การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
by ประคมวิทย์ วงคำจันทร์
1. 2.การสืบค้นในรูปแบบ Index Directory
1.1. วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engineเพราะจะสามารถคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆ ออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งานสามารถที่จะ Clickเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกมากเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อได้ข้อมูลตรงกับความต้องการแล้ว สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อมต่อทางเว็บไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที
2. สมาชิก
2.1. นาย ประคมวิทย์ วงคำจันทร์ รหัสนักศึกษา 6131040050
2.2. นาย สุรวุฒิ สุขแสงดาว รหัสนักศึกษา 6131040065
2.3. นาย ธีระยุทธ รุ่งเรือง รหัสนักศึกษา 6131040047
3. 1.ความหมายของการสืบค้นข้อมูล
3.1. ความหมายของการสืบค้นข้อมูล การสืบค้นสารสนเทศ (Information retrieval) คือ กระบวนการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้นสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเตรียมไว้ให้ การสืบค้นสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 1. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ (Manual system) 2. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system) การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ สามารถกระทำได้โดยผ่านเครื่องมือหลายประเภท เช่น บัตรรายการ บัตรดรรชนีวารสาร บรรณานุกรม เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบัตรรายการและ บัตรดรรชนีวารสารเท่านั้น การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถกระทำได้โดยผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลโอแพ็ก ฐานข้อมูลซีดีรอม ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
4. 3.การสืบค้นแบบ Subject Directories
4.1. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
5. 5.ประเภทของ Search Engine
5.1. ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการ บันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความ นิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำ ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็น ของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก 2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com Crawler Based Search Engine ได้แก่ Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog) ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และการจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกัน ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วย หมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมี การสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตาม หมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เรา เลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอ ยกตัวอย่างดังนี้ ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory 1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีก มากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org ) 2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุด ในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com ) 3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ ประเภทที่ 3 Meta Search Engine Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของ ตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมากประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.
6. 4.ข้อแตกต่างระหว่างการสืบค้นแบบ Index Directory กับ Search Directory
6.1. ข้อแตกต่างระหว่างการค้นหาในรูปแบบ Index Directory และ Search Engine วิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index จะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการซึ่ง Software นี้ชื่อเรียกว่า Spider ซึ่งการทำงานจะใช้วิธีการเชื่อมโยงไปตามเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน WebSite เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น Excite, Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้น มักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆ ชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน WebSite
7. 10.วิธีการสืบค้นข้อมูลด้วยเว็บไซต์ www.Google.go.th
7.1. การสืบค้นข้อมูลโดยใช้ Google ### การใช้งาน Google ### ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engine) โดยตัวค้นหา (Search Engine) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engine) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engine) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th เมื่อเราพิมพ์ที่อยู่ www.google.co.th ลงในช่อง Address แล้วกด Enter จะปรากฏหน้าแรกของ Web Site ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ รูปแสดงส่วนประกอบของเว็บไซต์ Google ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ หมายเลข 1 เป็น Logo ของ www.google.co.th หมายเลข 2 เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในเว็บ(Web Site) หมายเลข 3 เป็นประเภทของการค้นหาว่าให้ค้นหา ข้อมูลที่เป็นรูปภาพ หมายเลข 4 เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usenet หมายเลข 5 เป็นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business, Games เป็นต้น ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็นแถบเข้มที่เราเลือกไว้ โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกำหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ หมายเลข 6 เป็นช่องสำหรับใส่ค่า (keyword) ที่เราต้องการค้นหา หมายเลข 7 เป็นปุ่มกดสำหรับเริ่มการค้นหา หมายเลข 8 เป็นปุ่มสำหรับค้นหาเว็บอย่างด่วน โดยการค้นหาจะนำเว็บที่อยู่อยู่ในลำดับแรกที่อยู่ในลำดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิดให้ในหน้าถัดไปเลย หมายเลข 9 เป็นตัวเลือกสำหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิ่งขึ้น เช่น ภาษา, ชนิดไฟล์, วันที่ เป็นต้น หมายเลข 10 เป็นตัวเลือกสำหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สำหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือในการค้นหา เช่น จำนวน เว็บที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า หมายเลข 11 เป็นตัวเลือกสำหรับเครื่องมือเกี่ยวกับภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา การใช้งาน Google ถ้าเราต้องการค้นหา คำว่าฟิสิกส์ เราทำได้โดยพิมพ์คำว่า ฟิสิกส์ ลงในช่องสำหรับใส่คำที่ต้องการค้นหา ( keyword) แล้วกดปุ่ม ค้นหาโดย Google จะได้ผลการค้นหาต่อไปนี้ การค้นหาจะแจ้งจำนวนเว็บที่แสดง จำนวนเว็บที่พบ และเวลาที่ใช้ในการค้นหา ในกรณีที่การค้นหาพบข้อมูลมากกว่า ที่จะแสดงในได้หมดใน 1 หน้า ทาง www.google.co.th ก็จะแสดงหน้าถัดไปได้โดยเราสามารถแถบ ที่ตอนล่างของหน้า Web Site ### การค้นหาของ www.goole.co.th จะมีคำสั่งในการค้นหาโดย ### 1) Google จะใช้เงื่อนไข “และ” (and) ในการค้นหาในรูปแบบของประโยคอยู่เสมอ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาประโยคที่ว่า “ฟิสิกส์ โมเมนตัม” 2) ถ้าเราต้องการใช้เงื่อนไข “หรือ” (OR) สำหรับเชื่อมคำที่ต้องการค้นหา คือ นำผลที่ค้นหาได้ของทั้งหมดมารวมกัน ซึ่งเราทำได้โดยใช้คำว่า OR เป็นตัวอักษรใหญ่ระหว่างค่าที่ต้องการค้นหา เช่น ถ้าเราต้องค้นหาว่าประโยคที่ว่า “ฟิสิกส์ OR โมเมนตัม“ 3) การค้นหาของ google สามารถค้นหาแบบเป็นกลุ่มคำหรือเป็นวลีเราสามารถใช้เครื่องหมาย “ ” เช่น “physics momentum” 4) Google จะสามารถค้นหาไฟล์ในรูปแบบอื่น ๆ โดยประเภทไฟล์ที่รองรับคือ - Adobe Portable Document Format (มีนามสกุล เป็น pdf) - MacWrite (มีนามสกุลเป็น mw) - Microsoft Word (มีนามสกุลเป็น doc) - Microsoft Excel (มีนามสกุลเป็น xls) - Microsoft Power Point (มีนามสกุลเป็น ppt ) - Text File (มีนามสกุลเป็น txt ) เราสามารถค้นหาโดยระบุชนิดของไฟล์ที่เราต้องการค้นหาได้โดยใช้ค่าว่า filetype : แล้วตามด้วยนามสกุลของไฟล์ที่เราต้องการค้นหา เช่น ซึ่งเราสามารถ download มาเก็บไว้ในเครื่องของเรา ได้โดยคลิกเมาส์ขวาแล้วเลือกแถบ Save Target As 5) Google สามารถตัดคำที่เป็นคำพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย “ - ” เช่นคำว่า bass มีความหมายเกี่ยวกับปลาและดนตรี ในเวลาที่เราต้องการตัดความหมายเกี่ยวกับดนตรีก็ทำได้โดยพิมพ์ว่า bass-music นอกจากนี้ยังสามารถตัดชนิดของไฟล์ที่ต้องการค้นหาได้ เช่น ต้องการค้นหาคำว่า bass โดยตัดการค้นหาชนิดไฟล์ที่เป็น pdf ออกก็ทำได้โดยพิมพ์ bass -filetype : pdf 6) ในการค้นหาโดยปกติแล้ว Google จะละคำทั่ว ๆ ไปในภาษาอังกฤษ เช่น the, to, of และอักษรตัวเดียวเพราะจะทำให้การค้นหาช้า แต่ถ้าเราต้องการรวมคำเหล่านั้นในการค้นหาทำได้โดยใช้เครื่องหมาย + ไว้หน้าคำนั้นโดยต้องเว้นวรรคก่อน เช่น back + to nature 7) Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยัง Website นั้น โดยใช้คำว่า link : แล้วตามด้วยชื่อ Website นั้น เช่น link : www.google.com
8. 9.บอกชื่อเว็บไซด์ที่ให้บริการ Search Engine มา 5 ชื่อ
8.1. http://www. go.com http://www.yahoo.com http://www.altavist.com http://www.youtube.com/ http://dict.longdo.com
9. 8.ประโยชน์ของ Search Engine
9.1. ประโยชน์ของ Search Engine 1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว 2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย 3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์ ์เกี่ยวกับข้อมูล และซอร์ฟแวร์ เป็นต้น 4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล 5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย ในโลกยุคอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้มีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูล จำนวนมากมาย อย่างนี้เราไม่อาจจะคลิก เพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัย การค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหา ที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อ ความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหา ข้อมูล มีมากมายหลายทั้งที่เป็นของคนไทย และต่างประเทศ ความหมาย/ประเภท ของ Search Engine การค้นหาข้อมูลบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่ เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไป ทีละหน้าจออาจจะต้องเสีย เวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบการที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็ว จะต้องใช้ เว็บไซต์สำหรับการ ค้นหาข้อมูล ที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้ งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำ หรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่ กำหนด Search Engine แต่ละ แห่งมีวิธีการ และการจัดเก็บฐาข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภท ของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวม ข้อมูล ดังนั้น การที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อย จะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้ วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป การเลือก ใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูล ที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวาง หรือแคบขนาดไหน แล้ว จึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับ ความต้องการของเรา
10. 6.การสืบค้นแบบ Keyword Index
10.1. 1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
11. 7.การสืบค้นแบบ Subject Directories
11.1. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