หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ by Mind Map: หน่วยการเรียนรู้ที่  7 ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้

1. ความหมายของเครือข่าย

1.1. เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การและแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกันส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

2. แนวความคิด

2.1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเองกระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน

3. ลักษณะเฉพาะของเครือข่ายการเรียนรู้

3.1. 1. การประสานแหล่งความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อรับและส่งหรือถ่ายทอดความรู้ประเภทต่างๆ ไปยังประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

3.2. 2. การจัด และเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เพื่อขยายบริการการศึกษา แลกเปลี่ยนและกระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารไปสู่วงกว้างได้รวดเร็ว

3.3. 3. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และกระจายความรู้ ทั้งที่เป็นภูมิปัญญา และองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับชุมชน

4. เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน โรงเรียนดำเนินงานประสานความร่วมมือในการจัดให้ผู้เรียนได้ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่อยู่นอกโรงเรียน เช่น วัด ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ศูนย์กีฬา สถานประกอบการ อุทยานแห่งชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

5. การจัดการศึกษาในลักษณะ “เครือข่ายการเรียนรู้” นี้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ทดลองปฏิบัติและสรุปบทเรียนร่วมกัน กระบวนการดังกล่าวเมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงของคนในชุมชน จะช่วยให้คนเหล่านี้เรียนรู้ และพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการเรียนรู้จากปัญหาจริง และจะช่วยให้ชุมชนสามารถยกระดับการเรียนรู้ ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนสืบไป

6. หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้

6.1. 1. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

6.2. 2. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญา ท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ

6.3. 3. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆของทั้งในภาครัฐและเอกชน

6.4. 4. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญ เปล่าให้มากที่สุด

7. คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้

7.1. 1. สามารถเข้าถึงได้กว้างขวาง ง่าย สะดวก นักเรียนสามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ง่าย และเชื่อมโยงเข้าหานักเรียนคนอื่นได้รวดเร็ว และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาทุกสถานที่ที่มีเครือข่าย

7.2. 2. เป็นการเรียนแบบร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม คุณลักษณะพื้นฐานของเครือข่ายการเรียนรู้ คือ การเรียนแบบร่วมมือกัน

7.3. 3. สร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ

7.4. 4. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน และเน้นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป

7.5. 5. จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์

8. ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของเครือข่ายการเรียนรู้ ไว้หลากหลาย อาทิ

8.1. เครือข่ายการเรียนรู้ คือ การที่ชาวบ้านรวมตัวกัน ขบคิดปัญหาของเขา รวมพลังแก้ปัญหา และหาผู้นำขึ้นมาจากหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง แล้วรวมตัวกันเพื่อมีอำนาจต่อรอง มีการต่อสู้ทางความคิด มีการเรียนรู้จากภายนอก มีการไปมาหาสู่กันเรียนรู้ดูงานด้วยกัน จนกระทั่งเกิดเป็นกระบวนการแก้ปัญหาได้ การทำมาหากินดีขึ้น เศรษฐกิจแต่ละครอบครัวดีขึ้น (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2539)

8.2. เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง ขอบเขตแห่งความสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีลักษณะประสาน ติดต่อสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรม ระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่ม และกลุ่มกับกลุ่ม" (ประทีป อินแสง, 2539)

8.3. เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535)

8.4. เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประโยชน์ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษาผู้ใหญ่ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ระบบควบคุมการทำงาน และเครือข่ายการสื่อสารนอกจากนี้การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนยังแตกต่างกันออกไปตามความสามารถในการสื่อสารของตัวผู้เรียนเอง และสภาวะแวดล้อมในการเชื่อมโยงข้อมูลอีกด้วย

9. เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เป็นการร่วมมือกันระหว่างแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเทอร์เน็ต ห้องปฏิบัติการต่างๆ ห้องพิพิธภัณฑ์ อุทยานการศึกษา สวนสมุนไพร สวนหย่อม สวนวรรณคดี สวนคณิตศาสตร์ เป็นต้น