พฤติกรรมมนุษย์

Laten we beginnen. Het is Gratis
of registreren met je e-mailadres
พฤติกรรมมนุษย์ Door Mind Map: พฤติกรรมมนุษย์

1. 1. เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2. เพื่อศึกษาปัจจยัทา นายระหว่างปัจจยัส่วนบุคคล ปัจจัยดา้นครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม และปัจจยัดา้นสิ่งแวดลอ้มต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบณัฑิต 3. เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต

2. ความเครียดจากการศึกษาวิชาชีพพยาบาลเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จและผลการเกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลส่งผลให้นักศึกษาพยาบาลตำหนิตนเองหรือโทษตนเอง ตำหนิคนอื่นที่ทำให้เกิดปัญหาและมีการคลายเครียดโดยการเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่และเล่นการพนัน

3. มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในสังคม ไม่มีการแยกตัวออกไปอยู่โดดเดี่ยวตามล าพัง ประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลได้รับเป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ หรือมี ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม ความสัมพันธ์ของคนในสังคมจะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคล 2 คน หรือ มากกว่าติดต่อสื่อสารกัน และมีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น พูดคุย วางแผนงานร่วมกัน ร่วมงาน กัน ต่อต้านหรือแข่งขันกัน หรือแม้แต่ขณะอยู่คนเดียวยังน าเอาความคิด และการปฏิบัติของสังคม มาใช้ เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งกาย สังคมรอบตัวจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งใน ด้านความรู้สึกนึกคิด การรับรู้และการแสดงออกต่าง ๆ

4. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล

4.1. ภาวะเครียดในนักศึกษาพยาบาล

4.1.1. ความเครียดของพยาบาลเกิดจากหลายสาเหตุ อันประกอบด้วย ความกดดันจากสภาพแวดล้อม บุคคลรอบข้าง เช่นการเล่าเรียนหนังสืออย่างหนัก การถูกกดดันด้วยเวลา การทำอะไรที่ต้องเร่งรีบ การแข่งขันกับบุคคลอื่น สาเหตุที่เกิดจากความวิตกกังวล กังวลกับอดีต วิตก กังวลกับอนาคต สาเหตุที่เกิดจากความคับข้องใจ ถูกขัดขวางการดำเนินการตามเป้าหมายของชีวิตหรือ การทำงาน

4.2. ลักษณะของนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะเครียด

4.2.1. นักศึกษาพยาบาลที่มีความเครียดมักขาด แรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการเรียน และการใช้ชีวิต มีความบกพร่องในการจัดการกับ ปัญหาและบกพร่องด้านการตัดสินใจ แยกตัวออกจาก สังคม ไม่สนใจผู้อื่น ไม่สนใจในการเรียน ขาดความ รับผิดชอบ อันเป็นสาเหตุของการล้มเหลวในการเรียน และพบว่า บางรายนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า นำมาสู่การ คิดฆ่าตัวตาย

4.3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาล

4.3.1. ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษา

4.3.2. ปัจจัยด้านความมุ่งมั่นทางการศึกษา

4.3.3. ปัจจัยด้านการเรียนการสอนภาคทฤษฎี

4.3.4. ปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับอาจารย์

4.3.5. ปัจจัยด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน

4.3.6. ปัจจัยด้านการเงิน

4.3.7. ปัจจัยด้านสุขภาพ

4.3.8. ปัจจัยด้านหอพัก

4.3.9. ปัจจัยด้านการเรียนการสอนด้านปฏิบัติ(เฉพาะปี 3,4)

