ภัยธรรมชาติ

Laten we beginnen. Het is Gratis
of registreren met je e-mailadres
ภัยธรรมชาติ Door Mind Map: ภัยธรรมชาติ

1. เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แผ่นดินมีการสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแรงบางอย่างที่อยู่ใต้พื้นโลก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นของแผ่นดินไหวจะกระจายไปสู่บริเวณส่วนต่างๆ ของโลก และถ้าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเป็นไปอย่างรุนแรง อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างออกไปไกลนับหมื่นกิโลเมตรก็สามารถรับคลื่นแผ่นดินไหวได้

2. แผ่นดินถล่ม

2.1. เกิดจากอะไร?

2.1.1. การเคลื่อนที่ของแผ่นดิน และกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของดินหรือหิน ตามบริเวณพื้นที่ลาดชันที่เป็นภูเขาหรือเนินเขา

2.2. อันตรายที่เกิดจากดินถล่ม

2.2.1. เมื่อเกิดดินถล่ม จะเป็นอันตรายต่ออาคารสิ่งปลูกสร้าง เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด เสาไฟฟ้า และต้นไม้ล้ม

2.3. การเตรียมพร้อมรับมือ/ป้องกันอันตราย

2.3.1. - ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องเฝ้าระวังกันให้ดี โดยให้อพยพ หรือให้หนีไปที่สูง ๆ และต้องรีบแจ้งต่อ ๆ ให้รู้ทั่วกันโดยเร็ว - ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้ - ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้

3. อุทกภัย

3.1. เกิดจากอะไร?

3.1.1. อุทกภัย ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ

3.2. อันตรายที่เกิดจากอุทกภัย

3.2.1. 1. อาคารบ้านเรือน โรงเรียน สาธารณสถาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับผลเสียหาย 2. การคมนาคม การสื่อสาร ถนนหนทาง ทางรถไฟ สะพาน โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ได้รับความเสียหาย 3. ผลเสียหายต่อผลิตผลทางเกษตรกรรม การปศุสัตว์ โดยสัตว์เลี้ยงอาจถูกพัดพาหรือจมหายไป 4. ธุรกิจการค้าหยุดชะงัก ทำให้สูญเสียเศรษฐกิจ

3.3. การเตรียมพร้อมรับมือ/ป้องกันอันตราย

3.3.1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา * สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง * ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น * เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร * ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร * เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง * ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม * หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค

4. ภัยแล้ง

4.1. เกิดจากอะไร?

4.1.1. 1. โดยธรรมชาติ 1.1 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก 1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 1.3 การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล 1.4 ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว 2. โดยการกระทำของมนุษย์ 2.1 การทำลายชั้นโอโซน 2.2 ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก 2.3 การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม 2.4 การตัดไม้ทำลายป่า

4.2. อันตรายที่เกิดจากภัยแล้ง

4.2.1. 1. การขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค 2. ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้สินค้าบางอย่างขาดแคลน ทำให้ราคาสินค้าอื่นสูงขึ้น 3. รัฐต้องสูญเสียงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนสูง 4. ประชาชนไม่มีงานทำ ต้องอพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม 5. การระเหยของน้ำจากพื้นดิน มีผลกระทบทำให้พื้นดินขาดน้ำ พืชอาจล้มตายและผลผลิตลดลงได้ 6. การประกอบการด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เพราะขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการผลิตพลังงาน

4.3. การเตรียมพร้อมรับมือ/ป้องกันอันตราย

4.4. 1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา 2. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น

5. แผ่นดินไหว

5.1. เกิดจากอะไร?

5.2. อันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว

5.2.1. ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้น (ขนาดปานกลาง 4-6 ริกเตอร์ ขนาดเล็ก 1-3 ริกเตอร์) จะเกิดรอยร้าวของอาคารและสิ่งของตกลงพื้นหรือแกว่ง แต่ถ้าขนาดของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คือ ตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดความรุนแรงมาก คือ อาคารที่ไม่แข็งแรงจะพังทรุดถล่ม มีผู้เสียชีวิตมาก กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เป็นเกาะ และมีขนาดตั้งแต่ 7.5 ริกเตอร์ขึ้นไป ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามินอกจากนี้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อาจจะทำให้พื้นที่บริเวณเชิงเขาที่ลาดชันเกิดดินถล่มลงมาทับบ้านเรือนแถบเขาและอาจเกิดแผ่นดินแยกกัน

5.3. การเตรียมพร้อมรับมือ/ป้องกันอันตราย

6. สึนามิ

6.1. เกิดจากอะไร?

