Unlock the full potential of your projects.
Try MeisterTask for free.
Non hai un account?
Iscriviti gratis
Naviga
Mappe in primo piano
Categorie
Gestione del progetto
Affari e obiettivi
Risorse umane
Brainstorming e analisi
Marketing e contenuti
Istruzione e note
Intrattenimento
Vita
ICT
Design
Sintesi
Altro
Lingue
English
Deutsch
Français
Español
Português
Nederlands
Dansk
Русский
日本語
Italiano
简体中文
한국어
Altro
Mostra mappa intera
Copia ed edita mappa
Copia
การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Altro
KT
kanyarat Teabsorncha
Seguire
Iniziamo.
È gratuito!
Iscriviti con Google
o
registrati
con il tuo indirizzo email
Mappe mentali simili
Schema mappa mentale
การจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
da
kanyarat Teabsorncha
1. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร
1.1. หมายถึง แหล่งหรือสถานที่นัดพบสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข้อคิดเห็น และข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเครื่องมือที่สนับสนุนบริการเหล่านี้ เช่น อีเมล์ (E-mail) กระดานข่าว (Webboard) และห้องสนทนา (Chat Room) ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสารจึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่ควรจัดเตรียมไว้ให้กับลูกค้าด้วย
1.2. ตัวอย่างการออกแบบารติดต่อสื่อสาร -จัดวางตำแหน่งของเครื่องมือให้สังเกตเห็นได้ชัดเจน เช่น วางไว้ในแถบเชื่อมโยงส่วนบนของเว็บเพจ เป็นต้น -จัดกลุ่มหัวข้อสนทนาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ง่ายขึ้น -จัดวางตำแหน่งของเครื่องมือให้สังเกตเห็นได้ชัดเจน เช่น วางไว้ในแถบเชื่อมโยงส่วนบนของเว็บเพจ เป็นต้น
2. รูปลักษณ์
2.1. หมายถึง โครงร่างของการจัดวางองค์ประกอบบนหน้าเว็บที่ช่วยสื่อความหมายให้ง่ายต่อการรับรู้และการใช้งานเครื่องมือบนหน้าเว็บเพื่อท่องไปในเว็บไซต์ ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบรูปลักษณ์ไม่มีเทคนิคที่ตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และเครื่องมือที่นักพัฒนาเว็บเลือกใช้ด้วย
2.2. ตัวอย่างการออกแบบรูปลักษณ์ - ส่วนหัวของเว็บเพจ (Page Header) ควรประกอบด้วยชื่อของเว็บไซต์ เมนูรายการเชื่อมโยง (Navigation Bar) และแบนเนอร์โฆษณา (Banner) โดยต้องระบุชื่อหรือสัญลักษณ์ขององค์กรทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ผู้ชมเว็บไซต์ทราบอยู่เสมอว่ากำลังชมเว็บใดอยู่
3. เนื้อหา
3.1. หมายถึง ข้อมูลที่จะนำเสนอบนเว็บ โดยอาจอยู่รูปของข้อความ (Text) รูปภาพ (Picture) หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) ที่เป็นสื่อผสมทั้งภาพและเสียงก็ได้ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ อันจะทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการรับชมข้อมูล
3.2. ตัวอย่างการออกแบบเนื้อหา -ควรมีการจัดวางข้อมูลที่ดี อ่านง่าย ชัดเจน และสะดวกต่อการเลือกชม -มีรายละเอียดของสินค้าและบริการครบถ้วน นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องถูกปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอด้วย -เลือกใช้สื่อในการนำเสนอให้เหมาะกับลักษณะของข้อมูล เช่น ใช้คลิปวิดีโอ (Clip Video) สำหรับนำเสนอตัวอย่างภาพยนตร์ หรือใช้รูปภาพสำหรับนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว
4. การปรับแต่ง
4.1. หมายถึง เทคนิคที่ช่วยผู้ใช้ให้สามารถปรับแต่งการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งการปรับแต่งอาจทำได้หลายลักษณะ ได้แก่ การปรับแต่งรูปแบบการนำเสนอ (เช่น ขนาดตัวอักษร สีพื้นหลัง สีตัวอักษร และภาษา) การปรับแต่งข้อมูลบริการและการปรับแต่งคุณลักษณะของสินค้า
4.2. ตัวอย่างการออกแบบเครื่องมือปรับแต่ง -สร้างเครื่องมือเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าสามารถรับชมสินค้าขององค์กร หรือเลือกออกแบบสินค้าเองก็ได้ -ออกแบบเครื่องมือให้ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก พัฒนาเครื่องมือและบริการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจมานำเสนอต่อลูกค้าเสมอ ตรวจสอบการแสดงผลของเครื่องมือปรับแต่ง เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานได้จริง และให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
5. การติดต่อสื่อสาร
5.1. หมายถึง การสร้างช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการในเว็บไซต์กับผู้ประกอบการหรือองค์กรของเรา ซึ่งช่องทางในการติดต่อสื่อสารของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาจทำผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA หรือ Pocket PC เป็นต้น
5.2. ตัวอย่างการออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร เช่น จัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับให้บริการติดต่อสื่อสารบนเว็บไว้อย่างครบครัน เช่น อีเมล์ (E-Mail) ระบบแจ้งข่าวสาร (E-News) ระบบถามตอบ (FAQ’s) หรือห้องสนทนา (Chat Room) เป็นต้น จัดหาช่องทางอื่นที่สามารถติดต่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านบริการ WAP (Wireless Application Protocol) ไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
5.3. ตัวอย่างกลยุทธ์ที่กล่าวสามารถจำแนกเครื่องมือและวิธีการติดต่อสื่อสารออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ (1)การติดต่อจากเว็บไซต์ไปยังลูกค้า (Site-to-User) เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ไปยังลูกค้า โดยใช้เครื่องมือ เช่น อีเมล์ ระบบแจ้งข่าวสารอัตโนมัติ และบันทึกช่วยจำ (2)การติดต่อจากลูกค้าไปยังเว็บไซต์ (User-to-Site) เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารจากผู้ใช้ไปยังเจ้าของเว็บไซต์ (หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง)โดยใช้เครื่องมือ เช่น ระบบติดต่อ แสดงความคิดเห็น การโหวต และสมุดเยี่ยม
6. การเชื่อมต่อเว็บไซต์
6.1. หมายถึง การติดต่อสื่อสารไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าด้วยกัน ตลอดจนเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย ดังนั้น การออกแบบเว็บพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงควรมีฟังก์ชันการทำงานส่วนนี้ด้วย
6.2. ตัวอย่างการออกแบบส่วนการเชื่อมโยง -ไม่ควรใช้สีข้อความเชื่อมโยงที่หลากหลาย เพราะอาจทำให้ผู้ชมเกิดความสับสนว่าเว็บไซต์ใดได้เปิดรับชมไปแล้ว -อาจออกแบบโดยให้แสดงเป็นหน้าต่างเว็บบราวเซอร์ขึ้นมาใหม่ เพื่อไม่ให้ลูกค้าละทิ้งเว็บไซต์ของบริษัท
7. การทำธุรกรรม
7.1. หมายถึง ขั้นตอนการทำรายการสั่งซื้อสินค้า สำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว การทำธุรกรรมนับเป็นหัวใจสำคัญของระบบ ซึ่งต้องประกอบด้วยการอธิบายรายละเอียดของวิธีการสั่งซื้อสินค้า เงื่อนไข และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด อันเนื่องมาจากลูกค้าไม่เข้าใจวิธีการสั่งซื้อสินค้า และเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้
7.2. ขั้นตอนการทำธุรกรรมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. การหาข้อมูลและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Searching & Advertising) วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการทำเว็บไซต์ก็คือการให้ข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้รับสาร 2. การทำธุรกรรม (Transaction) จะเริ่มต้องแต่การทำคำสั่งซื้อ การชำระเงินค่าสินค้า ไปจนการจัดส่งสินค้า 3. การทำคำสั่งซื้อ (Ordering) เมื่อได้ข้อมูลเพียงพอและต้องการจะทำการซื้อสินค้าหรือจะทำธุรกรรมกันแล้ว ในฝั่งผู้ขายต้องมีระบบที่มีประสิทธิภาพรองรับอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบตะกร้าสินค้า(Shopping Carts) ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่นแสดงรายละเอียดที่ดูได้ง่ายว่าได้ทำการเลือกสินค้าใด ๆไว้บ้างแล้วในตะกร้า รวมแล้วค่าสินค้าเป็นเท่าไร ภาษีค่าจัดส่งต่างๆ 4. ระบบการชำระเงิน (Payment Systems) ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า 5. การจัดส่งสินค้า
Comincia. È gratis!
Connetti con Google
o
Registrati