อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 1

นักเรียนดูภาพในกิจกรรม “อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา” แล้วให้ร่วมกันวิเคราะห์อัตลักษณ์ของประเทศที่กำหนดให้เป็น MindMapping 1 ชิ้น

Iniziamo. È gratuito!
o registrati con il tuo indirizzo email
อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา กลุ่ม 1 da Mind Map: อัตลักษณ์เรา อัตลักษณ์เขา  กลุ่ม 1

1. เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) :เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์ จัดในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองอีกด้วย

2. วัฒนธรรม

2.1. ภาษา

2.1.1. คนไทยมีภาษาและตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1826

2.2. ประเพณีไทย

2.2.1. เป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบทอดกันมาจนถึงลูกหลาน ที่เรียกกันว่าขนบธรรมเนียมประเพณีนั่นเอง เช่น การไหว้ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นต้น

2.3. วัฒนธรรมในระดับภูมิภาคของสังคมไทย

2.3.1. วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่มีเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีปอยหลวง การกินขันโตก พิธีสืบชะตาเมือง เป็นต้น

2.3.2. วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมที่เก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีผีตาโขน ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและหมอลำ เป็นต้น

2.3.3. วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง เนื่องจากอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จึงมีชีวิตผูกพันอยู่กับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น ประเพณีทำขวัญข้าว การบูชาแม่โพสพ การลงแขกเกี่ยวข้าวและลำตัด เป็นต้น

2.3.4. วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ประชากรมีความแตกต่างกันทางด้านศาสนาเป็นกลุ่ม ๆ มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมประเพณี จึงมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะภาค เช่น ประเพณีการชักพระ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ การเต้นรองเง็ง หนังตะลุง และรำมโนราห์ เป็นต้น

2.4. วัฒนธรรมพื้นบ้านของสังคมไทย

2.4.1. มุขปาฐะต่าง ๆ เช่น ตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน สุภาษิต ที่ถือเป็นคติสอนใจการดำเนินชีวิต คำพังเพย ปริศนาคำทาย เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ซึ่งมักจะเป็นเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น

2.4.2. ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ความเชื่อมีทั้งความเชื่อดั้งเดิมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เช่น การนับถือผี เป็นต้น และความเชื่อที่มีเหตุผลตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ปัจจุบันมักเป็นแบบผสมผสานร่วมกัน

2.4.3. หัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน ในแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไป ทั้งด้านการใช้วัสดุ เทคนิคและการถ่ายทอดสืบต่อกัน เช่น งานจักสาน งานถักทอ งานปั้น งานแกะสลัก และงานวาดภาพ เป็นต้น

2.4.4. ภาษาไทยพื้นบ้าน คนไทยทุกภาคส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยเป็นปกติ แต่มีสำเนียงและการใช้คำแตกต่างกันมากน้อยแต่ละท้องถิ่น ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมใกล้เคียงด้วย ภาษาไทยพื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ ภาษาล้านนา ภาษาไทยใหญ่ ภาษาไทยอีสาน ภาษาไทยภูเขา เป็นต้น

3. มาเลเซียประกอบด้วยชนจากหลายเผ่าพันธุ์(พหุสังคม) รวมกันอยู่ บนแหลมมลายูมากว่า 1,000 ปี ประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ๆ 3 กลุ่ม คือ ชาวมลายู ชาวจีน และชาวอินเดีย อาศัยอยู่บนแหลมมลายู ส่วนชนพื้นเมืองอื่นๆ เช่น อิบัน (Ibans) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐซาราวัค และคาดาซัน (Kadazans) อาศัยอยู่ในรัฐซาบาห์ ด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติภายในประเทศ ทำให้เกิดการหล่อหลอมของวัฒนธรรมและส่งผลต่อ การดำรงชีวิตของชาวมาเลเซีย จึงเกิดประเพณีที่สำคัญมากมาย

3.1. การรำซาบิน (Zapin) :เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการฟ้อนรำที่ได้รับอิทธพลมาจาก ดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิง ชาย จำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์แบบอาระเบีน และ กลอง เล็กสองน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว

4. ไทย

4.1. การแต่งกาย

4.1.1. สุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

4.1.2. สุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม

4.2. ศาสนา

4.3. ประชากรในประเทศไทยนับถือศาสนา 99.37% โดยแบ่งออกเป็นศาสนาพุทธ 95.83% ศาสนาอิสลาม 4.56% ศาสนาคริสต์ 1.2139% ศาสนาฮินดู 0.086% ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36% ตามลำดับ

