Digital Intelligence Quotient

Laten we beginnen. Het is Gratis
of registreren met je e-mailadres
Digital Intelligence Quotient Door Mind Map: Digital Intelligence Quotient

1. Digital Rights

1.1. การจัดการสิทธิดิจิทอล (อังกฤษ: Digital Right Management หรือย่อว่า DRM) คือเทคโนโลยีที่ใช้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลดิจิทัล

1.1.1. เช่น

1.1.1.1. ซอฟต์แวร์

1.1.1.2. เพลง

1.1.1.3. ภาพยนตร์

2. digital Emotional Intelligence

2.1. E.Q. = Emotional Quotient เป็นตัวชี้วัดความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) คือ ความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก และภาวะอารมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่นได้ มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตน ทำให้สามารถชี้นำความคิดและการกระทำของตนได้อย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับการทำงาน และการดำเนินชีวิต โดยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ๆ

2.1.1. องค์ประกอบของ E.Q.

2.1.1.1. 1. การตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness หรือ knowing one’s emotion) เป็นความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจ ความรู้สึก ความคิดและอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง สามารถประเมินตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา

2.1.1.2. 2.การบริหารจัดการกับอารมณ์ของตน (managing emotion) เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการควบคุมตนเอง ปรับตัว และมีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

2.1.1.3. 3. การจูงใจตนเอง (motivation oneself) เป็นความสามารถในการจูงใจตนเอง ที่เรียกว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ มองโลกในแง่ดี สามารถนำอารมณ์และความรู้สึกของตนเองมาสร้างพลังในการกระทำสิ่งต่างๆ และเป็นพลังในการให้กำลังใจตนเองในการคิดและกระทำอย่างสร้างสรรค์

2.1.1.4. 4.การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (recognizing emotion in others) เป็นการรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

2.1.1.5. 5.การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (handling relationships) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลรอบข้าง อันจะส่งผลให้เกิดความเป็นผู้นำ

3. Digital Communication

3.1. การสื่อสาร (Communication) นั้นสำคัญต่อการทำงานใน ระบบ Embedded System และยังสำคัญมากในการนำไปใช้ประยุกต์ในการทำ application แบบ Internet Of things (IOT) แล้วการสื่อสารนั้นมีแบบไหนบ้างนะ

3.1.1. Digital Emotionnal intelligence

3.1.2. ระบบของการสื่อสาร(Communication)

3.1.2.1. Simplex การสือสารทางเดียว เช่น ฟังวิทยุ อ่านหนังสือ ดูทีวี

3.1.2.2. Half duplex การสือสาร สองทาง แต่สือสารได้ทีละทางในขณะเดียวกัน เช่น วิทยุสือสาร

3.1.2.3. Full duplex การสือสาร สองทาง และสือสารได้ทีทั้งสองทางพร้อมกันในขณะเดียวกัน เช่น โทรศัพท์

4. การอยู่ในโลกดิจิตอลอย่างปลอดภัย (Digital safety)

4.1. หมายถึงทักษะในการบริหารจัดการความเสี่ยงในโลกออนไลน์ เช่น การไม่ไปรังแกและสามารถจัดการกับการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง รวมไปถึงการเกี้ยวพาราสี การเหยียดผิว-เหยียดชนชั้น รวมไปถึงเนื้อหาต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงเช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรง โป๊เปลือย ลามกหยาบคายด้วย

5. Digital Security

5.1. สังคมทั่วไปมีทั้งคนดีและไม่ดี เมื่ออยู่ที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ดูแลความปลอดภัยให้ลูกๆด้วยการสร้างรั้วสูง ติดล้อคกลอนประตูหน้าต่าง ติดระบบสัญญาณกันขโมย ฯลฯ ในสังคมออนไลน์ ภัยอันตรายมาถึงตัวเด็กๆได้หลายรูปแบบ ยากมากที่พ่อแม่จะคอยปกป้อง เด็กๆจึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีป้องกันตัวเองจาก ผู้คิดร้าย เช่น ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ติดโปรแกรมป้องกันไวรัส back up ข้อมูลบ่อยๆ ฯลฯ

5.1.1. Security Fundamentals

5.1.1.1. หลักการเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (Computer Security หรือ Information Security) นั้นประกอบไปด้วยความรู้หลากหลายด้าน เช่น

5.1.1.1.1. Cybersecurity คือความสามารถที่จะปกป้อง Cyberspace (หรือพื้นที่ทาง Cyber หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย) จากการโจมตี Cyber

5.1.1.1.2. เเละ

5.1.1.1.3. Information Security คือ การปกป้องข้อมูลสารสนเทศ (Information) และระบบสารสนเทศ (Information Systems) จากการเข้าถึง การนำไปใช้ นำไปเปิดเผย การขัดขวาง การดัดแปลง หรือทำลายที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อรักษา ความลับ (Confidentiality)ความสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลสารสนเทศและระบบสารสนเทศ

5.1.2. ภัย (Threat)

5.1.2.1. ในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นประเภทคร่าวๆ ได้ดังนี้

5.1.2.1.1. 1.Unauthorized Access หรือการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

5.1.2.1.2. 2.Unauthorized Use หรือการนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

5.1.2.1.3. 3.Unauthorized Disclosure หรือการนำไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต

5.1.2.1.4. 4.Disruption หรือการขัดขวางการทำงานโดยปกติของระบบ หรือ การนำไปใช้ของข้อมูล

5.1.2.1.5. 5.Modification หรือการดัดแปลงข้อมูลหรือระบบ

5.1.2.1.6. 6.Destruction หรือการทำลายข้อมูลหรือระบบ

6. Digital Literacy

6.1. ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

6.1.1. ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 3 อย่าง

6.1.1.1. การใช้ (Use)

6.1.1.2. เข้าใจ (Understand)

6.1.1.3. การสร้าง (create)

6.2. **เจาะลึกเรื่องต่างๆได้ข้างล่าง

7. digital Identity

7.1. กล่าวคือ คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในยุคดิจิตอลจะต้องมีทักษะในการสร้าง บริหารอัตลักษณ์และชื่อเสียงในโลกออนไลน์ของตัวเองให้เป็น ซึ่งนั่นรวมไปถึงการจัดการกับตัวตนในโลกออนไลน์ทั้งในระยะสั้น และระยะยาวด้วย

8. ในส่วนนี้ Digital use อยู่ในส่วนของ Digital literacy ซึ่งผมจะอธิบายครอบคลุมเลยนะครับ

8.1. นิยามของคำว่า การรู้หนังสือ หรือ Literacy แบบดั้งเดิมนั้น เน้นทักษะซึ่งเกี่ยวข้องกับการคิดคำนวณ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการคิดเชิงวิเคราะห์ ด้วยเป้าหมายคือการพัฒนานักคิดและผู้เรียนผู้ซึ่งสามารถเข้าร่วมสังคมในวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทักษะทั้งหมดดังกล่าวจำเป็นสำหรับการมีส่วนร่วมในสังคมดิจิทัล อย่างไรก็ตามมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุดทักษะและความสามารถทั้งหมดซึ่งจำเป็น

8.1.1. ความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) และสร้าง (Create)

8.1.1.1. use

8.1.1.1.1. หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เช่น Cloud computing

8.1.1.2. understand

8.1.1.2.1. คือชุดของทักษะที่จะช่วยผู้เรียนเข้าใจบริบทและประเมินสื่อดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบนโลกออนไลน์ จัดว่าเป็นทักษะที่สำคัญและที่จำเป็นที่จะต้องเริ่มสอนเด็กให้เร็วที่สุดเท่าที่พวกเค้าเข้าสู่โลกออนไลน์ เข้าใจยังรวมถึงการตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและมุมมองของผู้เรียนอย่างไร มีผลกระทบต่อความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวผู้เรียนอย่างไร เข้าใจยังช่วยเตรียมผู้เรียนสำหรับเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ผู้เรียนพัฒนาทักษะการจัดการสารสนเทศเพื่อค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และแก้ไขปัญหา

8.1.1.3. create

8.1.1.3.1. คือความสามารถในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือสื่อดิจิทัลที่หลากหลาย การสร้างด้วยสื่อดิจิทัลเป็นมากกว่าแค่การรู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวลผลคำหรือการเขียนอีเมล แต่มันยังรวมความสามารถในการดัดแปลงสิ่งที่ผู้เรียนสร้างสำหรับบริบทและผู้ชมที่แตกต่างและหลากหลาย ความสามารถในการสร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich media เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ เช่น Blog การแชร์ภาพและวิดีโอ และ Social media รูปแบบอื่นๆ