มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณื
by montarat seeduean
1. วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชีสำหรับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
2. ขอบเขต
2.1. 1 ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณื ยกเว้นกรณีที่มีมาตรฐานอื่นกำหนด 2. ไม่ครอบคลุมถึง ประเภทถือไว้เพื่อขาย สินทรัพย์ชีวภาพ สัมปทานเหมืองแร่ และทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ การรับรู้รายการใช้วิธีแตกต่างไป หากใช้วิธีราคาทุนสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้องปฎิบัติตามวิธีราคาทุนด้วย
3. การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ
3.1. กิจการคุณต้องใช้หมดนโยบายเดียวกัน วิธีราคาทุน แสดงรายการที่ดิน อาคารและอุปกรอุปกรณืนั้นด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์ การตีราคาใหม่ คือมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักราคาด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมที่เกิดขึ้นภายหลัง การตีราคาใหม่ให้ปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์เป็นราคาที่ตีใหม่ และคุณต้องใช้วิธีเดียวกันกับออกประเภทเดียวกันทุกรายการด้วยหากมีการตีราคาพิ่มรับรู้ไปยังกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นส่วนสะสม ไปส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ หากตีลดไปยังกำไรขาดทุนส่วนที่เหลือไปกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ โดยกิจการอาจโอนส่วนเกินทุนจากการตีราคาเมื่อกิจการตัดรายการสินทรัพย์นั้น และรับรู้รายการพร้อมเปิดเผยรายการผลกระทบทางภาษี
4. ค่าเสื่อมราคา
4.1. สำหรับส่วนประกอบให้คืดค่าเสื่อมราคาแยก ปันส่วนมูลค่าที่รับรู้เริ่มแรกไปยังส่วนประกอบแต่ละส่วน และตลอดอายุการใช้งานโดยใช้วิธีคิดเหมือนกัน โดยต้องรับรู้ในแต่ละงวดในกำไรหรือขาดทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ ต้องทบทวนมูลค่าคงเหลือทุกสิ้นรอบบัญชี แม้มูค่าของสินทรัย์จะสูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ก็ยังคงรับรู้ค่าเสื่อมราคาต่อไป จะสิ้นสุดเมื่อมีการตัดสินทรัพย์นั้น อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์จึงอาจสั้นกว่าอายุการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
5. การด้อยค่า
5.1. ค่าชดเชยต้องนำมารวมในกำไรหรือขาดทุน ส่วนการด้อยค่าหรือผลขาดทุนถือเป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่แยกจากกันและต้องบันทึกบัญชีแยกจากกัน
6. กรเปิดเผยข้อมูล
6.1. กิจการต้องเปิดเผยเกณฑ์การวัดมูลค่าที่ใช้ วิธีคิดค่าเสื่อมราคาที่ใช้ อายุการใช้ประโยชน์หรืออัตราค่าเสื่อมราคาที่ใช้ มูลค่าตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม รายการกระทบยอดของมูลค่าตามบัญชีระหว่างต้นงวดถึงวันสิ้นงวดที่แสดง กิจการต้องเปิดเผยรายการต่อไปนี้ด้วย จำนวนและข้อจำกัดที่มีอยู่ในกรรมสิทธิ์ จำนวนรายจ่ายทั้งสิ้น จำนวนเงินภาระผูกพันตามสัญญาที่ตกลงไว้ จำนวนเงินชดเชย หากมีการตีราคาใหม่ต้องเปิดเผยรายการเพิ่มเติม รวมถึงต้องเปิดเผยการด้อยค่าด้วย
7. วันถือปฏิบัติ
7.1. เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
8. การบยกเลิกมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม
8.1. ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2560) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
9. ต้นทุนเริ่มแรก
9.1. กิจการอาจได้มาซึ่งรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยหรือสภาพแวดล้อมถือว่าเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการ
10. การรับรู้รายการ
10.1. 1 ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้ มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และกิจการสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ 2. รายการชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณืที่สำรองไว้ใช้งาน และอุปกรณืที่ใช้ในการซ่อมบำรุงหากไม่เข้าเงื่อนไขจะจัดประเภทเป็นสินคาคงเหลือ 3. กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการนำเกณฑ์การรับรู้รายการมาประยุกต์ 4. ประเมินต้นทุนทั้งหมดตามหลักการรับรู้รายการ
11. การตัดรายการ
11.1. ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้ กิจการจำหน่ายสินทรัพย์ และกิจการคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศษฐกิจในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์หรือการจำหน่ายสินทรัพย์ ต้องรับรู้ผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการตัดรายการ กิจการที่มีการขาย ต้องโอนสินทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือด้วยมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่สินทรัพย์ดังกล่าวได้สิ้นสุดการให้เช่าและถือไว้เพื่อขาย
12. ต้นทุนที่เกิดขึ้นภายหลัง
12.1. 1. กิจการรับรู้ต้นทุนในกำไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้นเพื่อเป็น ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา 2. กิจการอาจต้องเปลี่ยนแทนส่วนประกอบบางรายการตามระยะเวลาที่กำหนด 3. ประมาณการต้นทุนการตรวจสอบสภาพเป็นส่นหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์เมื่อกิจการได้มาหรือก่อสร้างสินทรัพย์
13. การวัดมูลค่าของราคาทุน
13.1. 1. ต้นทุน คือ ราคาที่เทียบเท่าราคาเงินสด ณ วันที่รับรู้รายการ 2. วัดมูลค่าการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่ายุติธรรม 3. การแลกเปลี่ยนพิจาารณาจากระดับของกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 4. ต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ ไม่มีความแตกต่างในช่วงของการวัดมูลค่ายุติธรรม และสามารถประเมินความน่าจะเป็นของประมาณการมูลค่ายุติธรรม 5. ต้นทุนที่ถือครองโดยผู้เช่าภายใต้สัญญาการเช่าเงินให้เป็นไปตามข้อกำหนด 6. มูลค่าอาจลดลงเนื่องจากกิจการได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
14. กรวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ
14.1. 1. ใช้ราคาทุน 2. ราคาทุนประกอบด้วย ราคาซื้อรวมอากรขาเข้าและภาษีที่เรียกคืนไม่ได้หลังหักส่วนลดการค้าและจำนวนที่ได้รับคืนจากผู้ขาย ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้นทุนที่ประมาณในเบื้องต้นสำหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรพย์ 4. ต้นทุนที่เกิดจากภาระผูกพันของกิจการในการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ กิจการต้องรับรู้และวัดมูลค่าในเรื่อง การประมาณหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น 5. ต้นทุนที่ไม่ถือเป็นราคาทุน คือ ต้นทุนในการเปิดสถานประกอบการใหม่ ต้นทุนในการแนะมำสินค้าหรือบริการใหม่ ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในสถานที่ตั้งใหม่หรือกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ต้นทุนในการบริหารและค่าใช้จ่ายทั่วไป 6. การรับรู้ต้นทุนจะสิ้นสุดเมื่อสินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งาน 7. การดำเนินงานบางอย่างอาจเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างกิจกรรมก่อสร้างหรือพัฒนา กิจการจึงรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข่องจากการดำเนินงานที่ไม่ใช่กิจกรรมหลัก 8. การวัดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ใช้หลักการเดียวกับการวัดมูลค่าต้นทุนของสินทรัพย์ 9. พืชเพื่อการให้ผลิตผลให้ใช้วิธีปฏิบัติทางการบัญชีเช่นเดียวกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์