโรคติดเชื้อ ก็ทำการรักษาอาการติดเชื้อเป็นต้น 2. รักษาโดยประคับประคองตามอาการ การรักษาโดยการประคับประคองตามอาการ ทำได้โดยการพูดคุยกับผู้ป่วย การให้คำแนะนำ หรือการใช้ยารักษา เป็นต้น 3 จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ นอนให้เป็นเวลา "

2.25. Content31

2.25.1. "โรคทางสมอง ที่พบในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง 1. โรคอัมพาต พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมักมีอาการเตือนของโรค คือ เส้นเลือดแตก และเส้นเลือดตีบ 2. โรคพาร์กินสัน เกิดในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา 3. โรคอัลไซเมอร์ พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ จึงควรหมั่นฝึกความจำ และใช้สมองอยู่เป็นประจำ 4. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างทันท่วงที 5. โรคสมองอักเสบ โรคนี้ระบาดมากในเขตร้อน และในหน้าหนาว โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค 6. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โรคนี้มีอาการคือ มือชา ปวดนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่งผลต่อการใช้ชีวิต"

2.26. content 9

2.26.1. บรรยากาศจำลองของห้องพัก

2.26.2. เอารูปตัวอย่างห้องพักมาทำ

2.27. content21

2.27.1. Info ADL.docx ข้อความ : ขั้นตอนการใส่-ถอดเสื้อและกางเกง รูป : เอารูปในเอกสาร มาขยายทำเป็น สองรูป ใส่-ถอดเสื้อ กับ ใส่-ถอดกางเกง

2.28. content 10

2.28.1. 5 วิธีธรรมชาติ ช่วยการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด

2.28.1.1. 5 วิธีธรรมชาติ ช่วยการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด 1.การออกกำลังกาย จะช่วยให้เลือดลมสูบฉีดได้ดี 2. การนวด จะช่วยขับสารพิษออกมา เลือดจะไหลเวียนได้ดีขึ้น 3.การยืดร่างกาย หากมีการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ การยืดร่างกายจะช่วยให้เลือดเดินได้ดี 4.การดื่มน้ำ จะช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด นำไปสู่การไหลเวียนของเลือดได้ 5.การบำบัดด้วยน้ำอุ่น การแช่น้ำอุ่นจะช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการไหลของเลือดและออกซิเจนในร่างกายได้ดี

2.28.1.2. มีแทรกภาพ คนแช่น้ำใน amataya healthcare

2.29. Content 11

2.29.1. นวดฝ่ามือ-ฝ่าเท้า บำรุงหัวใจ

2.29.1.1. วิธีนวดฝ่ามือด้วยตัวเอง 1. เริ่มจากการหาจุดสะท้อน หัวใจบนฝ่ามือให้เจอเสียก่อน ซึ่งอยู่บริเวณกลางฝ่ามือ ใต้นิ้วนางของมือซ้าย 2. กดจุดสะท้อนหัวใจด้วยนิ้วโป้ง นิ้วที่เหลือกดประคองหลังมือไว้ วิธีนวดฝ่าเท้าด้วยตนเอง 1. ล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง 2. นั่งให้สบาย ยกเท้าข้างหนึ่งมาวางบนตัก ทาโลชั่นบำรุงผิวให้ทั่ว 3. จับข้อเท้าข้างที่จะนวด แล้วใช้นิ้วโป้ง นิ่วชี้ และนิ้วกลางบีบนวดเบาๆ โดยกดลงไปบนอุ้งเท้า แล้วค่อยๆ ไล่ไปถึงบริเวณนิ้วโป้ง และนวดนิ้วทีละนิ้ว ไล่ไปเรื่อยๆ จนครบ แล้วจึงนวดหลังเท้า 4. เมื่อนวดทั่วเท้าแล้ว ให้หมุนเท้าจากซ้ายไปขวา หรือหมุนทวนเข็มนาฬิกา 5 ครั้ง 5. แล้วจึงเปลี่ยนมานวดตามวิธีเดิมกับเท้าอีกข้าง

2.29.1.2. ทำรูปแยก ระหว่างนวดมือ กับ นวดเท้า

2.29.2. Content 12

2.29.2.1. ประโยชน์ของการประคบร้อน

2.29.2.1.1. - กระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น - ลดอาการเกร็งตึงของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและพังผืด - ช่วยลดอาการบาดเจ็บ อักเสบ ฟกช้ำ - ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน - ช่วยสร้างความผ่อนคลาย

