กิจกรรมที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
by Nalinrat Suwanprasert
1. พัฒนาการคอมพิวเตอร์
1.1. ยุคที่หนึ่ง พ.ศ. 2489-2501
1.1.1. อุปกรณ์ : ใช้หลอดไฟสูญญากาศและวงจรไฟฟ้า หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นวินาที ( Second) ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาเครื่อง
1.2. ยุคที่ 2 ปี ค.ศ. 1959 – 1964
1.2.1. อุปกรณ์ : ใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดไฟสูญญากาศ หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นมิลลิวินาที
1.3. ยุคที่ 3 ปี ค.ศ. 1965 – 1970
1.3.1. อุปกรณ์ : ใช้วงจรแบบไอซี ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่น ซิลิกอน ที่เรียกว่า Chip หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นไมโครวินาที
1.4. ยุคที่ 4 ปี ค.ศ. 1971
1.4.1. อุปกรณ์ : ใช้ระบบ LSI ( Large Scale Integrated ) ซึ่งเป็นวงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์หลายพันตัวและต่อมาได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็น VLSI ซึ่งก็คือ Microprocessor หรือ CPU หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นนาโนวินาที และพิโควินาที
1.5. ยุคที่ 5 ปี ค.ศ. 1980 - 1989
1.5.1. การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยการจัดการและนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารจึงเกิดสาขา MIS (Management Information System) ขึ้น
1.6. ยุคที่ 6ปี ค.ศ. 1990- ปัจจุบัน
1.6.1. คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ ได้พัฒนาจนมีความแตกต่างไปจากคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้มาก ทั้งขนาดคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความสะดวกและความหลากหลายในการใช้งาน
2. Hardware
2.1. อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
3. Software
3.1. ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
4. นวัตกรรม
4.1. นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1. เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
6. หลักการทำงานคอมพิวเตอร์
6.1. 1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น
6.2. 2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด
6.3. 3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
6.4. 4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล