งานแก้0วิชานาฏศิลป์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
งานแก้0วิชานาฏศิลป์ by Mind Map: งานแก้0วิชานาฏศิลป์

1. หน่วยที่๑ ละครไทย

1.1. วิวัฒนาการละครไทย

1.1.1. (สมัยน่านเจ้า พ.ศ. ๑๑๖๑ – ๑๑๙๔) สมัยอาณาจักรน่านเจ้า ไทยมีนิยายเรื่องหนึ่งคือ “มโนห์รา” ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ หนังสือทีเขียนบรรยายถึงเรื่องของชาวจีนตอนใต้ และเขียนถึงนิยายการเล่นต่างๆ ของจีนตอนใต้ มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ชื่อเหมือนกับนิยายของไทย คือเรื่อง“นามาโนห์รา” และอธิบายไว้ด้วยว่าเป็นนิยายของพวกไต ซึ่งจีนถือว่าเป็นชน

1.1.2. (สมัยสุโขทัย พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๒๖)ในสมัยสุโขทัย ได้คบหากับชาติที่นิยมอารยธรรมของอินเดีย เช่น พม่า มอญ ขอม และละว้า ไทยได้รู้จักเลือกเฟ้นศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สมาคมด้วย แต่มิได้หมายความว่า ชาติไทยแต่โบราณจะไม่รู้จักการละครฟ้อนรำมาก่อน เรามี การแสดงระบำ รำ เต้น มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว เมื่อไทยได้รับวัฒนธรรมด้านการละครของอินเดียเข้ามา ศิลปะแห่งการละเล่นพื้นเมืองของไทย คือ รำ และระบำ ก็ได้วิวัฒนาการขึ้น มีการกำหนดแบบแผนแห่งศิลปะการแสดงทั้ง ๓ ชนิดไว้เป็นที่แน่นอน และบัญญัติคำเรียกศิลปะแห่งการแสดงดังกล่าวว่า “โขน ละคร ฟ้อนรำ”

1.1.3. (กรุงศรีอยุธยาพ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310) ละครรำสมัยกรุงศรีอยุธยามีต้นกำเนิดจากการเล่นโนรา และละครชาตรีที่นิยมกันในภาคใต้ของประเทศไทย แต่เดิมมีละครชื่อขุนศรัทธา เป็นละครในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนระบำหรือฟ้อนเป็นศิลปะโดยอุปนิสัยของคนไทยสืบต่อกันมา ละครรำของไทยเรามี ๓ อย่าง คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน ละครชาตรีเป็นละครเดิม ละครนอกเกิดขึ้นโดยแก้ไขจากละครชาตรี แต่ละครในนั้นคือละครผู้หญิง เมื่อครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังไม่มีปรากฏ มาปรากฏว่ามีละครผู้หญิงในหนังสือบุณโณวาทคำฉันท์ ซึ่งแต่งในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ เป็นครั้งแรก เพราะฉะนั้นละครผู้หญิงจึงเกิดขึ้นในระหว่างรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา พ.ศ.๒๒๓๑ – ๒๒๔๖ มาจนรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในระหว่าง ๗๐ ปีนี้ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้มีละครผู้หญิงเล่นคือเรื่อง “อิเหนา” ซึ่งเป็นละครใน