2.29.2.1.2. ความร้อนมีช่วยการไหลเวียนของเลือดและกล้ามเนื้อ ยิ่งถ้ามาแช่น้ำพุร้อนเค็มก่อนนวด จะยิ่งดีมาก

2.30. Content 13

2.30.1. สัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุอาจมีสมองเสื่อม "- เรียนรู้หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ ลำบาก - พูดซ้ำถามซ้ำ - เริ่มบกพร่องในการทำสิ่งที่ซับซ้อน - หลงทิศทางหรือลืมทิศทางในที่ที่ควรคุ้นเคย - ไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดน้อยลง - อารมณ์หรือนิสัยเปลี่ยนแปลงไป"

2.31. Content 14

2.31.1. สารอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการในแต่ละวัน "โปรตีน ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 44-51 กรัม หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ไขมัน ควรได้รับไขมันไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานทั้งหมด และเลือกทานไขมันดีแทน คาร์โบไฮเดรต ควรได้รับประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทั้งหมด และหลีกเลี่ยงน้ำตาล รวมถึงของหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ วิตามิน ผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม และฟอสฟอรัสประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน น้ำ ผู้สูงอายุจึงควรดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วน้ำ"

2.32. content 17

2.32.1. พฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม " - มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป อาการนี้พบได้ในผู้สูงอายุที่มีอาการสมองเสื่อม โดยพบถึง 70% ซึ่งมีอาการไม่กระตือรือร้น ชอบนั่งอยู่นิ่งๆ เฉยๆ ไม่มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ คิดถึงแต่ตนเอง และเรื่องราวในอดีต หากเป็นในระยะหลังๆ อาจสูญเสียความทรงจำในอดีตไปได้เช่นกัน มีอาการหลงผิด อาการนี้พบได้ 30-50% ผู้สูงอายุที่มีอาการนี้มักมีปัญหากับความจำระยะสั้น ทำให้เกิดความเชื่อผิดๆ เช่น มีคนมาขโมยเงินในบ้าน สามีหรือภรรยาไปมีชู้ หรือมีคนจะมาทำร้าย เป็นต้น มีอาการประสาทหลอน อาการนี้พบได้ 10-30% มักเห็นภาพหลอน เช่น เห็นผู้ที่ตายไปแล้วกลับมาหา เห็นคนแปลกประหลาดในบ้าน หูแว่วได้ยินเสียงคนมาคุยด้วย หรือขู่ทำร้าย เป็นต้น อารมณ์เปลี่ยนแปลง อาการนี้พบได้ถึง 50% เนื่องจากสมองไม่ดี การควบคุมด้านอารมณ์จึงด้อยลงไปด้วย ซึ่งญาติต้องอาศัยความรักและความเข้าใจ อีกทั้งควรเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพราะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ผู้สูงอายุคิดทำร้ายตนเอง หรือได้รับอันตรายได้

2.33. content 18

2.33.1. แผนดูแลสุขภาพในแต่ละช่วงวัยของผู้สูงอายุ

2.33.2. 45-59 ปี ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละ 20-30 นาทีเป็นอย่างน้อย และออกให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 วัน ทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรลด ละ เลิก การดื่มสุรา สูบบุหรี่ 60-69 ปี หมั่นสังเกตอาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่อาจน้อยลง ทานอาหารที่มีความอ่อนนุ่มมากขึ้น ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงของมัน ของหวาน รสจัด และของทอดให้มากที่สุด และอย่าลืมตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจทุก 6 เดือนถ้าทำได้ 70 ปีขึ้นไป ควรทานอาหารที่ต้มจนเปื่อยยุ่ย ย่อยง่าย มีกากใยอาหารมาก รสอ่อนๆ แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ มากขึ้น เพื่อช่วยในการย่อย และควรหมั่นพบแพทย์ตามนัด และตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี

