บทที่ 3 การทบทวนวรรณกรรม(Literature review)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 3 การทบทวนวรรณกรรม(Literature review) by Mind Map: บทที่ 3 การทบทวนวรรณกรรม(Literature review)

1. ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม

1.1. ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาวรรณกรรม

1.1.1. หลักในการค้นหาวรรณกรรม

1.1.1.1. 1. เอกสารและงานวิจัยนั้นๆ มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยของเราอย่างไร และมากน้อยเพียงใด

1.1.1.2. 2. ปริญญานิพนธ์นำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มากกว่าในรายงานการวิจัย

1.1.1.3. 3. ควรมีเหตุผลในการนำเสนอเอกสารฯ แต่ละเรื่อง

1.1.1.4. 4. ถ้าหากผลของการวิจัยมีความขัดแย้งกัน ต้องนำเสนอเอกสารและงานวิจัยฯ ที่มีข้อค้นพบที่สนับสนุนแต่ละฝ่าย

1.1.1.5. 5. ถ้ามีงานวิจัยหลายๆ เรื่องที่มีผลการค้นพบเหมือนกัน อาจเลือกนำเสนอเพียงเรื่องเดียว

1.1.1.6. 6. จำเป็นต้องเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องฉบับที่ทันสมัย

1.1.1.7. 7. มีเนื้อหาตรงกับที่ผู้วิจัยต้องการ

1.1.1.8. 8. ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย สมเหตุสมผล ไม่ลำเอียง

1.1.1.9. 9. ผู้แต่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในงานที่เขียนเป็นอย่างดีหรือไม่

1.1.1.10. 10. หนังสือหรือเอกสารที่ศึกษาต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องเชื่อถือได้

1.1.1.11. 11. ควรเลือกหนังสือหรือเอกสารที่พิมพ์จากสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้

1.1.2. แหล่งข้อมูลเพื่อการทบทวนวรรณกรรม

1.1.2.1. หนังสือ ดรรชนีวารสาร (Index) เป็นเล่มที่รวบรวมดรรชนีวารสารไว้ ซึ่งถูกเก็บไว้ในห้องสมุด พจนานุกรม (Dictionary) สารานุกรม (Encyclopedia) บทคัดย่อ (Abstracts) หนังสือรายปีวารสาร (Journal) เช่น รายงานการวิจัย, บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ (ปริญญาโท , ปริญญาเอก รายงานการวิจัย หนังสืออ้างอิงอื่นๆ เช่นหนังสืออ้างอิงทางราชการ ราชกิจจานุเบกษา รายงานประจำปีของหน่วยราชการ และองค์การต่างๆ หนังสือจุลสาร หนังสือแผนที่ภูมิศาสตร์เป็นต้น

1.1.3. ที่มาของแหล่งข้อมูล

1.1.3.1. ข้อมูลที่เป็นเอกสาร เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ และอื่นๆ ,ข้อมูลอิเลกทรอนิกส์ เช่น CD, DVD, ข้อมูลจาก computerเป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลทางวิชาการ เช่น สรุปรายงานการวิจัย , บทความวิชาการ, เอกสารในการประชุมวิชาการ Conference เป็นต้น ,ข้อมูล Online

1.1.4. ระดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล

1.1.4.1. 1. ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา จะต้องสามารถสืบค้นได้ถึงเจ้าของผลงานเดิม

1.1.4.2. 2. ความน่าเชื่อถือของประเภทวรรณกรรมปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ

1.1.4.3. 3. ความน่าเชื่อถือของเจ้าของวรรณกรรม คุณวุฒิ ความถนัด ความชำนาญของเจ้าของวรรณกรรม

1.1.4.4. 4. ความน่าเชื่อถือในสำนักพิมพ์ McGraw-Hill ,Adison Wesly,. Prentice-Hall, Dryden Press

1.1.4.5. 5. ความทันสมัยของวรรณกรรม ปี พ.ศ.

