1. 3. Borderline Personality Disorder บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง 1. พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริง หรือการถูกทอดทิ้ง 2. สัมพันธภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอน ระหว่างดีสุดๆและชั่วร้ายสุดๆ 3. สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเองไม่แน่นอน 4. แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วาม ที่มีผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อนทางเพศ ใช้สารเสพติด ขับรถประมาท ดื่มจัด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ฯลฯ 5. มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ 6. อารมณ์ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย มีความรู้สึกเหงาอยู่ตลอดเวลา 7. หงุดหงิด โกรธง่าย ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ค่อยได้ จึงมักจะโกรธนานระเบิดอารมณ์รุนแรงได้ง่าย หรือทำร้ายร่างกาย 8. เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวง หรืออาการแสดงถึงภาวะความจำการรับรู้เกี่ยวกับตนสูญเสียไป(dissociative symptoms)
2. 2. Antisocial Personality Disorder บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม 1. ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม 2. หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกซ้ำแล้วซ้ำอีก ใช้สมญานามตบตาหรือหลอกลวง หาผลประโยชน์จากผู้อื่น 3. หุนหันวู่วาม ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป 4. หงุดหงิดและก้าวร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กำลัง หรือทำร้ายผู้อื่นบ่อยๆ 5. ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเอง และผู้อื่น 6. ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน ไม่ซื่อสัตย์ทางการเงิน 7. ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป โดยมีท่าทีเฉยๆหรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดีทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
3. 1. Dependent Personality Disorder บุคลิกภาพแบบพึ่งพาเป็นบุคลิกภาพแบบชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง และกลัวการถูกทอดทิ้ง เริ่มในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และจะแสดงออกมาให้เห็นได้ชัดเจนเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ 1. ยากที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำและการให้กำลังใจจากผู้อื่น 2. ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆในชีวิตให้ตน 3. รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เพราะกลัวว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่ยอมรับหรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป 4. ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้ ซึ่งเป็นเพราะขาดความสามารถหรือขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ มากกว่าขาดพลังหรือแรงจูงใจที่จะคิดที่จะทำ 5. ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทำในสิ่งที่ไม่สุขสบาย 6. รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือตนเองเมื่อต้องอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะไม่มีความสามารถพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง 7. เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหาสัมพันธภาพใหม่ทันที 8. ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
4. อาการและอาการแสดง
5. ความหมาย
5.1. ความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบพฤติกรรม และรูปแบบประสบการณ์ทางใจที่ปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม(maladaptive) ที่ยั่งยืน โดยปรากฏในสถานการณ์ต่าง ๆ หลายอย่าง และออกนอกลู่นอกทางอย่างสำคัญจากที่ยอมรับได้ในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคลนั้น รูปแบบเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตั้งแต่เบื้องต้นของชีวิต ยืดหยุ่นไม่ได้และสัมพันธ์กับความทุกข์กับความพิการในระดับสำคัญ
6. สาเหตุ
6.1. 1. ลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น มีผู้พบว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาลมักจะมีบิดามารดาเป็นอันธพาล
6.2. 2.การพัฒนาทางบุคลิกภาพ เช่น การอบรมเลี้ยงดูอย่างขาดความอบอุ่นในวัยทารก
6.3. 3. ประสบการณ์ในวัยเด็กอาจส่งเสริมพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น 3.1 เมื่อทำไม่ดีแล้วได้รับรางวัล 3.2 การถูกอบรมเลี้ยงดูที่เคร่งครัดเกินไป 3.3 การที่บิดามารดาหรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมี บุคลิกภาพผิดปกติ
6.4. 4. ปัจจัยทางจิต-สังคม (psychosocial factor) มีผู้ศึกษาบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบอันธพาล พบว่าบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ
6.5. 5.ความผิดปกติในหน้าที่ของสมองเช่นโรคลมชัก การอักเสบของสมอง Arteriosclerotic brain disease, Senile dementia และ Alcoholism ฯลฯ ทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงได้
7. การจำแนกบุคลิกภาพแปรปรวน
7.1. 5. Sociopathic or asocial personality disorderหรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบอันธพาล หรือแบบต่อต้านสังคม ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ คือ อารมณ์ไม่มั่นคงขาดจริยธรรมและคุณธรรม ไม่มีความสำนึก
7.1.1. ๘. Asthenic personality disorder ลักษณะสำคัญ คือ มักทำตามความต้องการของผู้ใหญ่หรือผู้อื่นง่าย มีการตอบสนองต่อความต้องการในชีวิตประจำวันของตนน้อย
7.2. 4.Hysterical personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบฮีสทีเรีย ลักษณะที่สำคัญ คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายไม่มั่นคง ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องการความชื่นชมยินดีและความเอาใจใส่จากผู้อื่นมากผิดปกติ ถูกชักจูงง่าย และจะแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางมากเกินไป (dramatize) เมื่อมีความกดดันอาจแสดงอาการของโรคประสาทแบบฮีสทีเรียได้
7.3. 3.Anankastic personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบเจ้าระเบียบ สมบูรณ์แบบ หรือย้ำคิดย้ำทำ ลักษณะสำคัญคือ ขาดความมั่นใจ ระแวงสงสัย และรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างขาดตกบกพร่อง ทำให้เกิดความเกรงกลัวต่อบาป ความระมัดระวัง และความรอบคอบมากเกินไป แต่ความรุนแรงไม่ถึงขนาดเป็นโรคประสาทตุ บุคลิกภาพแบบนี้อาจเรียกว่า "compulsive personality disorder "หรือ "perfectionist"
7.4. 2.Schizoid personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบแยกตัว ลักษณะสำคัญ คือ ขี้อาย ไม่ค่อยพูด และแยกตัวจากสังคมบุคคลนั้นพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ซึ่งมีการแข่งขัน หรือหลีกเลี่ยงการแสดงความรู้สึกหรือความก้าวร้าวของตนให้ผู้อื่นทราบ
7.5. 6. Affective personality disorder ประลักษณะที่สำคัญ คือ มีอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์เป็นสุขต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หรือมีอารมณ์เศร้าสลับกับอารมณ์เป็นสุข
7.6. 1. Paranoid personality disorder หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบหวาดระแวง - มีความรู้สึกไวเกินควรต่อความผิดหวัง การถูกเหยียดหยาม หรือการถูกปฏิเสธ
7.7. ๗. Explosive personality disorder ลักษณะสำคัญ คือ อารมณไม่มั่นคง และไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ อารมณ์เกลียด อารหรืออารมณ์รักของตนได้ อาจแสดงความก้าวร้าวออกทางคำพูดหรือการกระทำรุนแรง
8. การบำบัดรักษา
8.1. การใช้วิธีจิตบำบัด (psychotherapy) เป็นการรักษาด้วยการพุดคุยซึ่งเป็นบรรทัดฐานแรกของการรักษาอาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง(Borderline Personality Disorder)
8.1.1. ชนิดของจิตบำบัด (Psychotherapy
8.1.1.1. 1. พฤติกรรมบำบัด (Dialectical behavioral therapy _DBT) จะใช้ทักษะแตกต่างกันเพื่อช่วยให้ผู้ป่วย BPD สามารถ จัดการกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ดีขึ้นทนทานต่อความเครียด
8.1.1.2. 2. การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavior therapy_ CBT) เป็นที่นิยมใช้ในการรักษาปัญหาสุขภาพจิตทั่วไป สำหรับคนที่เป็น BPD การใช้ CBT รักษาจะช่วย แยกแยะและปรับเปลี่ยนความเชื่อหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับตนเอง นำไปสู่การลดความคิดและพฤติกรรมเชิงลบ
8.1.1.3. 3. การรักษาด้วยการ Mentalization-based เน้นไปที่การแยกแยะและการทำความเข้าใจเรื่องอารมณ์ทั้งของตนเองและของคนอื่น ๆ ช่วยให้คนที่เป็นBPD มีมุมมองกว้างขึ้น
8.2. แนวทางการรักษา BPD แบบอื่น ๆ
8.2.1. 1.Schema- focused therapy มุ่งเน้นรักษาด้านการรับรู้และปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเชิงลบ
8.2.2. 2.Transference-focused therapy หรือเรียกว่า "psychodynamic psychotherapy" ใช้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้บำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจอารมณ์และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากขึ้น
8.2.3. 5.General psychiatric management การรักษาที่มีแบบแผน มีการจัดการกรณีศึกษา มีการใช้ยาร่วมในการรักษา มีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (psychodynamic psychotherapy) เพื่อสามารถควบคุมความไม่แน่นอนของอารมณ์ อาการวู่วาม และอาการก้าวร้าว
8.2.4. 3.Systems Training for Emotional Predictability and Problem Solving (STEPPS) รักษาเป็นกลุ่ม ใช้ระยะเวลารักษา20สัปดาห์ โดยให้สมาชิกในครอบครัว ผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อนๆ หรือคนอื่น ๆเกี่ยวข้องด้วย
8.2.5. 4.Dialectical behavior therapy (DBT) Family Skill Training รวมสมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด