1. กระบวนการPDCA
1.1. ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้
1.1.1. 1. การวางแผนงานก่อนการปฎิบัติงาน
1.1.2. 2. การปฏิบัติตามแผนงาน
1.1.3. 3. การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้
1.1.4. 4. การปรับปรุงแก้ไข
1.2. ความหมายของ PDCA
1.2.1. PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
2. งานช่างในบ้าน
2.1. ช่าง หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และชำนาญในงานหรือในศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง และงานช่าง หมายถึง สิ่งที่เป็นผลเกิดจากการทำงานของช่าง งานช่างแบ่งออกได้หลายสาขา เช่น งานไม้ ช่างไฟฟ้า ช่างโลหะ ช่างยนต์ ช่างประปา เป็นต้น
2.2. ความสำคัญของงานช่าง เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้งานช่างในแต่ละสาขา และได้ทดลองปฏิบัติเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งได้แก่ งานซ่อมแซม บำรุงรักษาเครื่องใช้บางอย่างภายในบ้าน เช่น ซ่อมโต๊ะ เก้าอี้ ซ่อมไฟฟ้าภายในบ้าน ซ่อมผนังรั้ว เป็นต้น หากได้ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญก็สามารถ นำความรู้ไปประกอบเป็นอาชีพต่อไปได้
2.3. ประโยชน์ของงานช่าง คือ สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ สอยได้อย่างถูกต้อง เข้าใจคุณสมบัติของวัสดุ ช่วยทำให้เกิดความประหยัด ทำให้ยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องใช้ บางครั้งสามารถใช้ความรู้ซ่อมแซมแก้ไข ข้อขัดข้องที่เกิดกับอุปกรณ์ได้ ตรวจสอบความบกพร่องอุปกรณ์ หากเราพัฒนาฝีมือความรู้จนเกิดความชำนาญ ก็ยังสามารถที่จะเพิ่มรายได้ให้กับตนเองโดยประกอบเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป
2.4. ลักษณะของงานช่าง จำแนกตามลักษณะงาน ได้ ดังนี้1.
2.4.1. 1. งานเขียนแบบ
2.4.2. 2. งานไฟฟ้า
2.4.3. 3. งานช่างยนต์
2.4.4. 4. งานโลหะ
2.4.5. 5. งานประปา
2.4.6. 6. งานไม้
2.4.7. 7. งานปูน
2.4.8. 8. งานสี
3. การซ่อมแซมและดูแลเสื้อผ้า
3.1. การดูแลเสื้อผ้าให้ทนทานใช้งานได้นานมีหลักการดังนี้
3.1.1. ๑. ขณะสวมใส่เสื้อผ้าต้องระมัดระวังไม่ให้เปรอะเปื้อนและถูกของแหลมคมเกี่ยวขาด
3.1.2. ๒. ไม่ควรใส่ของหนักหรือของมีคมในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากระโปรง กระเป๋ากางเกง เพราะจะทำ ให้กระเป๋าขาดได้
3.1.3. ๓. เสื้อผ้าเมื่อถอดแล้วจะสวมใส่อีก เช่นเสื้อกันหนาว สูทไม่ควรแขวนไว้ที่ตะปูเพราะจะเสียรูปทรงควรแขวนด้วยไม้แขวนเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี
3.1.4. ๔. สำรวจสัญลักษณ์บนป้ายผ้าที่ติดมากับเสื้อผ้า และดูแลรักษาให้ถูกวิธีดังตัวอย่าง
3.1.5. ๕. สำรวจชนิดของผ้าเพื่อให้เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลรักษาได้เหมาะสม
3.1.6. ๖. หยิบสิ่งของออกจากกระเป๋าเสื้อกระเป๋ากางเกงกระเป๋ากระโปรงออกก่อนขจัดรอยเปื้อนและซัก
3.1.7. ๗. ขจัดรอยเปื้อนทันทีที่พบจะช่วยประหยัดแรงงานและเวลาในการซักเสื้อผ้า
3.1.8. ๘. ซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุดก่อนซักทำความสะอาด
3.1.9. ๙. แยกผ้าสีผ้าขาว และผ้าสีตกไว้เพื่อความสะดวกในการซักและป้องกันเสื้อผ้าสีหม่นหรือสีตกใส่กัน
3.1.10. ๑๐. ศึกษาวิธีใช้งานวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลเสื้อผ้าให้เข้าใจ
3.1.11. ๑๑. จัดเก็บเสื้อผ้าอย่างถูกวิธีโดยไม่ให้ยับหรือเสียรูปทรง หยิบใช้สะดวก ปราศจากฝุ่นและแมลง