1.2. ขั้นตอนที่ 2 สรุปย่อข้อมูลวรรณกรรม

1.2.1. การอ่านและวิเคราะห์งานวิจัย

1.2.1.1. -หลักการ แนวคิด หรือทฤษฏีที่ใช้ในการวิจัย วัตถุประสงค์คืออะไร ตั้งสมมุติฐานอย่างไร ใช้แนวคิด ความรู้พื้นฐาน หรือใช้ทฤษฎีอะไร และมีตัวแปรอะไรที่ใช้ในงานวิจัย ตลอดจนการนิยามตัวแปรเชิงปฏิบัติการ

1.2.1.2. -ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มประชากร และการได้มาของตัวอย่าง ตัวอย่างมีขนาดเพียงพอหรือไม่ ทราบรูปแบบการวิจัย (สร้าง) เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1.2.1.3. -ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: แต่ละงานวิจัยให้ผลสรุปอย่างไร ผลการวิจัย สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับผลงานของผู้ใดบ้าง งานวิจัยมีจุดแข็ง ข้อจำกัดอะไรบ้าง และข้อแก้ไขเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพที่ดีกว่า

1.2.2. วิธีการบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ

1.2.2.1. - บันทึกลงบัตรบันทึก - ทำตารางสรุป จดบันทึกในกระดาษ หรือพิมพ์ในคอมพิวเตอร์ -ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม เช่น EndNote

1.2.3. สิ่งสำคัญที่จะต้องมีในบัตรบันทึก

1.2.3.1. 1.หัวเรื่องของเรื่องที่บันทึก 2.เขียนไว้ที่มุมไหนก็ได้แหล่งที่มาของข้อความ เขียนตามแบบของบรรณานุกรม 3.ข้อความที่ได้จากการค้นคว้าศึกษา

1.3. ขั้นตอนที่ 3 เรียบเรียงข้อมูลวรรณกรรม

1.3.1. วิธีการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

1.3.1.1. 1. เลือกเฉพาะข้อมูล เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจริง ๆ กับปัญหาที่ศึกษาเท่านั้น

1.3.1.2. 2. เน้นการอ้างอิงจากแหล่งปฐมภูมิเท่านั้น

1.3.1.3. 3. เน้นการเขียนเชื่อมโยงและมีความต่อเนื่องในเนื้อหา

1.3.1.4. 4. มีการเขียนสรุปในตอนท้าย

1.3.2. สิ่งที่ไม่ควรทำในการเรียบเรียงวรรณกรรม

1.3.2.1. -ไม่ใช่การรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ค้นหาได้มาเขียน

1.3.2.2. -ไม่นำสิ่งที่ค้นคว้ามาได้เขียนเรียงต่อกันไป แต่เป็นการนำมาจัดระบบใหม่ และควรแสดงความสัมพันธ์ของงานที่ค้นคว้ามาได้กับงานที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาด้วย

1.3.2.3. - กระทำโดยสุจริต ไม่คัดเลือกวรรณกรรมที่บิดเบือน และไร้คุณค่าโดยที่นักวิจัย มีความเชื่อใจอย่างสุจริตว่าเป็นวรรณกรรมที่ถูกต้อง

1.3.2.4. - ไม่ควรนำเสนอโดยนำการทบทวนวรรณกรรมของผู้อื่นมาเสนอราวกับว่าตนเองเป็นผู้ทำการทบทวน

2. การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism)

2.1. รูปแบบ Plagiarism

2.1.1. 1.Copy and Paste Plagiarism (การคัดลอก-แปะ) คือ การนำข้อความจากต้นฉบับมาใช้โดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดและเขียนอ้างอิง

2.1.2. 2.Word Switch Plagiarism (การเปลี่ยนคำ) คือ การนำข้อความต้นฉบับมาเปลี่ยนบางคำโดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูดและ เขียนอ้างอิง

2.1.3. 3.Metaphor Plagiarism (การอุปมา) คือ การนำคำอุปมาของต้นฉบับมาใช้ โดยไม่ได้อุปมาเป็นอย่างอื่น โดยไม่อ้างอิง

2.1.4. 4.Style Plagiarism (สำนวน) นำข้อความต้นฉบับผู้อื่นมาใช้โดยเรียงประโยคใหม่อันแสดงถึงรูปแบบสำนวนเดิม

2.1.5. 5.Idea Plagiarism (ความคิด) คือ การนำทฤษฎีต่างๆ มา วิเคราะห์ หรือวิจารณ์ถึงความรู้ทั่วไป หากมีผู้อื่นวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีแล้วต้องอ้างอิง หากไม่อ้างอิงจะเป็น Plagiarism อาจเลี่ยงได้โดยเขียนด้วยทฤษฎีอื่น

