คาร์บอนฟุตพริ้นท์กับการจัดการโลจิสติกส์ สู่โซ่อุปทานสีเขียว

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
คาร์บอนฟุตพริ้นท์กับการจัดการโลจิสติกส์ สู่โซ่อุปทานสีเขียว by Mind Map: คาร์บอนฟุตพริ้นท์กับการจัดการโลจิสติกส์  สู่โซ่อุปทานสีเขียว

1. โซ่อุปทานคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Supply Chain)

1.1. การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานและวัสดุ เกินความจำเป็น เป็นการหมุนเวียนวัสดุ เพื่อลดปริมาณของเสียที่ออกจากระบบ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อม

1.2. ความสัมพันธ์ของโช่อุปทานคาร์บอนต่ำกับโซ่อุปทานสีเขียว

1.2.1. สามารถลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านอื่นๆได้อีก เช่น ลดมลพิษอื่นๆ เช่น น้าเสีย อากาศเสีย ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสุขภาพมนุษย์ส่งเสริมการยอมรับจากสังคม ชุมชน ดังนั้นโซ่อุปทานสีเขียวจึงส่งผลให้เกิดโซ่อุปทาน คาร์บอนต่ำ

1.3. มาตรการ เครื่องมือ และนโยบาย ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

1.3.1. บริษัทชั้นนำของโลกหลายบริษัทให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเกิดโซ่อุปทานสีเขียวมุ่ง สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.3.1.1. การออกแบบเชิงนิเวศน์(Eco Design) เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product)

1.3.1.2. การใช้เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) เพื่อให้เกิดการผลิตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(Green Process)

1.3.1.3. การออกมาตรการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวสำหรับภาครัฐและเอกชน (Green Procurement

1.3.1.4. การออกฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Label)

1.3.1.5. มาตรการระดับนโยบายใน ลักษณะการควบคุมสั่งการ

1.3.1.5.1. หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle)

1.3.1.5.2. หลักการโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

1.4. ผลประโยชน์ร่วมของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำกับโซ่อุปทานสีเขียว

1.4.1. การดำเนินธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับนอกจากนั้น การลดก๊าซเรือนกระจกโดยวิธีการ ต่างๆ โดยเฉพาะการลดการใช้พลังงานจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้ธุรกิจในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

2. แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

2.1. การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่มีการประเมิน และให้การรับรองในประเทศไทยมี2 ชนิด ด้วยกัน คือ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) และ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์(Carbon Footprint of Product: CFP)โดยมีการแบ่งประเภทของขอบเขตในการประเมินออก (Scope)เป็น 3 ขอบเขต

2.1.1. ขอบเขตที่1 (Scope 1) คือ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโดยพิจารณาจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงขององค์กร

2.1.1.1. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในยานพาหนะที่มีการเคลื่อนที่

2.1.1.2. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกิจกรรมหรือเครื่องจักรที่เผาไหม้อยู่กับที่

2.1.1.3. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการรั่วไหลอื่นๆ (Fugitive Emission)

2.1.2. ขอบเขตที่2 (Scope 2) คือ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโดยพิจารณาจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม คือ จากการใช้พลังงานภายนอกองค์กร

2.1.2.1. - พลังงานไฟฟ้า

2.1.2.2. - พลังงานความร้อน

2.1.2.3. - น้ าที่ซื้อมาจากผู้ผลิต

2.1.3. ขอบเขตที่3 (Scope 3) คือ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโดยพิจารณาจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ

2.1.3.1. การใช้วัสดุสำนักงาน

2.1.3.2. การใช้พลังงานในการกำจัดของเสีย

2.2. ขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

2.2.1. 1 การกำหนดขอบเขตขององค์กรและขอบเขตการดำเนินการ

2.2.2. 2 การระบุแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจก / การจำแนกแหล่งปล่อย

2.2.3. 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการเลือก Emission Factor

2.2.4. 4 การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ การรายงานผล

2.2.4.1. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก = ข้อมูลกิจกรรม × สัมปสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2.2.5. 5 การหาแนวทางในการลดและการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก

2.3. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์(Carbon Footprint of Product: CFP)

2.3.1. ขั้นตอนกำรประเมินฟุตปริ้นท์ของผลิตภัณฑ์

2.3.1.1. 1 การกำหนดหน่วยการทำงาน

2.3.1.2. 2 การจัดทำผังการไหลของวัสดุ

2.3.1.3. 3 การเก็บข้อมูลเอกสารขาเข้าและเอกสารขา ออกการทำสมดุลมวลวัสดุและพลังงาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor)

2.3.1.4. 4 การคำนวณค่า CFP ต่อหน่วยการทำงานของผลิตภัณฑ์และการรายงานผล

2.3.1.5. 5 การหาแนวทางในการลดและการดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2.3.2. การประเมินผลรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ การผลิต การกระจายสินค้า การใช้งานและการกำจัดเศษซากจากการบริโภคหรือการใช้งาน โดยมีขอบเขตการประเมิน 2แบบ

