สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี

Iniziamo. È gratuito!
o registrati con il tuo indirizzo email
สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี da Mind Map: สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี

1. หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

1.1. พระอิสริยยศ

2. วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ 25 ชันษาพอดี พระองค์จึงโปรดฯ ให้สถาปนา วัด เทพศิรินทราวาส ขึ้น เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติ และ ทรงอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณแห่งองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำการเรียนการสอน พ.ศ. 2438 สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย

3. พระราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้มีแนวคิดว่าน่าจะมีรูปเคารพของพระองค์ไว้บูชานั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 และได้สำเร็จเป็นผลใน ปี พ.ศ. 2541 โดยอัญเชิญประดิษฐาน ณ บริเวณมุขด้านหน้า อาคารเทิดพระเกียรติ เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงความจงรักภักดี และความกตัญญู กตเวที ที่ชาวเทพศิรินทร์ทุกคนมีต่อสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติยศอันสูงสุดของชาวเทพศิรินทร์ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในการนำพระนามของพระองค์มาเป็นชื่อของสถานศึกษา โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน ของทุกๆปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ ได้เวียนมาบรรจบครบ ทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันประกอบด้วย คณะผู้บริหาร คณะครู นักเรียนเก่า นักเรียนปัจจุบัน และบุคลากรของโรงเรียน ได้จัดพิธีวางพวกมาลา และถวายราชสักการะ ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ โดยเรียกวันนี้ว่า "วันแม่รำเพย"

4. พระราชประวัติ

5. พระอนุสรณ์

6. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 เป็นพระธิดาพระองค์รองในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต้นราชสกุลศิริวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาทรัพย์ส่วนพระมารดาคือหม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยาสตรีชาวบางเขนที่มีเชื้อสายอำมาตย์รามัญกับไทยเป็นธิดาคนหนึ่งของนายบุศย์ ชาวบางเขน ซึ่งไม่ปรากฏวงศ์ตระกูล กับคุณแจ่มหลานสาวของอำมาตย์มอญ คือ พระยารัตนจักร (หงส์ทอง สุรคุปต์)(สมิงสอดเบา หัวเมืองหน้าครัวมอญ) คุณม่วงมารดาของคุณแจ่มเป็นน้องสาวต่างมารดาของเจ้าจอมมารดาป้อม ในรัชกาลที่ 1, เจ้าจอมเพ็ง ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2 บางแหล่งข้อมูลก็ว่า คุณแจ่ม เป็นธิดาของพระยารัตนจักร

7. พระองค์มีพระพี่น้องต่างพระมารดา รวม 8 พระองค์ เมื่อพระองค์อยู่ในช่วงวัยเยาว์ ได้เข้ามาอยู่กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร พระปิตุจฉา เพื่อเข้ามาฝึกหัดการถวายงานพัด และพระองค์ก็สามารถพัดได้ถูกพระทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามแก่หม่อมเจ้าหญิงนี้ว่า รำเพย อันมีความหมายว่า "ลมเย็นที่พัดค่อย ๆ อ่อน ๆ มีเรื่องเล่ากันว่าพระภิกษุพระศรีสุทธิวงศ์ ได้ไปยังเกาะลังกา และในขากลับได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้าถวายแก่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดไม้นั้นมาก จึงได้พระราชทานชื่อไม้นั้นว่า รำเพย ตามพระนามของพระราชนัดดา หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2396 ตั้งแต่พระชนมายุได้ 18 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระยศเป็น พระองค์เจ้า พระราชทานพระนามว่า รำเพยภมราภิรมย์ อันมีความหมายว่า "บุปผชาติที่เป็นที่ยินดีและเป็นที่พักพิงของมวลหมู่ภมร และดำรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เมื่อ พ.ศ. 2395 เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2404 สิริรวมพระชนมายุได้ 28 พรรษา ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ และในรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

8. การประชวรและการสวรรคต

9. นับตั้งแต่พระราชโอรสองค์เล็กประสูติ พระองค์ก็ประชวรมากแต่ก็ตรัสว่า "ไม่เป็นอะไรมากหรอก" แม้จะทรงกาสะ (ไอ) มากก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาเกี่ยวกับพระอาการประชวรของพระองค์ไว้ดังนี้ “…แต่แม่รำเพย ตั้งแต่คลอดบุตรชายภาณุรังษีสว่างวงศ์มาแล้ว ป่วยให้ไอและซูบผอมมากไป กลัวจะตั้งวัณโรคภายใน” อีกฉบับหนึ่ง ทรงบรรยายถึงการสิ้นพระชนม์ไว้อย่างละเอียดดังนี้ “…เวลาเช้าแม่รำเพยไออาเจียนเป็นโลหิตออกมามาก ออกทางจมูกออกทางปาก ได้ตัวสัตว์ออกมากับทั้งโลหิตตัวหนึ่ง มีอาการคล้ายสัตว์ตัวหนอนเล็กหางเป็นสามแฉก แต่หมอยังแก้ไขก็ค่อยคลายมา โลหิตออกบ้างเล็กน้อยจางไปแล้ว" “ครั้น ณ วันอาทิตย์ขึ้น 4 ค่ำ เดือนสิบ เวลากลางคืน เธอว่าค่อยสบายไอห่างไป นอนหลับได้มาก ตั้งแต่สามยามไปจนถึงสามโมงเช้า ครั้น ณ วันจันทร์ ขึ้นห้าค่ำ เดือนสิบ ตื่นขึ้นอีกเวลาสามโมงเช้า รับประทานอาหารได้ถ้วยฝาขนาดใหญ่ แล้วนั่งเล่นอยู่กับบุตรเล็ก ไอเป็นโลหิตออกมา แล้วก็เป็นโลหิตพลุ่งพล่านมากเป็นที่สุด ออกทั้งทางจมูกทางปาก หลายถ้วยแก้วกระบอก ไม่มีขณะหายใจ พอโลหิตมากแล้วชีพจรทั้งตัวก็หยุดทีเดียวไม่ฟื้นเลย ได้รับประทานจัดการไว้ศพ ในโกศตั้งไว้ที่ตึกต้นสน แต่ตกแต่งตึกเสียใหม่ให้งามดี เพดานและบานประตู บานหน้าต่างปิดลายเงิน ฝาผนังปิดกระดาษลาย และตกแต่งสิ่งอื่นมากพอสมควร ครั้นจะยกขึ้นไปไว้บนพระมหาปราสาท เห็นว่าจะกีดขวางการพระราชพิธีไม่พอที่ แต่เท่านั้นก็ดีอยู่แล้ว ศพจะเอาไว้นาน ต่อเดือนสี่เดือนห้าจึงจะได้เผา เดี๋ยวนี้ก็รับประทานทำบุญต่างๆ มีเทศนาและบังสุกุลอยู่เนืองๆ…ที่ให้เป็นอนุเคราะห์แก่ชายจุฬาลงกรณ์ หญิงจันทรมณฑล ชายจุตุรนตรัศมี ชายภาณุรักษีสว่างวงศ์ บุตรแม่เพยทั้งสี่ก็มีบ้าง กระหม่อมฉันคิดขอบบุญขอบคุณท่านทั้งปวงครั้งนี้นั้นหนักหนา แม่เพยตายลงครั้งนี้ เมื่อดูอาการก็ควรจะตายอยู่แล้ว ด้วยป่วยโรคนี้มาตั้งแต่เสาะแสะมาถึงห้าปี ตั้งแต่ปีมะเส็งมารักษาก็หลายหมอหลายยาแล้ว ไม่หาย จึงเห็นว่าถึงคราวที่จะสิ้นอายุตายอยู่แล้ว" “อายุนับปี เท่ากับกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์บิดานั้น เหมือนกับชายมงคลเลิศซึ่งเป็นพี่ชายว่าโดยละเอียดไป กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีอายุนับวันตั้งแต่วันเกิดจนวันตายได้ 9,639 วัน ชายมงคลเลิศนับอายุตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย 9,903 วัน มากกว่ากรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ 284 วัน มากกว่าชายมงคลเลิศ 20 วัน” หลังจากการเสด็จสวรรคต ได้มีการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันศุกร์ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2405 (วันแรม 4 ค่ำ เดือน 5)โดยพระราชพิธีนี้ ได้มีการริเริ่มการจัดพิธีกงเต็กหลวงขึ้นครั้งแรก จึงมีการจัดพิธีกงเต็กหลวงสืบมา

10. พระราชบุตร

10.1. เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

10.2. เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี (กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์)

10.3. เจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี (กรมพระจักรพรรดิพงศ์)

10.4. เจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ (กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช)

11. พระราชานุสาวรีย์