6.2. 1. การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใกล้ทะเล 2. การเกิดแผ่นดินเลื่อนถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่ง 3. การเกิดจากก้อนหินตกลงในอ่าวหรือมหาสมุทรแผ่นดินไหว ซึ่งอาจจะเป็นการเกิดแผ่นดิน ถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง 4.การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกด้วยแรงเทคโทนิคจาก 5. การเกิดระเบิดใหญ่ใต้น้ำจากนิวเคลียร์

6.3. อันตรายที่เกิดจากสึนามิ

6.4. อันตรายต่อบุคคล 1. เสียชีวิต หรือสูญหาย 2. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น โดนไม้ หรือสิ่งของกระแทก 3. เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ หลังจากเกิดภัยสึนามิ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรคน้ำกัดเท้า 4. สุขภาพจิตเสื่อม เนื่องจากการหวาดผวา หวาดกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลที่รักและทรัพย์สิน 5. ขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ หรือธุรกิจการค้าต่าง ๆ หยุดชะงัก ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ อันตรายต่อทรัพย์สิน 1. อาคารบ้านเรือน ร้านค้า โรงเรียน สาธารณสถาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก 2. การสื่อสาร ระบบโทรคมนาคมถูกตัดขาด ไฟฟ้า น้ำประปา ได้รับความเสียหาย 3. แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประเทศชาติ

6.5. การเตรียมพร้อมรับมือ/ป้องกันอันตราย

6.5.1. 1. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดติดชายฝั่งทะเลย ต้องระลึกเสมอว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมทุกเมื่อ 2. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง เช่น มีการลดระดับน้ำทะเล ให้รีบอพยพครอบครัวและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูง เป็นต้น 3. ถ้าอยู่ในเรือจอดใกล้กับชายฝั่งให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล 4. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง หากจำเป็นต้องมีการก่อสร้าง ควรมีโครงสร้างแข็งแรงต้านแรงสึนามิได้

7. ภูเขาไฟ

7.1. เกิดจากอะไร?

7.1.1. การปะทุของหินหนืดหรือแมกมา ภายในแมกมาจะมีแก๊สอยู่ เมื่อแมกมาเคลื่อนขึ้นมาใกล้ผิวโลกตามช่องเปิดแก๊สต่างๆ ที่ละลายอยู่จะแยกตัวออกเป็นฟองแก๊สจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความหนืดของแมกมาตรงที่เกิดฟองจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนเกิดการแตกร้าวของฟองแก๊สพร้อมๆ กับการขยายตัวแล้วเกิดปะทุออกอย่างรุนแรง

7.2. อันตรายที่เกิดจากภูเขาไฟ

7.2.1. 1. ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหววเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันและอาจเกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ 2. การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลมาจากปากปล่องภูเขาไฟและเคลื่อนที่เร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษย์และสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันและเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง 3. การเกิดฝุ่นภูเข้าไฟ เถ้า มูล ภูเขาไฟ ปะทุขึ้นสู่บรรยากาศครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟปะทุหลายพันกิโลเมตร ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ในแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน เมื่อฝนตกหนักอาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนภล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น 4. เกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเกิดการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องทะเล คลื่นนี้อาจโถมเข้าฝั่งสูงขนาดตึก 3 ชั้นขึ้นไป

7.2.1.1. 1. สวมเสื้อคลุม กางเกงขายาว ถุงมือเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟ และความร้อนจากการระเบิด 2. ใส่หน้ากากอนามัย แว่นตาทุกชนิดเพื่อป้องกันเถ้าภูเขาไฟ เตรียมเสบียง ยารักษาโรค เครื่องใช้ที่จำเป็นรวมทั้งเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ วิทยุFM,AM 3. ติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างเคร่งครัด และเมื่อทางการสั่งอพยพ ให้อพยพออกจากพื้นที่ทันทีอาจไปรวมตัวกันที่สถานที่หลบภัยทันที 4. ไม่ควรหลบอยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้าง เพราะอาจถล่มลงมาจากแผ่นดินไหว หรือเถ้าภูเขาไฟ

7.3. การเตรียมพร้อมรับมือ/ป้องกันอันตราย

8. 1.อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติ อย่าตื่นตระหนก 2.กรณีอยู่ในบ้าน ให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง 3.กรณีอยู่ในอาคาร หาที่หลบที่ปลอดภัย เช่น หมอบใต้โต๊ะ หรือจุดที่มีโครงสร้างแข้งแรง 4.ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา อาคาร และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ 5.อย่าใช้สิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น 6.หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัย 7.ห้ามในลิฟต์โดยเด็ดขาด ขณะเกิดแผ่นดินไหว 8.กรณีอยู่ชายทะเล หากสังเกตเห็นน้ำทะเลลดระดับรวดเร็ว ให้รีบหนีขึ้นที่สูง เพราะอาจเกิดสึนามิ