บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาสำหรับครู

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาสำหรับครู by Mind Map: บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยาสำหรับครู

1. แนวคิดของกลุ่มนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

1.1. สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 5 กลุ่ม

1.1.1. 1. แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาโครงสร้างนิยม / โครงสร้างแห่ง จิต (Structuralism) กลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบเป็น 2 ส่วน คือ กายกับ จิต ทั้งสองส่วนทำงานสัมพันธ์กัน

1.1.2. 2. แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาหน้าที่นิยม / หน้าที่แห่งจิต (Functionalism) กลุ่ม หน้าที่นิยมสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของจิต เช่นเดียวกับกลุ่มโครงสร้างนิยม แต่นักจิตวิทยา กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับ การทำงานของจิตว่ามีหน้าที่อย่างไร และมีกระบวนการอย่างไร ที่จะ ส่งผล ต่อการแสดงออกของบุคคล

1.1.3. 3. แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) แนวคิดของกลุ่มจิต วิเคราะห์นี้ช่วยให้เห็นความผิดปกติของ พฤติกรรม เข้าใจผู้มีปัญหา เป็นแนวทางในการบ าบัดรักษา ความ ผิดปกติ และอาจช่วยให้ระวังตัวเองมิให้จิตของตนผิดปกติไปได้ โดย จิตของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วน

1.1.3.1. 3.1 จิตสำนึก (conscious mind) เป็นสภาวะปกติของ บุคคลในการดำรงชีวิต รู้ตัวว่าทำอะไร เป็นใครและอยู่ที่ไหน ซึ่งก็คือ สภาพที่บุคคลรู้ตัวว่าแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปและ แสดงออกไปตาม หลักเหตุผล หรือแสดงตามแรงผลักดันจากภายนอก

1.1.3.2. 3.2 จิตใต้สำนึก (subconscious mind) เป็นจิตที่เก็บสะสม ข้อมูลประสบการณ์ มากมาย มิได้รู้ตัวในขณะนั้น แต่พร้อมที่จะดึงเข้า มาอยู่ในระดับจิตสำนึก อาจจะเป็นรูปแบบของ ความจำก็ได้

1.1.3.3. 3.3 จิตไร้สำนึก (unconscious mind) เป็นส่วน ของ พฤติกรรมภายในที่เจ้าตัว ไม่รู้สึกตัวเลย อาจเนื่องมาจากเจ้าตัว พยายามเก็บกดไว้ อาจสะท้อนออกมาในรูปของความฝันหรือ การ ละเมอ องค์ประกอบของจิต ฟรอยด์ ได้แบ่งองค์ประกอบของจิต เป็น 3 ส่วน ซึ่งทั้งสาม ส่วนนี้ ผสมผสานกันเป็นบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งเป็นแรงขับให้กระทำ พฤติกรรมต่าง ๆ

1.1.4. 4. แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) นักจิตวิทยาในกลุ่ม พฤติกรรมนิยมเน้นศึกษาเฉพาะพฤติกรรม ที่สังเกตได้อย่างชัดเจน

1.1.5. 5. แนวทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) แนวความคิดของ กลุ่มเกสตัลท์ให้ความสำคัญกับการศึกษา พฤติกรรมโดยส่วนรวมทั้งหมด จะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ เชื่อว่า บุคคลจะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมาย่อมเกิดจากคุณสมบัติโดย ส่วนรวมของบุคคลนั้น ซึ่ง ประกอบไปด้วยความรู้ ความคิด ทักษะ ทัศนคติ ฯลฯ ไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติใดเพียงอย่างเดียว กลุ่ม นี้ได้ชื่ออีก ชื่อหนึ่งว่า ปัญญานิยม (cognitivism)

2. ความหมาย

2.1. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม หรือกิริยาอาการของ มนุษย์รวมถึงความพยายามที่จะศึกษาว่ามีอะไรบ้างหรือตัวแปรใดบ้าง ในสถานการณ์ใดที่เกี่ยวข้องกับ การทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถคาดคะเน หรือพยากรณ์ได้โดยใช้ แนวทางหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์จิตวิทยา psychology คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของ มนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต

3. ความเป็นมา

3.1. นักปรัชญาคนสำคัญ อาทิ เพลโต (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotel) ได้ พยายามทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าจะมีความคิด เห็นที่ขัดแย้งกันบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความเชื่อที่ตรงกัน นั่นคือ มนุษย์มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ร่างกาย (Body) และวิญญาณ (Soul) โดยที่องค์ประกอบทางวิญญาณจะมีอิทธิพลที่ สามารถควบคุมองค์ประกอบทางร่างกาย โดยคำตอบที่ปรากฏ ออกมาเกี่ยวกับวิญญาณนั้นมีการประสานระหว่างเหตุผลทางความคิดกับความเชื่อทางศาสนาใน ขณะนั้น ด้วยวิธีการเช่นนี้เอง ทำให้คำอธิบายที่ออกมานั้นมีความไม่แน่นอน และเกิดความหลากหลาย ไม่ชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันวิธีการเช่นนี้ถูกเรียกว่า อาร์มแชร์ (Armchair method) เพราะเป็นวิธีการหา คำตอบแบบนั่งอยู่กับที่ ไม่มีการค้นคว้าทดลอง หรือพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ให้สามารถเห็นได้จริง

4. ระเบียบวิชาการ

4.1. นักจิตวิทยามีวิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลทางจิตวิทยาหลาย วิธี เช่น วิธี พิจารณาตนเอง วิธีการสังเกต วิธีการทดลอง วิธีสำรวจ วิธีคลินิก วิธีการศึกษาชีวประวัติของบุคคล วิธีการสัมภาษณ์