2.34. content 19

2.34.1. วิธีเลือก ที่นอน สำหรับผู้สูงอายุ

2.34.2. Zum Anzeigen anmelden oder registrieren

2.35. Content 15

2.35.1. หลักการรับประทานอาหารของผู้สูงวัย (Do & Don't) "อะไรควรรับประทาน 1. ควรทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ครบ 5 หมู่ 2. ควรทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เพราะจะทำให้ท้องอืดและท้องผูกได้ 3. ควรทานอาหารที่อ่อนนุ่ม สะดวกต่อการเคี้ยวและย่อยง่าย 4. ควรทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่เน่าเสียและมีสารพิษเจือปน ไม่ปรุงด้วยผงชูรส และมีสารกันบูด 5. ควรดื่ม น้ำขิง น้ำมะตูม น้ำส้มคั้น น้ำนมพร่องมันเนย หรือน้ำนมถั่วเหลือง 6. ควรดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง ประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย 7. ควรทานไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด 8. ควรรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่และวิตามินให้เพียงพอ อะไรไม่ควรรับประทาน 1. ไม่ควรทานอาหารรสจัดหรือของหมักดอง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัด 2. ไม่ควรดื่มชา กาแฟ สุรา และยาสูบทุกชนิด 3. ไม่ควรทานอาหารประเภท ข้าว แป้ง และน้ำตาลมาก เนื่องจากจะทำให้อ้วน 4. ไม่ควรรับประทานข้าวขัดเป็นสีขาวและข้าวที่ปรุงใส่กะทิ ไขมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวเหนียว ขนมเชื่อม และขนมหวานต่างๆ 5.ไม่ควรทานอาหารที่มีไขมันสูง หรือเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เช่น หมูสามชั้น ขาหมู หนังไก่ทอด อาหารทอด หรือผัดควรใส่น้ำมันน้อย เช่น ไข่เจียว ผัดผัก 6. ไม่ควรรับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ละมุด กล้วยหอม ลำไย น้อยหน่า ขนุน"

2.36. Content 32

2.36.1. "อาการของการขาดฮอร์โมนในผู้หญิง ร่างกายจะร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่หลับ หงุดหงิด กังวล ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ การทดแทนฮอร์โมน ร่างกายของเราจะปรับสมดุลได้ตามธรรมชาติ ถ้ามีปัญหาในการใช้ชีวิตมาก แพทย์อาจต้องให้ฮอร์โมนทดแทน"

2.37. content 16

2.37.1. 351674_Info swallowing.docx รูปอาหารตามตัวอย่างในไฟล์ ทำเป็นอัลบั้มรูป รููปที่ 1 รูปอาหารรวม ๆ ข้อความ : แนะนำประเภทอาหารในการฝึกกลืน สำหรับผู้ป่วยฟื้นฟู รูปที่ 2 สำหรับผู้เริ่มทานอาหารทางปาก ไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนของเหลวได้ รูปที่ี่ 3 สำหรับผู้ที่เริ่มเคี้ยวได้แล้ว แต่ไม่สามารถกลืนอาหารที่เป็นของเหลวใสได้ รูปที่ 4 สำหรับผู้ที่ยังกลืนอาหารเหลวลำบาก และผู้ที่เคี้ยวลำบากหรือใส่ฟันปลอม รูปที่ 5 อาหารอ่อนปกติ ลักษณะนิ่มปานกลาง สามารถเคี้ยวกลืนได้ง่าย รูปที่ 6 อาหารทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เคี้ยวกลืนได้ดี

3. Content 39

3.1. 5 โรคสำคัญ สาเหตุเกิดอาการเวียนศีรษะหรืออาการบ้านหมุน "1. โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต 2. โรคที่เกิดจากความเครียด 3. โรคไมเกรน 4. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน 5. โรคหินปูนในหูชั้นใน "

4. Content 40

4.1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาอาการบ้านหมุน "1. บริหารศีรษะ - ก้มศีรษะไปข้างหน้าแล้วแหงนไปข้างหลัง ทำขณะลืมตา ทำช้าๆ แล้วค่อยๆเร็วขึ้น ประมาณ 20 ครั้ง - หันศีรษะจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ทำขณะหลับตา ทำช้าๆ แล้วค่อยๆเร็วขึ้น ประมาณ 20 ครั้ง 2. บริหารตา - มองขึ้นบนแล้วมองลงล่าง ทำช้าๆ แล้วค่อยๆเร็วขึ้น ประมาณ 20 ครั้ง - กลอกตาจากซ้ายไปขวา ทำช้าๆ แล้วค่อยๆเร็วขึ้น ประมาณ 20 ครั้ง - เหยียดแขนไปข้างหน้าให้สุด ใช้สายตาจ้องนิ้วชี้ จากนั้นเลื่อนกลับมาที่เดิมช้าๆ ประมาณ 20 ครั้ง 3. บริหารในท่านั่ง - นั่งยกไหล่ขึ้นลง ประมาณ 20 ครั้ง - นั่งหันไหล่ไปทางขวา แล้วหันไปทางซ้าย ประมาณ 20 ครั้ง - นั่งก้มตัวไปข้างหน้า หยิบของจากพื้นแล้วค่อยๆ ดึงตัวกลับมานั่งตรง ประมาณ 20 ครั้ง" ทำรูปตามท่า