4.4. แนวทางการป้องกันภาวะเครียดในนักศึกษาพยาบาล

4.4.1. ด้านตัวนักศึกษาพยาบาล

4.4.2. ด้านครอบครัว

4.4.2.1. ครอบครัวที่ทำให้ทุกคนได้มาผ่อนคลาย จากความ ตึงเครียดนอกบ้าน ที่สำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันส่วนการมีเพื่อนแสดงถึงการเปิดตัวรับและ มีสัมพันธภาพกับคนอื่นด้วย สุดท้ายอยู่ที่ทุกคนให้ ความสำคัญกับความเป็นครอบครัว สามารถบริหาร เวลาให้เกิดเวลาของครอบครัวเสมอ เวลาที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยน ปลอบโยน ให้กำลังใจกัน

4.4.3. ด้านสถาบันการศึกษา

4.4.3.1. สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญในการ ป้องกันการเกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาควรมีระบบในการเฝ้าระวังการเกิด ความเครียด โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีเพื่อลดความเสี่ยง ต่อการเกิดความเครียด

4.5. การป้องกันการเกิดความเครียดควรเริ่มจากการดูแล สุขภาพร่างกาย ให้แข็งแรงสมบูรณ์ทำให้มีความพร้อม กับการเผชิญความเครียด ด้วยการเลือกรับประทาน อาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4.6. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

4.7. แนวทางการจัดการความเครียดของนักษาพยาบาล

4.7.1. วิธีการจัดการกับความเครียด ได้แก่

4.7.1.1. การหายใจลึกๆเมื่อรู้สึกเครียด ฝึกการ หายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณหน้าท้อง แทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก

4.7.1.2. การออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและ ดูเหมือนจะได้ผลดีมากที่สุดในการลดความเครียด การออกกำลังกายมีผลกระตุ้นระบบประสาทอิสระ และทำให้ร่างกายตื่นตัวจนเกินปกติ ภายหลังการ ออกกำลังกายภาวะของการตื่นตัวจะกลับสู่ความ สมดุลตามปกติ และทำให้รู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น

4.7.1.3. การนวด จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้เราได้ เพราะได้ไปกระตุ้น การไหลเวียนเลือด ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง สบายตัว หายเครียด และลดอาการเจ็บปวดต่างๆ

4.7.1.4. การพักผ่อน ร่างกายก็เหมือนเครื่องยนต์ เมื่อใช้งานมากเกินไป จำเป็นต้องมีการหยุดพักเสียบ้าง ควรหาเวลาหลีกไปสักพักเมื่อเครียดหลังเลิกเรียน ทำอะไรก็ได้ที่ชอบเพื่อเป็นการพักผ่อนสมอง

4.7.1.5. การลดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การ สร้างอารมณ์ขัน การคิดในทางบวก การดูภาพยนตร์ การฟังเพลง การหัวเราะ

4.7.1.6. การทำสมาธิ เลือกสถานที่ที่เงียบสงบ ไม่มีใครรบกวน นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือชนกันหรือมือขวาทับมือซ้ายตั้งตัวตรง

4.8. การรับประทานอาหาร เมื่อคนเราเครียด หรือวิตกกังวลจำเป็นต้องรับประทานอาหารหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีแคลเซียมและวิตามินบี อาหารที่ขาดสารจำเป็นบางอย่างก่อให้เกิดผลเสียต่อ ปฏิกิริยาต่อความเครียด

5. ปัจจัยทำนายความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษา หลกัสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

5.1. วัตถุประสงค์การวิจัย

5.2. วิธีดำเนินการวิจัย

5.2.1. ประชากรและกลุ่มตวัอย่าง ประชากรที่ใชใ้นการศึกษาในคร้ังน้ีไดแ้ก่ นกัศึกษาหลกัสูตรพยาบาลศาสตรบณัฑิต ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลยัพยาบาล บรมราชชนนี ชัยนาท ปี การศึกษา 2561 จำนวน 351คน ประกอบด้วย ช้ันปี1 จ านวน 80 คน ช้ันปี2 จ านวน 95คน ช้ันปี3 จำนวน 112คน และชั้น ปี4 จำนวน 64 คน จำนวนกลุ่มตวัอย่างที่ใชใ้นการศึกษาคร้ังนี้ใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปคำนวณกลุ่ม ตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน [10] ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 คน และเพื่อป้องกันความสูญเสียของข้อมูลที่ได้ผู้วิจัยเพิ่ม จำนวนกลุ่มตวัอย่างอีก10 % รวมเป็น 235 คน ขนาดของกลุ่มตวัอย่างคำนวณตามสัดส่วนของนักศึกษาแต่ละชั้นปีคัดเลือกแบบ การสุ่มกลุ่มตวัอย่างอย่างง่าย(Simple Random Sampling)

