การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน by Mind Map: การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน

1. จังหวะในการกดหน้าอก

1.1. ความเร็วในการปั๊มหัวใจ

1.1.1. ต้องปั๊มหัวใจให้ได้ 100 - 120 ครั้ง / นาที

1.2. ความแรง(ความลึก)ในการปั๊มหัวใจ

1.2.1. กดลึกลงไปประมาณ 2 – 2.4 นิ้ว (5 - 6 ซม.)

1.3. มีกดแล้วก็ต้องมีปล่อย

1.3.1. อย่าลืมปล่อยให้ผนังทรวงอกที่ยุบลงไปนั้นคืนตัวจนสุดก่อนการกดลงไปใหม่ทุกครั้ง

2. ร่างกายเรามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร

2.1. ออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไป และอาหารที่กิน

2.2. เลือดเป็นตัวนำออกซิเจนและอาหารไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายโดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ

3. ตำแหน่งการกดหน้าอกเพื่อช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

3.1. วัดหาตำแหน่งกด โดยใช้ระยะ 2 นิ้วมือจากลิ้นปี่ วางมือต่อจากนิ้วที่วัด

3.2. ประกบมือซ้อนกัน กระดกปลายนิ้วขึ้น

3.3. เหยียดแขนตึง บีบศอกเข้าหากัน

4. การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

4.1. Circulation ประเมินระบบไหลเวียนและกดหน้าอก นวดหัวใจ

4.2. Airway เปิดทางเดินหายใจ

4.3. Breathing ประเมินการหายใจและช่วยหายใจ

5. ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต

5.1. ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต Chain of survival

5.2. การจัดท่าที่เหมาะกับการช่วยชีวิต

5.2.1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงาย บนพื้นที่แข็งพอสมควร

5.2.2. ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ต้องระวังเรื่องการบาดเจ็บของกระดูก

6. การจัดท่าพักฟื้น

6.1. นั่งคุกเข่าข้าง ๆ ผู้ป่วย เปิดทางเดินหายใจ กดหน้าผากเชยคาง เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอและหงายมือขึ้น

6.2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง

6.3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าตะแคง

6.4. จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอเล็กน้อย