1. การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิด (Phimosis in children)
1.1. Phimosis เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็กเพศชาย หมายถึงภาวะที่ไม่สามารถรูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (foreskin , prepuce) กลับมาทางด้านหลังหัวของอวัยวะเพศได้
1.2. อาการผิดปกติ
1.2.1. มีอาการปัสสาวะลำบาก ร้องปวดก่อนขับถ่ายปัสสาวะ
1.2.2. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศโป่ง (ballooning)ขณะเบ่งถ่ายปัสสาวะ
1.2.3. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศส่วนปลายบวมแดงอักเสบอาจมีสารคัดหลั่งสีเหลืองคล้ายหนองไหลออกมาร่วมด้วย (balanoposthitis)
1.2.4. หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศติดหัวอวัยวะเพศรูดแล้วเจ็บ (preputial adhesions)
1.2.5. ลำปัสสาวะมีขนาดเล็กมาก หรือถ่ายปัสสาวะเป็นหยดๆไม่พุ่ง (true phimosis)
1.2.6. มีก้อนนูนใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (retained smegma)
1.2.7. รูดหนังหุ้มปลายแล้วดันกลับไม่ได้ (paraphimosis)
1.3. การรักษาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิด
1.3.1. การรักษาโดยวิธีประคับประคอง
1.3.2. มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะมีเลือดปน(urinary tract infection , UTI)
1.3.3. การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ( circumcision )
1.4. ข้อบ่งชี้ในการขลิบหนังหุ้มปลาย ได้แก่
1.4.1. หนังหุ้มปลายไม่เปิดที่มีลักษณะของพังผืดบริเวณปลายชัดเจน ( True phimosis )
1.4.2. มีการอักเสบบริเวณปลายอวัยวะเพศเป็นๆหายๆ (recurrent balanoposthitis )
1.4.3. มีทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นๆหายๆ ที่ไม่สามารถหาสาเหตุอื่นได้ (recurrent urinary tract infection )
1.4.4. หลายกลุ่มวัฒนธรรม ศาสนา และเชื้อชาติ
1.5. ข้อห้ามการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
1.5.1. เด็กที่มีความผิดปกติของอวัยวะเพศ
1.5.2. ทารกแรกเกิดที่มีอายุน้อยกว่า 24 ชั่วโมง , มีการเจ็บป่วยที่ต้องดูแลใกล้ชิด , มีความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด , ผู้ปกครองไม่ยินยอม
2. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis)
2.1. สาเหตุ
2.1.1. การอักเสบของไตไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อโดยตรง แต่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้ออื่นๆ ของร่างกายที่พบบ่อยคือ Pharyngitis จาก - Streptococcus gr. A. (Post-streptococcal glomerulonephritis) หรือการติดเชื้อจากผิวหนัง และการติดเชื้ออื่นๆในเด็กจะพบได้บ่อยคือ Acute post-streptococoal glomerulonephritis
2.2. พยาธิสรีรภาพ
2.2.1. เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกายจะมีแอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้น หลังจากนั้นอีกระยะหนึ่งจะเกิด Antigen-antibody complex หรือ Immune-complex reaction ทำ ให้หลอดเลือดฝอยใน Glomerular ถูกทำลายโดยสารสำคัญสองชนิดคือ lysozyme และ Anaphylatoxin ผลที่เกิดตามมาคือ การกรองของเสียและการดูดซึมกลับไม่เป็นไปตามปกติ เกิดอาการคั่งของนํ้าและของเสีย เช่น BUN ความดัน โลหิตสูง
2.3. อาการทางคลินิก
2.3.1. ภายหลังการติดเชื้อประมาณ 7-14 วัน เด็กจะเริ่มมีอาการบวมที่หน้า โดยเฉพาะขอบตา ต่อมาบวมขาและท้อง ชนิดกดไม่บุ๋มและบวมไม่มากเนื่องจากเป็นการบวมโดยมีปริมาณนํ้ามากในหลอดเลือด ปัสสาวะน้อยมีสีเข้ม เด็กจะมีอาการซีด กระสับกระส่ายและอ่อนเพลียมากเด็กโตอาจบอกได้ว่ามีอาการปวดศีรษะ แน่นอึดอัดท้องและถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก (Dysuria) ไม่ค่อยพบอาการอาเจียน ความดันโลหิตสูงเล็กน้อยถึงสูงมาก (120/80 - 180/120 mmHg) บางรายอาการรุนแรงมากถึงขั้นชัก เนื่องจากภาวะ Cerbral ischemia และ/หรือ ความดันโลหิตสูง (Hypertensive encephalopathy)