4.4. ลาว

4.4.1. การแต่งกาย

4.4.1.1. ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก

4.4.1.2. ผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

4.4.2. ศาสนา

4.4.2.1. ศาสนาในประเทศลาวที่สำคัญคือศาสนาพุทธ ชาวลาวลุ่มเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ส่วนชนเผ่าต่างๆนับถือธรรมชาติตามความเชื่อของแต่ละชนเผ่า พบในกลุ่มผู้ที่พูดภาษาตระกูลจีน-ทิเบต และไท-กะได เช่น ชาวไทดำ ไทแดง เช่นเดียวกับกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร ผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและโปรแตสแตนท์มีประมาณ 2% ศาสนากลุ่มน้อยอื่นๆได้แก่ลัทธิบาไฮ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธนิกายมหายาน และลัทธิขงจื๊อ

4.4.3. วัฒนธรรม

4.4.3.1. เทศกาล

4.4.3.1.1. เทศกาลที่สำคัญในลาวคือบุญผะเหวดซึ่งจัดขึ้นปีละครั้ง ใช้เวลา 2 วัน ส่วนใหญ่ตรงกับช่วงมกราคม – กุมภาพันธ์ โดยจะขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติ พระภิกษุจะเทศนาเรื่องมหาเวสสันดรชาดก หรือที่เรียกว่ามหาชาติ

4.4.3.2. ดนตรี

4.4.3.2.1. ดนตรีของชาวลาวมีเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์คือแคน ในวงดนตรีมีนักร้องเรียกว่าหมอลำและคนเป่าแคนที่เรียกหมอแคน ลำสาละวันเป็นการแสดงที่มีชื่อเสียงของลาว

4.4.4. ภาษา

4.4.4.1. ภาษาหลักของชาวลาวคือภาษาลาว แม้จะมีภาษาของชนกลุ่มน้อยต่างๆอีกมาในประเทศลาว ภาษาลาวเป็นภาษาที่มีการแสดงระดับความสุภาพในภาษา

4.4.4.1.1. ซำบายดี : สวัสดี ขอบใจ : ขอบคุณ

5. เวียดนาม

5.1. การแต่งกาย

5.1.1. ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ

5.1.2. ผู้ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว

5.2. ศาสนา

5.2.1. พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ

5.2.1.1. นิกายมหายาน

5.2.2. คริสต์ศาสนา

5.2.2.1. โรมันคาทอลิก

5.2.2.2. โปรเตสแตนต์

5.2.3. มุสลิม (ชาวจาม)

5.3. วัฒนธรรม

5.3.1. เทศกาล

5.3.1.1. เทศกาลเต๊ต

5.3.1.1.1. เป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุด

5.3.1.1.2. ชื่อเต็มว่า "เต๊ตเงวียนด๊าน" หมายความว่า เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี

5.3.1.1.3. มีขึ้นระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์

5.3.1.1.4. เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื่อ และศาสนาพุทธ และเป็นการเคารพบรรพบุรุษ

5.3.1.2. เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง

5.3.1.2.1. ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี

5.3.1.2.2. ชาวบ้านประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บันตรังทู) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์

5.3.1.3. เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวน (บันตรังทู) พร้อมทั้งจัดขบวนแห่เชิดมังกร เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อดวงจันทร์

5.3.2. อาหาร

5.3.2.1. เฝอ หนึ่งในความนิยมมากที่สุดในอาหารเวียดนาม

5.3.2.2. อาหารเวียดนามแบบดั้งเดิมที่มีการรวมกันของ 5 รสชาติพื้นฐาน "องค์ประกอบ" (เวียดนาม: ngũ vị) เผ็ด (โลหะ), เปรี้ยว (ไม้), ขม (ไฟ), เค็ม (น้ำ) และหวาน (โลก)

5.3.3. ส่วนผสมที่พบบ่อย ได้แก่ น้ำปลา, กะปิ, ซอสถั่วเหลือง, ข้าว, สมุนไพรสด, ผลไม้และผัก สูตรเวียดนามใช้ตะไคร้, ขิง, สะระแหน่, สะระแหน่เวียดนาม, ผักชีฝรั่ง, อบเชยญวน, พริกขี้หนู, มะนาว, โหระพา

5.4. ดนตรี

5.4.1. เพลงเวียดนามแบบดั้งเดิมแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ ดนตรีคลาสสิกเหนือเป็นรูปแบบดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดของเวียดนามและเป็นประเพณีที่เป็นทางการมากขึ้น ต้นกำเนิดของดนตรีเวียดนามสามารถโยงไปถึงการรุกรานของมองโกลในศตวรรษที่ 13 เมื่อเวียดนามจับกุมคณะงิ้ว

5.5. ภาษา

5.5.1. ใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม

5.5.2. ซิน จ่าว (Xin Chao) : สวัสดี

5.5.3. ซิน โหลย (Xin Loi) : ขอโทษ

6. วัฒนธรรม

7. มาเลเซีย

7.1. การแต่งกาย

7.1.1. ผู้ชาย

7.1.1.1. ชุดดบาจู กูหรงไม่ว่าของผู้ชายหรือผู้หญิง มักจะตัดเย็บด้วยผ้าผืนเดียวกัน เพราะฉะนั้นทั้งสีและลวดลายบนผืนผ้า จึงเป็นแบบเดียวกันทั้งชุด แต่ชุดของผู้ชายกลับมีเครื่องเครามากกว่าของผู้หญิงชุดผู้ชาย ทั้งเสื้อและกางเกงลวดลายสีสันเดียวกันทั้งชุด ไม่นิยมลวดลายสัตว์หรือผิดหลักศาสนาอิสลาม เสื้อผู้ชายเป็นแขนยาว ทั้งแบบคอลมและคอจีน ซึ่งมีรังดุมราว 2-5 เม็ด ผ่าจากคอเสื้อลงมาถึงกลางอก ส่วนท่อนล่างจะเลือกใส่กางเกงหรือผ้าโสร่งก็ได้ ถ้าใส่กางเกงต้องมีผ้าพัน หรือมองดูคล้ายโสร่งสั้น จากสะดือถึงเข่า ภาษามลายูเรียกผ้าพันนี้ว่า ซัมปิน (Sampin) ซึ่งสีไมฉูดฉาด แต่ก็สวยงามบางทีเป็นผ้าไหม ดิ้นทอง ซัมปินทำให้ชุดผู้ชายดูสุภาพเรียบร้อย ทั้งยังสามารถกันเปื้อนได้อีกด้วย ที่ศีรษะผู้ชายจะสวมหมวกแขกกำหยี่สีดำ ภาษามลายูเรียกว่า ซองโก๊ะ (Songkok) แต่ถ้าจะให้เต็มยศบางคนก็จะสวมผ้าพันเป็นรูปมงกุฎสวมทับไปบนหมวกอีกชั้นหนึ่ง การพับผ้าเป็นรูปมงกุฎมีแบบต่างๆ เช่น รูปนกอินทรีปีกหัก รูปช้างรบ รูปสู้ลม

7.1.2. ผู้หญิง

7.1.2.1. ชุดผู้หญิง มีเครื่องแต่งกายน้อยชิ้นกว่าชาย ทั้งเสื้อและกระโปรงตัดด้วยผ้าบางเบา เนื่องจากภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว ผ้าเป็นลวดลายและสีเดียวกันทั้งชุด หรือสีที่เข้ากันดีระหว่างเสื้อกับผ้านุ่ง นิยมลวดลายดอกไม้สีสันสดใส เสื้อผู้หญิงเป็นแบบแขนยาว ชายเสื้อยาวลงมาถึงเข่า บางคนนิยมตัดเย็บเสื้อเข้ารูป แต่บางคนปล่อยให้หลวมๆ ไม่เน้นรูปร่าง ส่วนท่อนล่างเป็นกระโปรงยาวคลุมตาตุ่ม ไม่ผ่าข้าง เมื่ออกนอกบ้าน ผู้หญิงมาเลเซียนิยมคลุมศีรษะด้วยผ้าบางเบา มีสีสันลวดลายดูกลมกลืนหรือเป็นลายเดียวกับเสื้อและกระโปรง ผ้านี้บางทีก็นำมาคลุมไหล่เป็นเครื่องประดับได้ด้วย สตรีมุสลิมที่เคร่งครัดก็มักคลุมฮิญาบ หรือที่ชาวมลายูเรียกว่า ตุดง (Tudung) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น

7.2. ศาสนา

7.2.1. ประชากรร้อยละ 61.3 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19.8 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 9.2 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 6.3 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และความเชื่อดั้งเดิมอื่น ๆ ของจีน