2.3.2.1. การประเมินแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ (Business to Business: B2B)

2.3.2.1.1. เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบสำหรับ ผลิตภัณฑ์อื่น โดยจะครอบคลุมตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การใช้ทรัพยากร น้ำ ไฟฟ้า พลังงาน การขนส่งวัตถุดิบเข้าโรงงาน การผลิตและการ จัดการของเสียจากกระบวนการผลิต แต่ไม่รวมผลกระทบในขั้นตอนการใช้งานและการกำจัดซาก

2.3.2.2. การประเมินแบบธุรกิจสู่ลูกค้ำ (Business to Customer: B2C)

2.3.2.2.1. เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ในขั้น สุดท้าย ที่ส่งถึงผู้บริโภค เช่น อาหารแช่แข็งเครื่องปรุงอาหาร ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อาหารสัตว์โดยจะครอบคลุมตั้งแต่การได้มาของ วัตถุดิบ การใช้ทรัพยากร น้ำ ไฟฟ้า พลังงาน การขนส่งวัตถุดิบเข้าโรงงาน การผลิต การกระจายสินค้าการใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์ หลังการใช้งาน

3. ความสัมพันธ์ของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3.1. กระแสของการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนส่งผลต่อแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจ ต่อบริบทการค้าโลกข้อตกลงการค้าเสรี(Free Trade Area: FTA) กับหลายประเทศก่อให้เกิดการแข่งขัน อุตสาหกรรมต่างๆต้องปรับตัวในการ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยหนึ่งในผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญระดับโลกและ ถูกนำไปเป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งของ การผลิตและการบริโภคสีเขียว ว คือ ประเด็นของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) จาก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)

3.1.1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3.1.2. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) เพื่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production)

4. กิจกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

4.1. การเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อการผลิตพลังงาน

4.1.1. การผลิตไฟฟ้า

4.1.2. การผลิตไอน้ำ

4.1.3. การผลิตความร้อน

4.2. การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากการขนส่ง

4.2.1. การขนส่งทางรถ

4.2.2. การขนส่งทางเรื่อ

4.2.3. การขนส่งทางอากาศ

4.2.4. การขนส่งทางรถไฟ

4.3. ปฏิกิริยาในการผลิตภาคอุตสาหกรรม

4.3.1. การผลิตปูนซีเมนต์

4.3.2. การจุดระเบิด

4.3.3. การผลิตแอมโมเนีย

4.4. การรั่วไหลของสารเคมี

4.4.1. สารดับเพลิง

4.5. ภาคการเกษตร

4.5.1. การใส่ปุ๋ย

4.5.2. การทำลายป่าไม้

4.6. การกำจัดของเสีย

4.6.1. การทิ้งน้ำเสีย

4.6.2. การกำจัดขยะ

5. แนวทางการปรับปรุงเพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในโซ่อุปทานแบบบูรณาการ

5.1. 1.การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green Design )

5.2. 2.การจัดซื้อจัดหาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(green Supply)

5.3. 3.กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green Manufacuring)

5.4. 4.การบริโภคสินค้าอย่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green Consumption )

5.5. 5.การดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ย้อนกลับอย่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green Reverse Logistics)

5.6. 6.การขนส่งและการกระจายสินค้าอย่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green Trnsportation/Distribution)

6. การสร้างโซ่อุปทานสีเขียวด้วย Dematerialization

6.1. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากร รวมถึงการหมุนเวียนวัสดุเพื่อลดความสูญเสียและปริมาณวัสดุเหลือทิ้งตลอดทั้งโซ่อุปทาน เพื่อสร้างระบบสารสนเทศเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล คุณลักษณะ คุณสมบัติปริมาณวัสดุการออกแบบ การรีไซเคิล การหมุนเวียน การนำกลับคืนวัสดุและพลังงานของทุกบริษัทในโซ่อุปทาน และเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสนับสนุน ความร่วมมือระหว่างบริษัท หรือผู้เกี่ยวข้อง

6.2. การประยุกต์ใช้หลัก Dematerialization

6.2.1. “กระบวนการลดการใช้วัสดุและพลังงานตลอดวัฏจักรชีวิต ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการใช้วัสดุที่ต้องสกัดใหม่จากธรรมชาติ(Virgin Material) และเพิ่มการหมุนเวียน วัสดุเหลือทิ้งนั่นเอง ทั้งนี้อาจมีการใช้กิจกรรมโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) มาใช้ใน การนำกลับคืนซากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วไปรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด กระบวนการนำเศษวัสดุ จากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาแปลงสภาพเป็นวัสดุใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม มีมูลค่าเชิงพาณิชย์สูงขึ้น และมีคุณค่าด้านการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม