การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
by พงศา พานิกุล
1. ความหมายของการสืบค้นข้อมูล การสืบค้นสารสนเทศ (Information retrieval) คือ กระบวนการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเตรียมไว้ให้ การสืบค้นสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ (Manual system) 2. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system) การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ สามารถกระทำได้โดยผ่านเครื่องมือหลายประเภท เช่น บัตรรายการ บัตรดรรชนีวารสาร บรรณานุกรม เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบัตรรายการและ บัตรดรรชนีวารสารเท่านั้น การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถกระทำได้โดยผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลโอแพ็ก ฐานข้อมูลซีดีรอม ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา ประเภทของ Search Engine Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ 1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี 2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ 3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้ 1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ 2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง 3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site 5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
3. ข้อแตกต่างระหว่างการค้นหาในรูปแบบ Index Directory และ Search Engine วิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index จะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการซึ่ง Software นี้ชื่อเรียกว่า Spider ซึ่งการทำงานจะใช้วิธีการเชื่อมโยงไปตามเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน WebSite เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น Excite, Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้น มักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆ ชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน WebSite
4. 1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว ........ 2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย ........ 3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์ ์เกี่ยวกับข้อมูล และซอร์ฟแวร์ เป็นต้น ........ 4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล ........ 5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย ........ ในโลกยุคอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูล จำนวนมากมาย อย่างนี้เราไม่อาจจะคลิก เพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัย การค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหา ที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อ ความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหา ข้อมูล มีมากมายหลายทั้งที่เป็นของคนไทย และต่างประเทศ ความหมาย/ประเภท ของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่ เป็นจำนวนมาก ........ ถ้าเราเปิดไป ทีละหน้าจออาจจะต้องเสีย เวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบการที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็ว จะต้องใช้ เว็บไซต์สำหรับการ ค้นหาข้อมูล ที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้ งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำ หรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่ กำหนด Search Engine แต่ละ แห่งมีวิธีการ และการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภท ของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวม ข้อมูล ........ ดังนั้น การที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อย จะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป การเลือก ใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูล ที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวาง หรือแคบขนาดไหน แล้ว จึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับ ความต้องการของเรา ภาพจาก การทำงานของ Search Engine สิ่งที่เหนือกว่า SEO ประโยชน์ของ SEO Search Engine Optimization สร้าง Brand Image มาตรฐานเว็บไซต์ โฆษณาเว็บไซต์ แพ็คเกจ SEO - Easyhostdomain.com™ ........ เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา (Search Engine) มี ประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลสารสนเทศใดๆ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือสรุปได้ดังนี้ ........ • ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว ........ • สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย ........ • สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ ข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น ........ • มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล ........ • รองรับการค้นหา ภาษาไทย ........ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาใน รูปแบบของ Search Bar ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าผ่านเว็บไซต์ Search Engine เหล่านั้นโดยตรงแล้ว ตัวอย่าง Search Bar ที่ขอแนะนำ เช่น Google Search Bar, Yahoo Search Bar เป็นต้น
5. สมาชิก
5.1. 1. นายพงศา พานิกุล รหัสนักศึกษา 6131040052 ปวส.1/3 ชฟ.
5.2. 2. นายบัญชา งานเลิศ รหัสนักศึกษา 6131040049 ปวส.1/3 ชฟ.
5.3. 3. จีรศักดิ์ ไตรรัตน์ รหัสนักศึกษา 6131040031 ปวส.1/3 ชฟ.
6. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory การค้นหาในรูปแบบ Index Directory วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engineเพราะจะสามารถคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆ ออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งานสามารถที่จะ Clickเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกมากเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อได้ข้อมูลตรงกับความต้องการแล้ว สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อมต่อทางเว็บไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที
7. ประเภทของ Search Engine ........ 1. Keyword Index ........ 2. Subject Directories ........ 3. Metasearch Engines Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล ........ โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจ ที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษร แรก ของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับ การเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความ รวดเร็วมาก แต่มีความละเอียด ในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึง รายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทาง ด้านกว้างของข้อมูล การค้นหา แบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ได้แก่เว็บ Google และ http://www.altavista.com/ Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ........ ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการ จัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัด แบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป ได้แก่เว็บ http://www.thaiwebhunter.com/ และ http://www.sanook.com Metasearch Engines ........ จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่น ๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จาก จะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหา ข้อความนั้น ๆ มาการเชื่อม โดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahoo แต่การค้นหา ด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะ ไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย http://www.dogpile.com และ http://www.kartoo.com/
8. ารค้นหาในรูปแบบ Search Engine วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Index ลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
9. 2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร ตัวอย่าง การค้นหาแบบดรรชนี โดยใช้คำสำคัญ 1. ระบุคำ เรื่องที่ต้องการค้นในเว็บไซต์ที่เป็น search engine เช่น นักคณิตศาสตร์ ลงในช่องสืบค้น 2. จะปรากฏจำนวนรายการข้อมูลที่ค้นพบ และโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่ต้องการ
10. ### การใช้งาน Google ### ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engine) โดยตัวค้นหา (Search Engine) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engine) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engine) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th เมื่อเราพิมพ์ที่อยู่ www.google.co.th ลงในช่อง Address แล้วกด Enter จะปรากฏหน้าแรกของ Web Site ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังรูป รูปแสดงส่วนประกอบของเว็บไซต์ Google ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ หมายเลข 1 เป็น Logo ของ www.google.co.th หมายเลข 2 เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บ(Web Site) หมายเลข 3 เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหา ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ หมายเลข 4 เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usenet หมายเลข 5 เป็นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business, Games เป็นต้น ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็นแถบเข้มที่เราเลือกไว้ โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกำหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ หมายเลข 6 เป็นช่องสำหรับใส่ค่า (keyword) ที่เราต้องการค้นหา หมายเลข 7 เป็นปุ่มกดสำหรับเริ่มการค้นหา หมายเลข 8 เป็นปุ่มสำหรับค้นหาเว็บอย่างด่วน โดยการค้นหาจะนำเว็บที่อยู่อยู่ในลำดับแรกที่อยู่ในลำดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิดให้ในหน้าถัดไปเลย หมายเลข 9 เป็นตัวเลือกสำหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาษา, ชนิดไฟล์, วันที่ เป็นต้น หมายเลข 10 เป็นตัวเลือกสำหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สำหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือในการค้นหา เช่น จำนวน เว็บที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า หมายเลข 11 เป็นตัวเลือกสำหรับเครื่องมือเกี่ยวกับภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา การใช้งาน Google ถ้าเราต้องการค้นหา คำว่าฟิสิกส์ เราทำได้โดยพิมพ์คำว่า ฟิสิกส์ ลงในช่องสำหรับใส่คำที่ต้องการค้นหา ( keyword) แล้วกดปุ่ม ค้นหาโดย Google
11. Google http://www.sanook.com http://www. go.com http://www.yahoo.com http://www.altavist.com