2.4. หลักการวินิจฉัยโรค
2.4.1. จากประวัติ อาการและการตรวจร่างกาย
2.4.2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2.4.2.1. การตรวจปัสสาวะ
2.4.2.2. การตรวจเลือด
2.4.2.3. การตรวจอื่น ๆ
2.5. ภาวะแทรกซ้อน
2.5.1. Hypertensive encephalopathy
2.5.2. Acute cardiac decompensation
2.5.3. Acute renal failure
2.6. หลักการพยาบาล
2.6.1. อำนวยความสุขสบายของร่างกาย
2.6.2. ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ
2.6.3. ป้องกันหรือควบคุมอาการบวม
2.6.4. ป้องกันภาวะโปแตสเซียมสูง (Hyperkalemia)
2.6.5. เตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองที่บ้าน
2.6.6. ลดความดันโลหิต
2.6.7. สังเกตการเกิดภาวะแทรกซ้อน
2.6.8. เสริมสร้างความแข็งแรงและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
2.6.9. ประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
3. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กกลุ่มอาการโรคไต (Nephrotic syndrome)
3.1. กลุ่มอาการโรคไตเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วย
3.1.1. โปรตีนในเลือดตํ่า โดยเฉพาะอัลบูมิน (Hypoproteinemia, Hypoalbuminemia, Albuminemia)
3.1.2. โปรตีนในปัสสาวะสูง (Hyperalbuminuria, Massive proteinuria)
3.1.3. บวมทั่วตัวชนิดกดบุ๋ม (Pitting edema)
3.1.4. ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipemia, Hypercholesterolemia)
3.2. สาเหตุ
3.2.1. เกิดจากความผิดปกติที่ไต (Primary nephrotic syndrome)
3.2.2. เกิดร่วมกับโรคระบบอื่น ๆ (Secondary nephrotic syndrome)
3.3. หลักการพยาบาล
3.3.1. ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อ
3.3.2. ป้องกันการแตกของผิวหนัง
3.3.3. ป้องกันหรือควบคุมอาการบวม
3.3.4. ป้องกัน Hypovolemia และ Hypokalemia
3.3.5. ลดการสูญเสียพลังงาน ลดการทาํ งานของหัวใจ และลดอาการ Dyspnea ที่อาจมี
3.3.6. เสริมสร้างภาวะโภชนาการและส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกาย
3.3.7. ประคับประคองด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
3.3.8. เตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับบ้าน
4. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)
4.1. อาการทางคลินิก
4.1.1. เด็กเล็กอายุตํ่ากว่า 2 ปี อาการไม่แน่นอนเช่น อาจมีไข้ ตัวเหลือง อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเดิน เลี้ยงไม่โต
4.1.2. เด็กอายุ 2-14 ปี อาจจะพบอาการไข้ ปัสสาวะบ่อยและปวดแสบขณะถ่ายปัสสาวะมีกลิ่น ปวดท้องน้อยกดเจ็บบริเวณชายโครงด้านหลัง อาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
4.2. หลักการรักษา
4.2.1. ลดการติดเชื้อโดยการให้ยาปฏิชีวนะ
4.2.2. ป้องกันเนื้อไตถูกทำ ลาย และป้องกันไตวาย
4.2.3. ค้นหาและแก้ไขความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
4.2.4. ให้นํ้าปริมาณมาก ให้นํ้าโดยการดื่ม และ/หรือทางหลอดเลือดดำ
4.2.5. บรรเทาอาการปวดแสบในการถ่ายปัสสาวะ
4.2.6. ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
4.3. หลักการพยาบาล
4.3.1. ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
4.3.2. สังเกตภาวะแทรกซ้อน
4.3.3. เสริมสร้างความแข็งแรงและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
4.3.4. อำนวยความสุขสบายของร่างกาย
4.3.5. สอนแนะนำ ด้านสุขศึกษา
4.4. หลักการวินิจฉัยโรค
4.4.1. ไตเสื่อมหน้าที่เกิดภาวะ Renal tubular acidosisและไตวาย
4.4.2. จากการซักประวัติ อาการและการตรวจร่างกาย
4.4.3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.4.3.1. การตรวจปัสสาวะ ตรวจพบเม็ดเลือดขาว
4.4.3.2. การตรวจทางรังสีวิทยา
4.5. ภาวะแทรกซ้อน
4.5.1. ความดันโลหิตสูง
4.5.2. นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