5.3. การอภิปรายผล

5.3.1. วิธีการจัดการกับความเครียดของกลุ่มตวัอย่าง พบว่าส่วนใหญ่ใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน โดยเลือกใช้กิจกรรม ออนไลน์ในมือถือและคอมพิวเตอร์ไดแ้ก่ เล่นเกมส์ออนไลน์/เล่นไลน์/เล่นเฟสบุ๊คมากที่สุด รองลงมาได้แก่กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดูหนัง/ฟังเพลง/ร้องเพลง การสร้างกำลังใจให้ตนเอง และมีการปรึกษาพ่อแม่และผูป้กครอง การที่นักศึกษาเลือกวิธีการใช้ กิจกรรมออนไลน์ในสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์อาจเป็นเพราะมีความหลากหลายในช่องทางให้เลือกผ่าน แอฟพลิเคชั่นต่างๆ เช่น เฟสบุ๊คไลน์และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งง่ายต่อการใช้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย เพราะเป็นบริการของสถานศึกษาที่ให้บริการนักศึกษาตลอด 24 ชวั่ โมง

6. จิตวิทยาสังคมกับการปรับพฤติกรรมการรับรู้ของบุคคลในการดำรงชีวิต

6.1. จิตวิทยาสังคม หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาคำอธิบายว่าความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมต่างๆ ของคน ได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากการแสดงออก จากการ จินตนาการหรือการแสดงนัยของผู้อื่นอย่างไร นิยามของค าว่า ความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม ใช้ใน ความหมายที่รวมถึงตัวแปรทางจิตวิทยาที่สามารถวัดปริมาณได้

6.2. ความหมายของจิตวิทยาสังคม

6.2.1. จิตวิทยาสังคม หมายถึง การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าผู้คนคิดอย่างไรเกี่ยวกับผู้อื่นผู้คนมี ความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร และผู้คนมีอิทธิพลต่อกันและกันอย่างไรบ้างส่วนของ ผู้คนคิดอย่างไร เกี่ยวกับผู้อื่น ศึกษาเรื่องความเชื่อ เจตคติ ค่านิยม ความคิดเห็นภาพลักษณ์ ภาพในความคิด (Stereotype) การอนุมานสาเหตุ (Attribution) ปัญญาทางสังคม (Social Cognition)

6.2.2. จิตวิทยาสังคม หมายถึง การศึกษาพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึกของบุคคล หรือ ปฏิสัมพันธ์ของบุคคลซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์กับคนอื่น หรือกลุ่มคน เช่น ศึกษาถึงความรัก ความ เกลียด การท างาน การช่วยเหลือ ความเชื่อถือ การต่อสู้ การสื่อสาร เป็นต้น

6.3. องค์ประกอบของการรับรู้ทางสังคม

6.3.1. เจตคติ

6.3.1.1. ท่าทีความรู้สึก ความเชื่อ และแนวโน้มของพฤติกรรมของบุคคลที่มี ต่อ บุคคล หรือสิ่งของ หรือความคิด แต่ในความหมายของศัพท์