4.1.1. 1. วิธีพิจารณาตนเอง (Introspection Method) วิธีนี้เป็นการให้บุคคลแสดง ความรู้สึกภายในใจออกมาเอง โดยการบรรยายความรู้สึกต่างๆที่ตนมีอยู่ ดังนั้นความในใจที่คนบอก ออกมานั้นเป็นข้อมูลที่ถูกนำมาพิจารณาข้อสรุป

4.1.2. 2. วิธีการสังเกต (Observational method) จุดเริมต้นของจิตวิทยานั้นมาจาก การสังเกตพฤติกรรมของ สัตว์และมนุษย์ วิธีการสังเกตนั้นมักจะใช้กับพฤติกรรมภายนอก(Overt Behavior) เช่น การกระทำ อากัปกิริยา ท่าทาง คำพูด ฯลฯ การ สังเกตเพื่อประโยชน์ในการ ศึกษาวิจัยนั้นต่างกับการสังเกตโดยทั่วๆไป

4.1.3. 3. วิธีการทดลอง (Experimental Method) เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถศึกษา ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ มีการควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ทำ ให้ ข้อสรุปเป็นที่น่าเชื่อถือคือ ลักษณะของการทดลองนั้นจะมีตัวแปร (สิ่งที่มีค่าแปรผันได้) 2 ลักษณะคือ ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ตัว แปรอิสระเป็นตัวแปรที่ผู้ทดลองสามารถควบคุมได้โดยตรง

4.1.4. 4. วิธีสำรวจ (Survey Method) วิธีนี้เป็นวิธีศึกษาพฤติกรรมอย่างมีระบบแบบ แผนอีกวิธี หนึ่งซึ่งคล้ายกับวิธีทดลอง คือ มีการศึกษาตัวแปรต่างๆ แต่ตัวแปร เหล่านี้อาจไม่สามารถ ควบคุมโดยตรงทั้งหมดได้ เช่น การส ารวจ ประชามติ ทัศนคติและการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น วิธีการ สำรวจอาจ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามระยะเวลาในการศึกษาคือ

4.1.4.1. 4.1 แบบสำรวจในระยะสั้น (Cross- Section Approach)

4.1.4.2. 4.2 แบบสำรวจระยะยาว (Longitudinal Approach) )

4.1.5. 5. วิธีคลินิก (Clinical Method) เป็นวิธีการทางจิตวิทยาที่ต้องการช่วยให้คนมี สุขภาพจิตดี ขึ้น โดยการค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา วิธีนี้ ค่อนข้างจะจำกัดเป็น รายบุคคล การศึกษาเพื่อค้นหาเหตุของปัญหานั้น นักจิตวิทยาคลินิกใช้วิธีการหลายอย่าง เช่น การ ทดสอบ (Testing) การศึกษารายกรณี (Case Study) การศึกษาประวัติ (Case History Method) การสังเกต (Observation) การสัมภาษณ์ (Interview)

4.1.6. 6. วิธีการศึกษาชีวประวัติของบุคคล (Case History) เป็นวิธีการที่ใช้กันมากตาม สถานพยาบาลโรคจิต แม้กระทั่ง ตามโรงเรียนที่มีเด็กที่มีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา นักจิตวิทยาสนใจ ศึกษา ชีวประวัติของบุคคลด้วยเหตุผลที่ว่า ชีวประวัติของบุคคลจะเป็นข้อมูล ส าคัญที่ท าให้เรารู้จัก บุคคลคนนั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะทราบเบื้องหลัง ความเป็นมาของชีวิต แหล่งที่จะได้ข้อมูลในการศึกษา ชีวประวัติของบุคคล

4.1.7. 7. วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) ปัจจุบันการสัมภาษณ์ถูกน ามาใช้อย่าง กว้างขวางทั้งในด้าน การศึกษา การแสดงความคิดเห็นในเรื่องสาธารณะ การวิจัยตลาดและ อื่นๆ ด้วย เทคนิคอันก้าวหน้าของการสัมภาษณ์ การเลือกตัวอย่าง การ หาข้อมูล ดังนั้นการสัมภาษณ์จึง กลายเป็นเครื่องมือส าคัญในการศึกษา ด้านจิตวิทยา การสัมภาษณ์มีส่วนคล้ายกับแบบสอบถาม คือใช้ วิธีถาม ตอบเพื่อให้ได้รับความรู้หรือข้อมูลที่ต้องการ แต่ต่างกับแบบสอบถาม ตรงที่การสัมภาษณ์เป็น การพูดคุยโดยตรงระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูก สัมภาษณ์

5. ความเป็นครูกับจิตวิทยา

5.1. ครูจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยา การศึกษา เพื่อจะได้ เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนเข้าใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล กระบวนการ เรียนรู้ ตลอดจนถึงปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอน และสามารถจัดสภาพแวดล้อมของ ห้องเรียนให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

5.2. การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่อง ยากถ้าหากจะเป็น ครูที่ดี เพียงแค่ท าหน้าที่ของการ เป็นครูด้วยความรักและศรัทธาในอาชีพ มีจิตใจที่ คิดอยากจะช่วยเหลือ นักเรียนด้วยความรักและเมตตา รวมทั้งเป็นผู้ที่เรียนรู้จักพัฒนาตนอยู่ ตลอดเวลา ทุกคนก็สามารถเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพได้ ครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ หมายถึง ครูที่ สามารถสอนให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง และช่วย ผู้เรียนให้ พัฒนาทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ลักษณะของครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ จาก การวิจัยของนักจิตวิทยาการศึกษาที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