Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Curt Lewin by Mind Map: Curt Lewin

1. การเปลี่ยนแปลงองค์กร

1.1. 1. ระยะยอมรับถึงความจำเป็น (Unfreeze) คือ ขั้นตอนการเตรียมไปสู่การเปลี่ยนแปลง

1.2. 2. ระยะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Change or Moving) เป็นกระบวนการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่องค์การปราถนา

1.2.1. สอนงาน

1.2.2. ฝึกอบรม

1.2.3. การพัฒนา

1.2.4. การสาธิต

1.2.5. การวิจัย

1.3. 3. ระยะรักษาสภาพใหม่ (Refreezing) เป็นช่วงที่พฤติกรรมที่ได้เรียนรู้ใหม่อยู่ในตัว จึงต้องมีการเสริมแรง โดยการกระตุ้นจูงใจให้บุคคลปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

2. บิดาแห่งจิตวิทยาสังคม (father of modern social psychology)

3. สาเหตุที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3.1. 1. ระบบภูมิคุ้มกันขององค์กร (Organizational Immune System)

3.2. 2. ความขัดแย้ง (Conflict)

3.3. 3. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง (Change)

4. การนำไปใช้

4.1. 1. ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป้นกันเองและมีอิสระให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

4.2. 2. เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน

4.2.1. เน้นความแตกต่าง

4.2.2. กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล

4.2.3. กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

4.2.4. กำหนดขอบเขต

4.2.5. กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ

4.3. 3. บทเรียนควรมีดครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน

4.4. 4. คำนึงความรู้สึกของผู้เรียน พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจ

4.5. 5. บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้

5. แนวคิดทฤษฎีหลัก

5.1. ให้มองในสิ่งที่ผู้นำปฏิบัติและชี้ให้เห็นว่าทั้งผู้นำและผู้ตามต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน

6. ทดลองสังเกตผลกระทบของสไตล์ความเป็นผู้นำ 3 ลักษณะ

6.1. 1. ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic Leaders) จะตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้นำ

6.2. 2. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leaders) ใช้การตัดสินใจของกลุ่มหรือให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับฟังความคิดเห็นส่วนรวม

6.3. 3. ผู้นำแบบตามสบายหรือเสรีนิยม (Laissez - Faire Leaders) จะให้อิสระกับผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มที่ในการตัดสินใจแก้ปัญหา

7. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ว่า " การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหา แต่ Curt Lewin ได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์"

8. สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ มี 2 ชนิด

8.1. สิ่งแวดล้อมกายภาพ (Physical environment)

8.2. สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา (Psychological environment) เป็นโลกแห่งการรับรู้ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับสภาพที่สังเกตเห็นโลก หมายถึง Life space

8.2.1. Life space ของบุคคลเป็นสิ่งเฉพาะตัว ความสำคัญที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน คือ ครูต้องหาวิธีทำให้ตัวครูเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนให้ได้