6.3.2. การรับรู้ภาพพจน์ตนเอง

6.3.3. การรับรู้บุคคลอื่น

6.3.3.1. การรับรู้ตนเองท าให้บุคคลเกิด ประสบการณ์และรู้ว่าตนเองมี ลักษณะที่ควรรับรู้ในเรื่องต่างๆ ความสามารถและความถนัด บุคคลควรรู้ตนเองว่ามีความสามารถ และความถนัดในด้านใด เพื่อประโยชน์ ในการตัดสินใจเลือกโปรแกรมการเรียน และการเลือก สาขาอาชีพ ต่อไปในอนาคต

6.3.4. การขัดแย้งระหว่างบุคคล

6.3.4.1. เมื่อบุคคลรับรู้คนอื่นผิดพลาดไปอาจท าให้เกิดปัญหาความ ขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างกลุ่มตามมาได้ ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนถึงขั้นเป็นเหตุการณ์ใหญ่โต ลุกลามเป็นปัญหายุ่งยาก

6.3.4.2. การรับรู้ภาพพจน์ตนเอง เป็นการท าความเข้าใจตนเองทั้ง ทางบวกและทางลบบุคคลจะท าความเข้าใจตนเองในด้านต่างๆ

6.3.5. การสร้างมิตรภาพระหว่างบุคคล

6.3.5.1. หลักพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล เพื่อความประทับใจร่วมกัน ความรักใคร่ ความชอบพอกัน เป็นมิตรกัน เป็นหนทางที่นำไปสู่ มิตรภาพ การใช้ชีวิตร่วมกัน ตลอดจนการทำงานร่วมกัน โดยความสัมพันธ์ของบุคคล

6.4. ลักษณะของพฤติกรรมทางสังคม

6.4.1. การร่วมมือและการแข่งขัน

6.4.1.1. โดยธรรมชาติมนุษย์อยู่ในสังคมจะมีความพึงพอใจที่อยู่ ร่วมกับกลุ่มต้องการที่จะมีส่วนร่วมในกลุ่ม ต้องการมีความสัมพันธ์กับเพื่อนสมาชิกด้วยกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสมาชิกจะทำให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม รวมทั้งปฏิบัติตาม บรรทัดฐานของกลุ่ม และมีภาษาใช้ในกลุ่มของตนโดยเฉพาะทำให้เกิดความร่วมมือของกลุ่มได้

6.4.2. การขัดแย้งและการต่อรอง

6.4.2.1. การขัดแย้ง (Conflict) เป็นการกระท าระหว่างกัน เพื่อ มุ่งบรรลุผลเป้าหมายเช่นเดียวกับการ แข่งขัน แต่ความขัดแย้งจะยึดเป้าหมายโดยมีการท าลาย สมรรถนะของฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าคู่แข่ง ถูกท าลาย ฝ่ายตนย่อมจะได้ชัยชนะ การขัดแย้งจึงเป็น ปฏิสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากการเสียผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม การขัดแย้งทำให้เกิด ความบาดหมาง และอาจเพิ่มความรุนแรง จนถึงขั้นทำลายซึ่งกันและกัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการ ขจัดความขัดแย้งเป็นอย่างมาก

6.5. รูปแบบอิทธิพลทางสังคม

6.5.1. ความต้องการทางกายภาพ

6.5.1.1. เป็นความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์อยู่ แล้ว เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการทางเพศ เป็นต้น

6.5.2. ความต้องการทางจิตใจ

6.5.2.1. ความต้องการทางกายภาพนั้นมนุษย์สามารถตอบสนองได้เองโดยไม่ต้องพึงพาสมาชิกในสังคม เช่น เมื่อหิวก็สามารถเดินไปหาอาหารทานตามลำพังได้

6.5.3. ความต้องการที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

6.5.3.1. ถือเป็นปัจจัยส าคัญในการ เจริญเติบโตทางวัฒนธรรมในสังคมมนุษย์ ด้วยเหตุที่ความต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะ เป็นไปได้

6.6. อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล

6.6.1. การเร้าทางสังคม

6.6.1.1. ถ้าเราสังเกตพฤติกรรมในชีวิตประจ าวันจะพบว่า การเพียงแต่ ปรากฏกายของยุคคลอื่น ๆ โดยที่เขาไม่ได้ท าอะไรเลยก็มีผลต่อพฤติกรรมของเรา

6.6.2. การเสริมแรงทางสังคม

6.6.2.1. การเสริมแรงทางสังคมยังเป็นอักวิธีหนึ่งที่บุคคลอื่นมีอิทธิพลต่อพฤตอกรรมของเราซึ่งมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งที่ให้รางวัลและแหล่งของการลงโทษมนุษย์ด้วยกัน เช่นการให้รางวัล

6.6.3. การเสริมแรงทางภาษา

6.6.3.1. พ่อแม่ มักจะใช้การเสริมแรงภาษาในการอบรมสั่งสอน ลูก เช่น เมื่อลูกพูดจาไพเราะพ่อแม่ชมว่า เก่ง แต่พ่อแม่มักให้ความสนใจ และความรักแก่ลูกมาก เกินไปท าให้การเสรมแรงด้อยประสิทธิภาพลง ถ้ามีคนแปลกหน้าเป็นผู้ให้อาจมีประสิทธิภารมากว่า

6.7. กระบวนการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางสังคม

6.7.1. การเร้าทางสังคม

6.7.1.1. การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคม พฤติกรรมทางสังคมที่แสดงออก เกิดจากการเร้าทางสังคม ทั้งสิ้น เช่น เร้าให้กระตือรือร้น เร้าให้เกิดการเอาอย่างหรือเร้าให้เกิด ความรู้สึกต่างๆ เป็นต้น

6.7.2. การเสริมแรงทางสังคม

6.7.2.1. พฤติกรรมทางสังคม เกิดจากการเร้าโดยบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากการเร้าแล้ว การเสริมแรงทางสังคมก็มีความส าคัญมากในการแสดงถึงอิทธิพล ของผู้อื่นที่มีต่อเรา กล่าวคือ “มนุษย์” จะเป็นผู้เสริมแรงทางสังคม ด้วยการให้รางวัลต่างๆ เพื่อ กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม

6.8. ปัจจัยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

6.8.1. ความพึงพอใจร่วมกัน

6.8.1.1. ความพอใจที่จะมีความสัมพันธ์ต่อกัน เกิดเป็นความ ชอบพอระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลขึ้นอยู่กับผลประโยชน์และผลเสียที่ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างจะได้รับ เช่น ความพอใจ หรือความอาย ความน่าเบื่อ โดยบุคคลจะคาดหวังถึงผลประโยชน์ที่ ตนควรได้รับ

6.8.2. ความเอื้อเฟื้อ

6.8.2.1. การที่บุคคลได้ให้ประโยชน์ของตนเองต่อผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นได้รับ สิ่งที่ต้องการ ซึ่งการให้จะท าให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้ให้ ความสัมพันธ์จะคงอยู่ ฉะนั้นผู้แสดงความเอื้อเฟื้อก็จะได้รับประโยชน์จากผู้รับด้วย เพราะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในสายตาผู้อื่น

6.8.3. ความไว้วางใจ

6.8.3.1. การไว้วางใจเป็นสิ่งที่ท าให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เพราะคนที่ไว้วางใจใครจะนำไปสู่การเปิดเผยตนเองด้วยความบริสุทธิ์ใจบุคคลที่แสดงความ ไว้วางใจผู้อื่นจะมีส่วนกระตุ้นให้อีกฝ่ายรู้สึกในคุณค่าของตนเอง

6.8.4. บรรทัดฐานส่วนบุคคล

6.8.4.1. คนทุกคนย่อมมีบรรทัดฐานส่วนตัวที่ตนยึดมั่นและ การ แสดงออก พบว่าคนที่มีความสัมพันธ์กันจะมีบรรทัดฐานส่วนตัวใกล้เคียงกัน