2.1.6. 6.การกระทำอื่นๆ ที่ถือเป็น Plagiarism เช่น การส่งผลงานชิ้นเดียวกันไปยังสำนักพิมพ์ 2 แห่ง หรือลอกผลงานตัวเอง

2.1.7. 7. การส่งผลงานที่ทำร่วมกับผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม การลอกการบ้าน การใช้บทความจาก อินเทอร์เน็ตโดยไม่อ้างอิง การนำคำกล่าว สุนทรพจน์ สถิติ ภาพ กราฟ ผู้อื่นไปใช้โดยไม่อ้างอิง

2.2. เทคนิคการหลีกเลี่ยง Plagiarism

2.2.1. 1.ค้นคว้าจากหลาย ๆ แหล่ง อ่านให้เข้าใจถ่องแท้ และเขียนผลงานด้วยสำนวนตัวเอง

2.2.2. 2.จดบันทึกย่อทุกครั้งที่อ่านข้อมูล และกำกับแหล่งอ้างอิงทุกครั้ง

2.2.3. 3.เขียนผลงานด้วยภาษาตนเองไม่นำคำของคนอื่นมาใช้ โดยทิ้งเวลาหลังจากอ่านข้อมูลต่าง ๆ สักพักจึงเขียนงานตัวเองจะช่วยให้สำนวนที่เขียนเป็นภาษาของเราเองอย่างแท้จริง

2.2.4. 4.เขียนโดยใช้วิธีถอดความ หรือ การสรุปสาระสำคัญแทนการคัดลอก และเขียนอ้างอิงให้ถูกต้อง

2.2.5. 5.หากจำเป็นต้องนำข้อความนั้นมาอ้างอิง ควรเขียนอ้างอิงให้ ชัดเจน และใส่เครื่องหมายคำพูดตรงข้อความที่คัดลอก

3. ความหมาย:

3.1. กรรมวรรณกรรม หมายถึง งานหนังสือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด โดยที่มีการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น ตำรา หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียนสิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ สิ่งบันทึกเสียง ภาพถ่าย และอื่นๆ เป็นต้น

3.2. วรรณกรรมในงานวิจัย หมายถึง เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ แนวคิด/ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับเรื่องที่ทำการการศึกษาวิจัย

3.3. การทบทวนวรรณกรรม

3.3.1. Zikmund, Babin, Carr, & Griffin (2010) การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การค้นหาโดยตรงจากงานที่ได้รับการตีพิมพ์ รวมถึงวารสารที่ตีพิมพ์ตามเวลาที่กำหนดและหนังสือที่มีการกล่าวถึงทฤษฎีและแสดงผลการศึกษาเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ทำการศึกษา

3.3.2. Hart (อ้างถึง Levy & Ellis, 2006) กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรมเป็นการใช้ความคิดที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมนั้น เพื่อสนับสนุนวิธีการที่เฉพาะสำหรับหัวข้อวิจัยการเลือกวิธีการวิจัยและแสดงให้เห็นว่า งานวิจัยนี้นำเสนอสิ่งใหม่

3.3.3. สรุป การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การค้นคว้า ศึกษา รวบรวม และประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความ เอกสารทางวิชาการ และตำราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย เพื่อประเมินแนวความคิด ระเบียบวิธีการวิจัย สมมุติฐาน ข้อสรุป เป็นการศึกษาเอกสาร ตำรา วารสาร และรายงานการวิจัย เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี วิธีการวิจัยและปัญหาวิจัยในประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยจะศึกษา

4. ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม

4.1. ทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจน และมีจุดเน้น มีการพัฒนาวิธีการที่ใช้ในการวิจัยและช่วยทำให้มีพื้นฐานความรู้ในการวิจัยที่กว้างขึ้น

5. ความสำคัญ:การทบทวนวรรณกรรม

5.1. 1. หาความจริง (To Locate Facts) เพื่อหาความจริงที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว

5.2. 2. เพื่อให้เลือกสรรปัญหาได้ถูกต้อง (To Select a Problem)

5.3. 3. ช่วยในการนิยามปัญหา (To Define a Problem)

5.4. 4. เพื่อหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อน (To Avoid Duplication)

5.5. 5. เพื่อหาเทคนิคในการวิจัย (To Find Techniques)

5.6. 6. ช่วยในการแปลความหมายของข้อมูล (To Interpret Results)

5.7. 7. เพื่อเตรียมการเขียนรายงาน (To Prepare Report)