LAB 2 อัตราการเกิดปฏิกิริยา (Reaction Rate)

Success should be measured by how much one has put back into the world, not how much one has taken for it. Therefore "Success = Living Off Grids" is the subject of this Mind Map.

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
LAB 2 อัตราการเกิดปฏิกิริยา (Reaction Rate) by Mind Map: LAB 2 อัตราการเกิดปฏิกิริยา (Reaction Rate)

1. การทดลอง

1.1. สารเคมี

1.1.1. โพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.2M

1.1.2. แอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟต 0.10M

1.1.3. โพแทสเซียมคลอไรด์ 0.20M

1.1.4. แอมโมเนียมัลเฟต 0.10M

1.1.5. โซเดียมไทโอซัลเฟต 0.0005M

1.1.6. 1%น้ำแป้ง (เตรียมใหม่ๆก่อนใช้)

1.1.7. คอปเปอร์(II)ซัลเฟต 0.10M

1.2. อุปกรณ์

1.2.1. ปิเปต ขนาด 10 ลบ.ซม.

1.2.2. ขวดรูปชมพู่ ขนาด 250 ลบ.ซม. และ 50 ลบ.ซม. อย่างละ5ใบ

1.2.3. เทอร์โมมิเตอร์

1.2.4. นาฬิกาจับเวลา

2. วิธีการทดลอง

2.1. ตอนที่ 1

2.1.1. ผลของความเข้มข้นต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา และการหากฏอัตรา

2.1.1.1. ทำการทดลองตามตารางที่ 1

2.1.1.1.1. หมายเหตุ

2.1.1.2. ปฏิกิริยาที่ 1

2.1.1.2.1. 1.ใช้ปิเปตสะอาดดูดสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.2M มา 20 ลบ.ซม. ใส่ในขวดช่มพูขนาด 250 ลบ.ซม. (เรียกขวดชมพู่นี้ว่า reaction flask) ใช้ปิเปตสะอาดอีกอันหนึ่งดูดสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต 0.0005M มา 10 ลบ.ซม. ใส่ใน reaction flask แล้วเติมน้ำแป้งลงไป 10 หยด เขย่าผสมให้เท่ากัน

2.1.1.2.2. 2.ใส่เทอร์โมมิเตอร์ใน reaction flask

2.1.1.2.3. 3.ใช้ปิเปตสะอาดดูดสารละลายแอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟต 0.10M มา 20 ลบ.ซม. ใส่ในขวดรูปชมพู่ขนาด 50 ลบ.ซม.

2.1.1.2.4. 4.เทสารละลายในขวดชมพู่ขนาด 50 ลบ.ซม. ลงในขวดชมพู่ขนาด 50 ลบ.ซม. หรือ reaction flask เขย่าแรงๆทันที พร้อมกับเริ่มจับเวลาตั้งแต่เริ่มเทผสมสารละลายจนกระทั่งสารละลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน บันทึกเวลา (t) เป็นวินาที และอุณหภูมิ (T) เป็นเคลวิน

2.1.1.3. ปฏิกิริยาที่ 2-5

2.1.1.3.1. 5.ทำการทดลองเช่นเดียวกับปฏิกิริยาที่1 แต่เปลี่ยนแปลงความเข้มข้นและปริมาณสารต่างๆที่ใช้ตามตารางที่1

2.1.1.3.2. 6.หาอันดับของปฏิกิริยา และหาค่าคงที่อัตราที่อุณภูมิห้อง

2.2. ตอนที่2

2.2.1. ผลของอุณหภูมิต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา และหาค่าพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา

2.2.1.1. 1.การกำหนดให้ความเข้มข้นของสารคงที่ (ใช้ปฏิกิริยาที่1 ตอนที่1) ทำให้ปฏิกิริยาเกิดที่อุณหภูมิสูงและต่ำกว่าอุณหภูมิห้องประมาณ 15 องศาเซลเซียส (ทราบอุณหภูมิที่แน่นอน) บันทึกเวลา (t) ที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ (T) ต่างๆ

2.3. ตอนที่3

2.3.1. ผลของตัวเร่ง

2.3.1.1. กำหนดให้ความเข้มข้นของสารคงที่ และอุณหภูมิห้อง (ใช้ปฎิกิริยาที่ 1 ตอนที่ 1 ) แต่เติม 0.1 M CuSo4 5 หยด ลงในขวดรูปชมพู่ ซึ่งมีสารละลาย 0.1 M (NH4)2S2O8 อยู่ (ขวดชมพู่ขนาด 50 ลบ.ซม.) ก่อนที่จะนำสารละลายในขวดรูปชมพู่ทั้งสองมาผสมกันแล้วทำการทดลองเช่นเดียวกับตอนที่ 1

3. วัตุประสงค์

3.1. เพื่อศึกษาการหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา

3.2. เพื่อหากฏอัตราของปฏิกิริยาระหว่างไออนเปอร์ออกซีไดลเฟต และไออนไอโอไดด์

3.3. เพื่อศึกษาผลคูณต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา และหาค่าพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา

3.4. เพื่อศึกษาผลของสารตัวเร่ง

4. หลักการ

4.1. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารต่อหน่วยเวลา นิยมวัดเป็นโมลต่อลิตร ต่อวินาที

4.2. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา

4.2.1. ธรรมชาติของสารตั้งต้น

4.2.2. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น

4.2.3. อุณหภูมิ

4.2.4. ตัวเร่ง (catalyst)

4.3. aA +bB ---> cC+dD

4.3.1. กฏอัตราดิฟเฟอเรนเชียล

4.3.1.1. Rate = K[A]m[B]n

4.3.1.1.1. Rate=อัตราการเกิดปฏิกิริยา

4.3.1.1.2. K=ค่าคงที่อัตรา

4.3.1.1.3. m=อันดับของปฏิกิริยาเมื่อเทียบกับA

4.3.1.1.4. n=อันดับของปฏิกิริยาเมื่อเทียบกับB

4.3.1.1.5. n+m=อันดับรวมปฏิกิริยา

4.3.2. กฏอัตราดิฟเฟอเรนเชียล

4.3.2.1. log k = log A-(Ea/2.303RT)

4.3.2.1.1. K=ค่าคงที่อัตรา

4.3.2.1.2. A=ปัจจัยความถี่

4.3.2.1.3. Ea=พลังงานกระตุ้น

4.3.2.1.4. R=ค่าคงที่องแก๊ส=8.31 J/mol.k

4.3.2.1.5. T=อุณหภูมิสัมบูรณ์(K)