6.9. วิธีการปรับพฤติกรรมทางสังคม

6.9.1. การควบคุมตนเองและการบังคับตนเอง

6.9.1.1. การที่บุคคลสามารถควบคุมพฤติกรรมหรือการกระทำของตนเองได้ โดยที่เขาสามารถเลือพฤติกรรมเป้าหมาย และกระบวนการที่จะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วยตัวเขาเอง การควบคุมตนเองและการบังคับตนเองถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญของการปรับพฤติกรรม

6.9.2. การสร้างพฤติกรรมใหม่

6.9.2.1. เป็นเทคนิคสำหรับใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมใหม่โดยการเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่เราคาดหมายว่าจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ต้องการเช่นต้องการมาทำงานเช้ากว่าเดิม หรือทำงานให้มีความผิดพลาดน้อยลง

6.9.3. การลดพฤติกรรม

6.9.3.1. การลดพฤติกรรมหมายถึงการตัดทอนหรือลบพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกไป ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจจะสร้างปัญหาและความเดือดร้อนให้ตัวเองและผู้อื่นได้ซึ่งเราสามารถใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การลงโทษ ซึ่งผู้ลงโทษจะต้องเข้าใจหลักการในการลงโทษ

6.9.4. การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมไว้

6.9.4.1. การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมไว้เมื่อมีการสร้างพฤติกรรมให้กับบุคลากรแล้ว ส่งที่สำคัญยิ่งคือการธำรงรักษาพฤติกรรมให้คงอยู่ถาวรหรือนานที่สุด ซึ่งคงต้องอาศัยหลักการเสริมแรงในทางบวกเป็นหลัก แต่หากจำเป็นอาจเสริมแรงในทางลบก็ได้

6.9.5. การเสริมแรงทางบวก

6.9.5.1. สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ และส่งผลต่อพฤติกรรมที่จะดำรงอยู่กล่าวคือเกิดการตอบสนองที่จะมีพฤติกรรมนั้นๆ บ่อยขึ้น ซึ่งหลักการเสริมแรงทางบวก

6.9.6. การเสริมแรงทางบวก

6.9.6.1. สิ่งเร้าหรือสถานการณ์ที่บุคคลไม่พึงพอใจ ซึ่งบุคคลอาจหลบเลี่ยงหรือลีกหนีได้ด้วยการทำพฤติกรรมบางอย่าง บุคคลจะกระทำพฤติกรรมนั้นมากขึ้น

7. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะปฏิบัติห้องคลอด

7.1. ความหมาย สาเหตุและระดับของความเครียด

7.1.1. ความเครียด คือ ภาวะตอบสนองของ ร่างกายหรือจิตใจ ต่อสิ่งที่มาคุกคามแล้วทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น โดยแสดงออกทั้งด้านร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บุคคลรับรู้ หรือประเมินสิ่งที่ผ่านเข้ามาในประสบการณ์ของตนว่าเป็นสิ่งที่คุกคามร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดการดึงกลไกการป้องกันตนเองมาใช้เพื่อทำให้ความรู้สึกถูกกดดันหรือความเครียดเหล่านั้นคลายลง และกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง

7.1.2. สาเหตุของความเครียด ที่ก่อให้นักศึกษา เกิดความเครียดในการปฏิบัติงานห้องคลอด ประกอบด้วยสาเหตุหลักใหญ่ๆ 2 ประการ คือ

7.1.2.1. สาเหตุจากภายในตัวนักศึกษา อันประกอบด้วยภาวะด้านร่างกายและจิตใจของ นักศึกษาเอง เช่น ความสมบูรณ์แข็งแรงของ ร่างกาย สภาวะทางสรีรวิทยา ลักษณะบุคลิกภาพ การรับรู้และการแปลความหมายจากเหตุการณ์

7.1.2.2. สาเหตุจากภายนอกตัวนักศึกษา ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือปัจจัยต่างๆ ที่นักศึกษาประสบและมีผลต่อความสมดุลของ ร่างกายและจิตใจทั้งนี้สามารถ แบ่งระดับความเครียดออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

7.1.2.2.1. ความเครียดระดับต่ำ (Mild stress) เป็นภาวะที่มีความเครียดอยู่เล็กน้อยพบได้ในชีวิต ประจำวัน

7.1.2.2.2. ความเครียดระดับกลาง (Moderate stress) เป็นภาวะที่มีความเครียดรุนแรงกว่าชนิดแรก อาจเกิดเป็นชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงจนกระทั่งเป็นวัน

7.1.2.2.3. ความเครียดระดับรุนแรง (Severe stress) เป็นภาวะที่มีความเครียดอยู่ในระดับที่ รุนแรง ความเครียดชนิดนี้จะแสดงอาการอยู่นาน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือนหรือเป็นปี สาเหตุของความเครียด จะรุนแรงหรือมีหลายสาเหตุ เช่น การสูญเสีย บุคคลที่รัก การเจ็บป่วยร้ายแรง การล้มเหลวในการ ทำงาน

7.2. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความเครียด

7.2.1. การจัดการความเครียดเป็นกระบวนการ ที่บุคคลพยายามทั้งการกระทำ (behavior) และ ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง (cognitive) ในการ จัดการกับความต้องการของร่างกายทั้งภายนอก และภายในของบุคคล ซึ่งจะสามารถจัดการกับ ความเครียดได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับพลังความ สามารถของแต่ละบุคคล ลาซารัสได้แบ่งพฤติกรรมการเผชิญความเครียด เป็น 2 แบบ คือ การมุ่งแก้ปัญหา (Problem-focused coping) และการลดอารมณ์ตึงเครียด (Emotional-focused coping) ทั้งนี้ในชีวิตประจำวันจะมีการใช้ทั้ง 2 แบบ เปลี่ยนไปตามสถานการณ์และการ ประเมินของบุคคล

7.2.1.1. การเผชิญความเครียดด้านมุ่งแก้ปัญหา (Problem-focused coping) เป็นกลวิธีเช่นเดียว กับการแก้ ปัญหาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์

7.2.1.2. การเผชิญความเครียดด้านมุ่งเน้น อารมณ์ (Emotional-focused coping) เป็นการ เผชิญความเครียดด้วยการใช้ความคิดเช่นเดียวกัน แต่เป็นการลดอารมณ์ตึงเครียดเมื่อบุคคลประเมิน แล้วว่าไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด นั้นได้

7.3. แนวทางการจัดการความเครียดของนักศึกษา พยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด

7.3.1. พฤติกรรมการเผชิญความเครียดที่มุ่ง เน้นการแก้ปัญหา (Problem-focused coping method) เป็นพฤติกรรมที่นักศึกษาพยาบาลใช้ กระบวนการแก้ปัญหาในการตัดสินใจ โดยมุ่งที่ ต้นเหตุของปัญหานั้น

7.3.2. พฤติกรรมการเผชิญความเครียดที่มุ่งเน้น การตอบสนองทางอารมณ์ (Affective-focused coping method) เป็นพฤติกรรมที่นักศึกษา พยาบาลพยายามลดหรือบรรเทาความไม่สบายใจ ที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านั้น ไม่ใช่ วิธีการแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดโดยตรง

7.3.2.1. การออกกำลังกาย

7.3.2.2. การพักผ่อน

7.3.2.3. การพูดอย่างสร้างสรรค์

7.3.2.4. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน

7.3.2.5. การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ในชีวิตประจำ

7.3.2.6. การปรับเปลี่ยนความคิด ความเครียด

7.3.2.7. การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ

7.3.2.8. การรู้จักยืนยันสิทธิของตน

8. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในต่อทักษะการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล

8.1. กรอบแนวคิดการวิจัย

8.1.1. การศึกษาในครั้งนี้ใช้แนวคิดของการเสริมสร้างแรงจูงใจภายใน โดยใช้ทฤษฎีอัตลิขิต (self-determination theory: SDT) ของเดซี่และไรอัน15 ซึ่งกล่าวถึง ความต้องการ พื้นฐานทางจิต 3 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้สึกมีความสามารถ(competence)การมีอิสระกำหนดได้ด้วยตนเอง(autonomy)และความต้องการมีสัมพันธภาพที่ดี(relatedness) โดยใช้ กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์(experientialactivities planner: EAP)

8.2. วิธีดำเนินการวิจัย

8.2.1. เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) โดยเปรียบเทียบทักษะการจัดการความเครียดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในในกลุ ่มทดลองและเปรียบเทียบทักษะการจัดการความเครียดก่อนและ หลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่

8.3. การพิทักษ์สิทธิ์และจริยธรรม

8.3.1. การวิจัยครั้งนี้ผ่านการพิจารณารับรองจากคณะ อนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชุดที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. พ.ศ.2560 COAเลขที่ 348/2560 และได้รับการตอบรับการเก็บข้อมูลวิจัยจากวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเลขที่ 132.01/2561 ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อขอความร่วมมือ พร้อมทั้งอธิบายถึงการวิจัยครั้งนี้จะไม่ส่ง ผลกระทบใดๆ กับกลุ่มตัวอย่าง และผลการวิจัยจะนำเสนอในภาพรวมเท่านั้น จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

8.4. การอภิปรายผล

8.4.1. โปรแกรมที่ผู้วิจัยออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจภายใน สนับสนุนความต้องการพื้นฐานด้านจิตใจทั้ง 3 ลักษณะ15 เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการสร้างแรงบันดาลใจ เกิด ความปรารถนาที่จะเรียนรู้ทักษะการจัดการความเครียด ผ่าน กระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อม ของตนเอง ต่อการเผชิญกับสถานการณ์ที่นำมาซึ่งความเครียด พบว่าผลการศึกษาสนับสนุนสมติฐานทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

8.4.1.1. สมมติฐานที่ 1 ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการจัดการ ความเครียดของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายใน หลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายใน ด้วยการสนับสนุนทางเลือกที่หลากหลาย ผ่านกิจกรรมฝึกการ จัดการความเครียดทั้ง8กิจกรรมในการจัดการความเครียดส่งผลให้ นักศึกษามีทักษะการจัดการความเครียดดีขึ้นทั้ง 3 กลุ่ม คือ 1) ทักษะการจัดการต่อปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย ได้แก่ การฝึกการเกร็งคลายกล้ามเนื้อ การสร้างจินตนาการ การฝึกการหายใจแบบอานาปานสติและการฝึกอาสนะโยคะ เพื่อการผ่อนคลาย13,14,15 2)ทักษะด้านการเพิ่มความต้านทานต่อความเครียดได้แก่ การแอโรบิคแดนซ์พิลาทิส12 3) ทักษะด้านการลดความถี่ของสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด

8.4.1.2. สมมติฐานที่ 2 ผลต่างของคะแนนเฉลี่ยทักษะ การจัดการความเครียดในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรง จูงใจภายใน ระหว่างก่อน และหลังการได้รับโปรแกรมของกลุ่ม ทดลอง ตามตารางที่ 2 ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่ 2 คือ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายใน ระหว่าง ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมของกลุ่มทดลองโดยพบว่าทักษะการจัดการความเครียด ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายใน มีการ เปลี่ยนแปลงผลค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการจัดการความเครียด สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนการสอนปกติโดยอธิบายได้ ว่าภายหลังการเข้าโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในที่ผู้วิจัย พัฒนาจากแนวคิดของเดซี่และไรอัน16 โดยกิจกรรมทั้งหมด 8กิจกรรม