5. Content 41

5.1. "มารู้จักโรคมะเร็งดวงตา อาการของโรค - มองเห็นมัวลงกว่าเดิม - มีก้อนเนื้อหรือแผลเรื้อรังเมื่อเกิดกับเนื้อเยื่อดวงตาส่วนที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น หนังตา - ตาโปน เมื่อเกิดกับเนื้อเยื่อในเบ้าตา หรือในลูกตา - เมื่อโรคลุกลามมากมักตาบอด หรือคลำได้ต่อมน้ำเหลืองหน้าใบหู หรือบริเวณลำคอด้านเดียวกับโรค ระยะของโรค โรคมะเร็งดวงตาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ - ระยะที่ดวงตายังมองเห็นดี แพทย์สามารถรักษาเก็บดวงตาไว้ได้ - ระยะที่ตาบอดแล้ว หรือแพทย์ไม่สามารถรักษาเก็บดวงตาไว้ได้ - ระยะโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง - ระยะที่โรคแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ทั้งปอด กระดูก ตับ น้ำไขสันหลัง หรือสมอง เป็นต้น การรักษาและผลข้างเคียง การรักษาทำได้ 3 วิธี คือ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษา อาจทำให้เสียเลือด แผลติดเชื้อ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผมร่วง ภาวะซีด ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ไปจนถึงตาบอดได้เช่นกัน " ทำรูปแยกตามหัวข้อ

6. Content 42

6.1. "อาหารป้องกันผมร่วง แร่ธาตุสังกะสี แร่ธาตุสังกะสีนี้ได้จาก หอยนางรม ไข่ ถั่ว งา เนื้อวัว เนื้อไก่ นม เมล็ดฟักทอง เป็นต้น วิตามินเอ หาได้ในผักสีส้มและเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง มะม่วงสุก ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักโขม ตำลึง ในนม ไข่ และตับ เป็นต้น ไบโอติน อาหารที่มีไบโอตินสูง ได้แก่ ยีสต์ในการหมักเหล้าหรือเบียร์ ไข่แดง เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง เป็นต้น วิตามินซี อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผักสีเขียวเข้ม พริกสด และผักกลุ่มมะเขือ โปรตีนไขมันต่ำ โปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ เนื้อสันใน ถั่วเมล็ดแห้ง โยเกิร์ต เป็นต้น น้ำ "

7. Content 43

7.1. "ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ - เกิดจากโรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร - เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดตีบ - เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตับ"

8. Content 44

8.1. 5 ประโยค ให้กำลังใจผู้สูงวัย : คำพูดดี ๆ ที่ลูกหลานควรจะบอกกล่าว เมื่อผู้สูงวัยมีความเศร้าหรือท้อใจ - คุณปู่/คุณย่า ยังมีพวกหนูอยู่นะคะ/ครับ - ทุกอย่างจะดีขึ้นแน่นอนค่ะ/ครับ - ไม่มีใครตั้งใจ จะทำเรื่องร้าย ๆ หรอกค่ะ/ครับ - พวกเราจะอยู่ข้าง ๆ คุณปู่/คุณย่า นะคะ/ครับ - พวกเรารักคุณปู่/คุณย่านะคะ

9. Content 45

9.1. "วิธีสังเกตผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต - รับประทานอาหารมากขึ้น หรือน้อยลงกว่าปกติ - นอนหลับมากกว่าปกติ หรือมีอาการนอนไม่หลับ ตกใจตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้ - อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย - พฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น เคยเป็นคนร่าเริงแจ่มใส กลับซึมเศร้า / ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์ ก็หันมาดื่ม / เคยพูดน้อย กลายเป็นคนพูดมากขึ้น"